|
|
แถว 59: |
แถว 59: |
| <div class="kindent">เนื่องจากโครงการพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น น้ำ ที่ดินทำกิน พันธุ์พืช ปศุสัตว์ การประมง ตลอดจนกระทั่งการตลาด ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องมีลักษณะเป็น “องค์รวม” ซึ่งการประสานในระบบราชการแบบเดิมไม่สามารถเอื้อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการได้ ดังนั้น การดำเนินงานของศูนย์ฯ จึงเป็นการรวมเอาเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลมาทำงานร่วมกัน โดยมีสำนักงาน กปร. และสำนักเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการทำงานตามแนวราบ ที่ยึดประสิทธิภาพของการทำงานเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง | | <div class="kindent">เนื่องจากโครงการพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น น้ำ ที่ดินทำกิน พันธุ์พืช ปศุสัตว์ การประมง ตลอดจนกระทั่งการตลาด ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องมีลักษณะเป็น “องค์รวม” ซึ่งการประสานในระบบราชการแบบเดิมไม่สามารถเอื้อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการได้ ดังนั้น การดำเนินงานของศูนย์ฯ จึงเป็นการรวมเอาเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลมาทำงานร่วมกัน โดยมีสำนักงาน กปร. และสำนักเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการทำงานตามแนวราบ ที่ยึดประสิทธิภาพของการทำงานเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง |
| </div> | | </div> |
− |
| |
− | ===ตัวอย่างความสำเร็จของโครงการอื่นๆ และเกษตรกรที่นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้===
| |
− |
| |
− | '''1. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี'''
| |
− | <div class="kindent">จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้ บ้าน วัด และราชการ (โรงเรียน) ร่วมกันดำเนินงานพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่ดำเนินการ 32-0-47 ไร่ ให้เป็นสถานที่ต้นแบบของการพัฒนาในลักษณะผสมผสานและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อพัฒนาพื้นที่ขนาดเล็กที่
| |
− | มีสภาพแห้งแล้ง ให้เป็นศูนย์กลางในการบริการด้านการเกษตรกรรมและอื่นๆ รวมทั้งเป็นการสาธิตให้ราษฎรสามารถนำรูปแบบการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบ
| |
− | อาชีพ และสามารถพึ่งตนเองได้ บนรากฐานของความประหยัด และความสามัคคีในท้องถิ่น ในการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา แรกเริ่มได้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 แปลง เพื่อศึกษาและสาธิต
| |
− | การเกษตรให้แก่ราษฎรได้สามารถนำไปปฏิบัติใช้กับพื้นที่ของตนเองโดย
| |
− |
| |
− | พื้นที่แปลงที่หนึ่ง เป็นแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสานจำนวน 16-2-23 ไร่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมุ่งถึงการปรับปรุงดินให้มีอินทรีย์วัตถุเพิ่มขึ้น จากนั้นศึกษาและสาธิตการปลูกพืชชนิดต่างๆ แปลงทดสอบการปลูกต้นไม้ต่างระดับในสภาพยกร่อง และขุดสระน้ำสำหรับเลี้ยงปลาพร้อมกับปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา และนำผลการทดลองจากการปลูกพืชชนิดต่างๆ นำไปปฏิบัติกับพื้นที่ของตนเองต่อไป
| |
− |
| |
− | พื้นที่แปลงที่สอง เป็นแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่จำนวน 15-2-24 ไร่ ดำเนินการเกษตรกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริไว้ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรในรูปแบบใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาของเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ที่ถือครองโดยเฉลี่ยประมาณ 10 – 15 ไร่ ที่มีสภาพแห้งแล้งขาดแคลนน้ำและธาตุอาหาร
| |
− | ในดิน ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถทำประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อให้พออยู่พอกินไปตลอดทั้งปี โดยการแบ่ง
| |
− | พื้นที่ตามทฤษฎี 30:30:30:10
| |
− |
| |
− | <u>ส่วนที่ 1</u> เพื่อขุดสระเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยเฉลี่ยพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ มีความลึกอย่างน้อย 4 เมตร จุน้ำประมาณ 18,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรับน้ำจากน้ำฝน และมีระบบท่อส่งน้ำมา
| |
− | เติมจากแหล่งภายนอก คือ อ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว ราษฎรก็จะสามารถมีน้ำไว้ใช้สำหรับการเพาะปลูกได้ตลอดปี รวมทั้งยังสามารถเลี้ยงปลา และปลูกพืชน้ำได้อีกด้วย
| |
− |
| |
− | <u>ส่วนที่ 2</u> สำหรับการปลูกข้าว พื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 5 ไร่ เพื่อไว้สำหรับบริโภคเอง หากเหลือก็นำไปขายได้ เมื่อพักจากการทำนาข้าวก็มาปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นการเพิ่ม
| |
− | รายได้และเพื่อบำรุงดิน
| |
− |
| |
− | <u>ส่วนที่ 3</u> สำหรับการปลูกพืชไร่ พืชสวนแบบผสมผสาน พื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 5 ไร่ เพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งปี
| |
− |
| |
− | <u>ส่วนที่ 4</u> สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคต่างๆ และสำหรับปลูกพืชสวนครัว พื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ไร่
| |
− |
| |
− | กรณีตัวอย่าง นายทองสุขและนางสว่าง พิมสาร เกษตรกรที่มีที่ดินอยู่ติดกับแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กล่าวโดยสรุป ดังนี้
| |
− |
| |
− | เริ่มแรกได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างแหล่งน้ำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นจากภาคเอกชนสำหรับพื้นที่ทำการเกษตรมีจำนวน 19 ไร่ แบ่งออกเป็นนาข้าว 5 ไร่ จะปลูกข้าวในฤดูฝน ในฤดูแล้งจะปลูก
| |
− | พืชผักแทน แปลงไม้ผล 6 ไร่ แปลงมะลิ 1.5 ไร่ สระน้ำ 1.5 ไร่ สำหรับใช้เพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยงปลาไว้กิน พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่บ้าน ถนน ลานอเนกประสงค์ คูน้ำ และคันดิน ในส่วนของรายได้ในแต่ละปี
| |
− | ช่วงก่อนที่จะมาทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่มีรายได้จากข้าวนาปีเพียงอย่างเดียว ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่หลังจากที่ได้ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่แล้วมีรายได้จากการขายผลผลิตหลายชนิด
| |
− | เฉลี่ยแล้วประมาณ 300,000 บาทต่อปี ซึ่งทำให้สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเก่ามาก ความเป็นอยู่ไม่ถึงกับร่ำรวย แต่ก็ไม่ได้ยากจนอดอยาก มีการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
| |
− | </div>
| |
− |
| |
− |
| |
− | '''2. โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามแนวทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์'''
| |
− | <div class="kindent">การนำทฤษฎีใหม่มาทดลองปฏิบัติที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำทฤษฎีใหม่ไปทดลองทำที่บ้านแดนสามัคคี หมู่ที่ 13 ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ชื่อโครงการว่า โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนบ้านแดนสามัคคีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการดำเนินงานของโครงการเป็น
| |
− | การจัดทำแปลงทดลองหรือแปลงสาธิตในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการปลูกข้าวโดยปัญหาหลักที่พบคือ เมื่อปลูกข้าวแล้วมีแต่รวงข้าวไม่มีเมล็ดเพราะขาดแคลนน้ำ จึงได้มีการริเริ่มขุด
| |
− | สระน้ำ โดยใช้เนื้อที่ 3 ไร่ ความจุ 12,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้กักเก็บน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีน้ำจากที่อื่นมาเพิ่มเติม สำรองไว้ใช้ทำการเกษตรสำหรับที่นาจำนวน 3 ไร่ 3 งาน และพืชไร่พืชสวน จำนวน
| |
− | 6 ไร่ ได้อย่างพอเพียง โดยในช่วงที่แล้งที่สุดจะมีน้ำเหลืออยู่ในสระ วัดจากก้นสระขึ้นมาประมาณ 1.50 – 1.75 เมตร หลังจากขุดสระเก็บน้ำเสร็จ จึงมีการดำเนินงานในขั้นต่อไปตามแนวทฤษฎีใหม่ (30:30:30:10)
| |
− | โดยแบ่งพื้นที่ 13 ไร่ 3 งาน เป็น 4 ส่วน ดังนี้
| |
− |
| |
− | ส่วนที่ 1 สระน้ำ ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ใช้เป็นแหล่งน้ำในการเกษตร อุปโภค และเลี้ยงปลา
| |
− |
| |
− | ส่วนที่ 2 ที่นา ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ใช้ปลูกข้าวและพืชไร่หลังนา
| |
− |
| |
− | ส่วนที่ 3 ทำเกษตรผสมผสาน ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ใช้ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก
| |
− |
| |
− | ส่วนที่ 4 พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย ถนน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน
| |
− |
| |
− | การดำเนินงานจะเป็นรูปแบบเกษตรผสมผสาน มีการปลูกพืชร่วมกัน เลี้ยงหมูร่วมกับการเลี้ยงปลา โดยเน้นการใช้ปัจจัยจากพื้นที่ ซึ่งจากผลการดำเนินงานพบว่า พระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มีความ
| |
− | เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตร ช่วยให้พื้นที่ปลูกข้าวไม่ประสบปัญหาขาดน้ำตลอดฤดูการปลูกเพราะสามารถรับน้ำจากสระได้ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ ร้อยละ 70
| |
− | จึงชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรสามารถปลูกข้าวในพื้นที่จำกัด แต่ได้ผลผลิตเพียงพอสำหรับบริโภคตลอดปี น้ำที่เหลือจากการปลูกข้าวก็สามารถนำไปใช้ในการปลูกพืชไร่หลังนา พืชไม้ผล และพืชผักสวนครัวได้ ทำให้
| |
− | เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคตลอดทั้งปี และมีเหลือขายเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย
| |
− |
| |
− | กรณีตัวอย่าง นายเตียน ไพยสาร อายุ 70 ปี และนายใย แลผดุง อายุ 56 ปี เกษตรกรซึ่งทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่จนประสบความสำเร็จ ได้กล่าวไว้ว่า
| |
− |
| |
− | เริ่มแรกได้ขอความช่วยเหลือในการขุดสระน้ำจากอำเภอเขาวง และทางราชการได้ให้การสนับสนุนขุดสระน้ำขนาด 1 ไร่ หลังจากนั้นจึงเริ่มทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ในที่ดินข้างๆ สระน้ำ
| |
− | คนละ 11 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว 8 – 9 ไร่ พื้นที่รอบๆ ขอบสระประมาณ 2 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ และไม้ผลต่างๆ เช่น มะขามหวาน มะพร้าว มะละกอ ฝรั่ง มะม่วง เป็นต้น ส่วน
| |
− | ในสระน้ำก็เลี้ยงปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน นอกจากนี้ยังเลี้ยงไก่พื้นเมือง และเป็ดอีกด้วย ซึ่งจากเดิมนั้น ทำนาเพียงอย่างเดียว พอหมดหน้านาก็ว่างไม่มีงานทำ แต่พอทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ต้องทำงาน
| |
− | ตลอดทั้งปี พอหมดหน้านาพืชผักเกือบทุกชนิดก็จะให้ผลผลิต ส่วนพวกไม้ผลบางส่วน เช่น กล้วย ก็เริ่มให้ ผลผลิต จึงทำให้มีอาหารบริโภคตลอดทั้งปี หากยิ่งขยันทำมากก็จะมีผลผลิตเหลือพอที่จะขายเป็นการเพิ่ม
| |
− | รายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย
| |
− | </div>
| |
− |
| |
− |
| |
− | '''3. โครงการฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า ตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร'''
| |
− | <div class="kindent">เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดสภาวะว่างงานจำนวนมาก จะเห็นได้ว่ามีแรงงานบางส่วนต้องกลับไปอยู่ชนบทเพื่อไปรับจ้างต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีราษฎรถวายฎีกาขอความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพต่างๆ จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้
| |
− | พระองค์ท่านได้พระราชทานความช่วยเหลือ โดยให้จัดหาพื้นที่เพื่อจัดสร้างฟาร์มตัวอย่างขึ้น ณ บริเวณหนองหมากเฒ่า บ้านนาดำ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยให้ชื่อว่า “ฟาร์มตัวอย่าง
| |
− | หนองหมากเฒ่า ตามพระราชดำริฯ จังหวัดสกลนคร”
| |
− | </div>
| |
− |
| |
− | '''วัตถุประสงค์'''
| |
− |
| |
− | # เพื่อสร้างงานให้กับราษฎรที่ยากจน หรือประสบปัญหาเศรษฐกิจ ที่ประสงค์มีความรู้ทางการเกษตรนำไปประกอบอาชีพได้
| |
− | # เพื่อแสดงถึงการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสม (Agricultural Appropriate Technology) มาผลิตเพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดสารพิษ
| |
− | # เพื่อแสดงถึงขั้นตอน และวิธีการในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้เหมาะสม (Applied Technology) และเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้
| |
− | # เพื่อเป็นแหล่งสาธิต (Demonstration) เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมแก่ผู้เยี่ยมชม และผู้สนใจทั่วไป
| |
− |
| |
− | '''แนวทางการดำเนินงาน'''
| |
− | <div class="kindent">การดำเนินงานของฟาร์มฯ เป็นไปในลักษณะของการเกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Agriculture) โดยการนำหลายๆ หลักการมาปรับใช้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ (Pesticide Free) มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ เช่น
| |
− | </div>
| |
− |
| |
− | # การปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เพาะเห็ด แบบต่อเนื่องที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวัน
| |
− | # การปลูกพืชต่างระดับ โดยคำนึงถึงธรรมชาติของพืชที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยการนำพืชยืนต้นตระกูลถั่วและพืชที่มีคุณสมบัติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมาร่วมปลูก
| |
− | # ดำเนินการในหลักการของเกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture) คือ ผู้บริโภคยั่งยืนผู้ผลิตยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
| |
− | # การนำเทคโนโลยีทางด้านอารักขาพืชของกรมวิชาการเกษตรมาใช้ (Bio - control)
| |
− | # ดำเนินการภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้มีความหลากหลายทางด้านชนิดอาหาร (Food Resource Diversity) มากกว่าผลิตแต่ละชนิดในปริมาณมากๆ และนำการแปรรูปมาเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้น (Value Added)
| |
− | # เมื่อฟาร์มฯ มีเครือข่ายเพิ่มขึ้นก็สามารถปรับให้เป็นไปตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่สองได้
| |
− |
| |
− |
| |
− | '''4. นายประยงค์ รณรงค์ เกษตรกรอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช'''
| |
− | <div class="kindent">นายประยงค์ รณรงค์ อายุ 67 ปี อาศัยอยู่ที่ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเกษตรกรที่ได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาพัฒนาชุมชน ประจำปี 2547 นอกจากนั้นยังได้รับประกาศเกียรติคุณอื่นๆ อีกหลายรางวัล เนื่องจากนายประยงค์เป็นผู้ที่ทุ่มเทในการทำงานเพื่อชุมชนมาตลอด 20 ปี โดยมีหลักการดำเนินชีวิตตามแนว “เศรษฐกิจพอเพียง” ผลงานของเกษตรกรรายนี้เริ่มต้นจากการเผชิญปัญหาในเรื่องของยางพารา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคใต้แต่เป็นอาชีพที่ไม่มีความมั่นคงเพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ราคาที่ขึ้นอยู่กับตลาดโลก ความมั่นคงที่ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล เกษตรกรชาวสวนยางไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางอนาคตของตนเองเลย จึงมีความคิดที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยร่วมมือกับผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดทำแผนพัฒนายางพาราไทยขึ้น ด้วยการรวมกลุ่มสร้างความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายช่วยเหลือกัน เรียนรู้ร่วมกันนำไปสู่การตั้งเครือข่ายยางพาราไม้เรียงขึ้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องราคาและอื่นๆ ได้ แต่กระนั้นก็มีความเห็นว่า เกษตรกรในภาคใต้ไม่ควรฝากความหวังไว้กับยางพาราเพียงอย่างเดียว เพราะยางพารากินแทนข้าวไม่ได้จะต้องทำยางให้เป็นเงิน แล้วเอาเงินไปแลกทุกอย่างที่ต้องกินต้องใช้ซึ่งเป็นทางอ้อม จึงได้วางโครงการสร้างการเรียนรู้ในชุมชนขึ้น และกลายเป็นที่มาของแผนแม่บทชุมชนในเวลาต่อมา นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงขึ้น เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่คนในชุมชน โดยมีการจัดทำหลักสูตรในการพัฒนาอาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ซึ่งเป็นการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ โดยจัดหลักสูตรรวม 8 หลักสูตร คือ การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงปลาน้ำจืด การเพาะเลี้ยงไก่พื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงเห็ด การเพาะเลี้ยงสุกร การผลิตอาหารสัตว์ การแปรรูปข้าว การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ หลักสูตรอาชีพทั้ง 8 หลักสูตรนี้เป็นการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติจริง และนำมาพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรในชุมชนได้นำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีการขยายความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั้งในระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ระดับชาติ และระดับนานาชาติ จนเกิดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างองค์กรขึ้นอีกหลายกิจกรรม อาทิเช่น “เครือข่ายยมนา” อันเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง 3 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มยางพารา กลุ่มไม้ผล และกลุ่มทำนา โดยจัดเป็นสถานที่ศึกษา เรียนรู้เรื่องการจัดการทรัพยากรที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรให้คุ้มค่า และเป็นต้นแบบวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย
| |
− |
| |
− | ดังนั้น จะเห็นได้ว่านายประยงค์เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายมาก มีโอกาสที่จะหาผลประโยชน์ในการทำธุรกิจได้แต่ก็ไม่คิดโลภแต่อย่างใด กลับมุ่งมั่นถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ให้
| |
− | กับคนรุ่นหลังโดยเน้นองค์ความรู้ 5 ด้าน คือ องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการองค์กร องค์ความรู้ด้านการจัดทำแผนแม่บทชุมชน องค์ความรู้ด้านการจัดการยางพารา องค์ความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน และองค์
| |
− | ความรู้การจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งล้วนผลักดันให้ชุมชนมีความอยู่ดีกินดี สามารถพึ่งตนเองได้เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าที่นำปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้ในการดำเนินงาน
| |
− | นั่นเอง
| |
− | </div>
| |
− |
| |
| | | |
| ===สรุป=== | | ===สรุป=== |
แถว 176: |
แถว 78: |
| | | |
| | | |
− | {{ดูเพิ่มเติม| [[ทฤษฎีใหม่]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ}} | + | {{ดูเพิ่มเติม| [[ตัวอย่างความสำเร็จ]] / [[ทฤษฎีใหม่]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย]]อันเนื่องมาจากพระราชดำริ}} |
| | | |
| | | |