06.แผนปฏิบัติงาน 3 ปี (พ.ศ.2536-2538)-หญ้าแฝกดอยตุง

สารบัญ

แผนปฏิบัติงาน 3 ปี (พ.ศ.2536-2538)

  1. สำรวจแหล่งหญ้าแฝกที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ หรือที่นำมาปลูกโดยเน้นในภาคเหนือ
  2. แสวงหาแหล่งหญ้าแฝกที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติหรือที่มีการนำมาปลูก โดยติดต่อสอบถามหาข้อมูลจากหน่วยราชการและภาคเอกชนทั่วทุกภาคของประเทศ
  3. ศึกษาจากข่าว Vetiver Newsletter ของธนาคารโลกและเอกสารอื่นเกี่ยวกับพันธุ์หญ้าแฝก แหล่งหญ้าแฝก การขยายพันธุ์ด้วยวิธีใหม่ๆ การใช้ประโยชน์ทั้งในด้าการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการทำผลิตภัณฑ์จากส่วนต่างๆ ของหญ้าแฝก
  4. รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าสนใจจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศพร้อมกับศึกษาลักษณะทางพฤษศาสตร์ อนุกรมวิธาน ลักษณะพันธุ์และ Clones
  5. คัดหญ้าแฝกชนิด Vetiveria zizanioides (L) Nash และ Vetiveria nemoralis พันธืหรือ Clones ต่างๆ นำมาขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนเพียงพอ สำหรับแก้ปัญหาดินเลื่อนไหลพังทลายทั่งทั้งโครงการพัฒนาดอยตุง
  6. ศึกษาการหยั่งกระจายของรากหญ้าแฝกทั้งตามแนวดิ่งและนอน ในสภาพดินชุดต่างๆ ความลาดชันต่างๆ และในระดับความสูงที่แตกต่างกัน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของรากในการป้องกันดินพังทลายและไม่แย่งอาหารจากพืชที่อยู่ข้างเคียง
  7. ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธี แยกคอ ปล้อง/ข้อ แล้วนำมาชำถุง ชำในแปลง โดยศึกษาวัสดุสำหรับปักชำ (ส่วนผสม) ขนาดถุงชำ วิธีการแยกกอ (จำนวนกอต่อหนึ่งถุง) ความยาวของใบและรากของกอที่ชำ จำนวนแถวในการวางถุง (เพื่อป้องกันการบังแสงสว่างระหว่างต้นข้างเคียง) ระยะระหว่างกอในการปักชำลงแปลง(จำนวนกอต่อหน่วยพื้นที่) อิทธิพลของชนิดของดินในแปลงต่อการแตกกอ การใช้ปุ๋ยสูตรปกติ สูตรสลายช้า ปุ๋ยชีวภาพ อิทธิพลของชนิดของดินในแปลงต่อการแตกกอ อิทธิพลปุ๋ยเชิงเดี่ยวต่อการแตกกอ การขยายพันธุ์โดยวิธีโน้มต้นที่แก่เพื่อให้เกิดรากบริเวณข้อ ตลอดจนการขยายพันธุ์โดยเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  8. ศึกษาจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้แก่หญ้า เพื่อละเว้นการใช้ปุ๋ยเคมี อันเป็นความจำเป็นเมื่อปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่สูง ที่ไม่สามารถให้ปุ๋ยได้สะดวก
  9. ศึกษาวิธีการปลูกหญ้าแฝกกำกับพื้นที่ปลูกพืชไร่ พืชผัก พืชสวนยืนต้น บนที่ลาดชันเพื่อป้องกัน Sheath Erosion และช่วยให้ดินในแปลงปลูกพืชซับน้ำดีขึ้น พร้อมกับสังเกตการณ์เจริญเติบโตและการแตกกอในภาวะอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และระดับความสูงของพื้นที่ที่ปลูกหญ้าแฝก
  10. สำรวจจุดที่มีปัญหาดินเลื่อนไหลและพังทลายสองข้างทางทั้งด้านดินตัดและดินถม เพื่อพิจารณาจุดที่สมควรปลูกก่อนหลัง
  11. กำหนดแถว จำนวนแถว ความถี่ความห่างของแต่ละแถว และระยะห่างระหว่างกอในแถว ซึ่งควรเป็น 10 หรือ 15 เซนติเมตรหรืออย่างอื่น การกำหนดแถวให้ใช้เครื่องเล็งระดับมือถืออย่างง่ายๆ กำหนดแถวปลูกในระนาบ (Contour) เดียวกันให้มีระยะระหว่างแถวในแนวตั้ง (Vertical interval) ระยะต่างๆ กันแล้วดำเนินการเปรียบเทียบกับระยะระหว่างกอและแถว ตามที่ธนาคารโลกแนะนำในหนังสือ Vetiver Grass, The Hedge against Erosion, 3rd Ed, 1990. นอกจากนั้นให้มีการศึกษาจำนวนแถวที่เหมาะสมสำหรับป้องกันการกัดเซาะผิวดิน ตลอดจนให้มีการกรองตะกอนดิน และให้ดินดูดซับน้ำและอาหารพืชได้ดีที่สุด
  12. ตรวจสอบแถวปลูก หากมีกอที่ตาย แคระแกรนหรือหลุดหาย ให้ดำเนินการซ่อม เพื่อให้แถวที่มีกอขยายแน่นเกิดเป็นเขื่อนเพื่อยึดดินไม่ให้เลื่อนไหล และตะกอนดินที่น้ำพามาให้กองลงด้านหน้าเขื่อนหญ้าแฝก เพื่อลดอัตราเร็วของน้ำที่ไหลผ่านพร้อมกับทำให้กระจายตัวออก น้ำที่ไหลผ่านจะถูกดินดูดซึมได้ดีขึ้น
  13. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลหญ้าแฝกพร้อมกับเผยแพร่ข่าวสาร บทความทางวิชาการ จัดฝึกอบรมและประชุมวิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝก
  14. ก่อตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย พัฒนา เพื่อให้มีการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และใช้ประโยชน์อย่างอื่นอย่างกว้างขวาง


แผนปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ.2536

  1. สำรวจแหล่งหญ้าแฝกในภาคเหนือ
  2. หาข่าวเกี่ยวกับแหล่งหญ้าแฝกและชนิดของหญ้าแฝกทั้งในและนอกประเทศ
  3. ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ด้วยการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดกะทัดรัด รากและใบเริ่มเจริญในระยะสั้น จำนวนกอต่ำสุด เพื่อประหยัดต้นพันธุ์ทั้งในการชำถุงและปักดำในแปลง
  4. ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  5. รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าสนใจพร้อมกับศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ อนุกรมวิธาน พันธุ์ และคุณสมบัติที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละพันธุ์
  6. ศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝกที่ปลูกในดินชุดและชนิดต่างๆ ในระดับความสูงต่างๆ โดยการใช้ไอโซโทป เพื่อประเมินประสิทธิภาพของพันธุ์หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  7. ขยายพันธุ์หญ้าแฝกชนิด Vetiveria zizanioide (L) Nash และ V. nemoralis ให้ได้ 2,000,000 ถุง หรือประมาณ 6,000,000 ต้นเป็นอย่างน้อย ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2535 และมกราคม-เมษายน พ.ศ.2536 ตามแหล่งขยายพันธุ์ที่อยู่ใกล้จุดปลูก
  8. สำรวจจุดที่มีปัญหาดินเลื่อนไหล และพังทลายสองข้างทางทั้งสายประธาน สายรองและทางลำลอง จัดลำดับตามความสำคัญของปัญหา เพื่อพิจารณาจุดที่สมควรปลูกก่อนหลัง
  9. ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2535 และ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2536 ลำเลียงหญ้าแฝกจากแหล่งขยายพันธุ์จุดต่างๆ ไปยังจุดที่กำหนดอยู่ใกล้ที่สุดและดำเนินการปลูก
  10. ตรวจสอบแถวปลูกสัปดาห์ละครั้งในช่วง 1-2 เดือนหลังปลูก เพื่อปลูกซ่อม
  11. ในช่วงฤดูแล้ง เดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2536 ตัดใบหญ้าแฝกให้ยาวประมาณ 30 ซม. เพื่อป้องกันการออกดอกและให้แตกกอเพิ่มขึ้น เพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิง โดยการนำใบที่ตัดออกไปใช้ประโยชน์
  12. ประเมินผลการปลูกในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2535 และมกราคม-เมษายน พ.ศ.2536
  13. จัดพิมพ์เอกสารวิชาการ และบทความเกี่ยวกับหญ้าแฝกเพื่อเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ


แผนงานประจำปี พ.ศ.2537

  1. สำรวจและหาข่าวแหล่งหญ้าแฝก ชนิดของหญ้าแฝกทั้งในและนอกประเทศ
  2. สำรวจจุดที่มีปัญหาดินเลื่อนไหลที่ตกค้างของ พ.ศ.2536 ยังไม่ได้ปลูกหญ้าแฝกป้องกันเพราะหมดฤดูฝน ในพ.ศ. 2537 เน้นการสำรวจทางสายรองและทางลำลอง จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อพิจารณาจุดที่สมควรปลูกก่อนหลังและขยายพันธุ์หญ้าแฝกให้เพียงพอ หรือประมาณ 12,000,000 ต้น
  3. ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2536 และพฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2537 ลำเลียงหญ้าแฝกจากแหล่งขยายพันธุ์ไปยังจุดปลูกที่อยู่ใกล้ที่สุด และดำเนินการปลูก หากมีกอที่ตายแคระแกรน หรือหลุดหาย ทำการปลูกซ่อม
  4. ในช่วงฤดูแล้ง เดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2537 ตัดใบหญ้าแฝกให้ยาวประมาณ 30 ซม. ในช่วงนี้ใบหญ้าแฝกที่ปลูกไว้ในระยะต้นๆ ของโครงการอาจนำมาใช้มุงหลังคาได้ หรือนำมาทดลองใช้เป็นวัตถุดิบในการหัตถกรรม
  5. เริ่มโครงการศึกษาจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้แก่หญ้าแฝก
  6. ประเมินการปลูกในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2536 และมกราคม-เมษายน พ.ศ.2537 พร้อมกับวางแผนงานและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2538


แผนงานประจำปี พ.ศ.2538

  1. จัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติศึกษา ชนิดพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก และเทคนิคการสร้างเขื่อนธรรมชาติด้วยหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลพังทลายของดิน และเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของหญ้าแฝก ศูนย์แห่งนี้ให้บริการทางด้านวิชาการ และพันธุ์หญ้าแฝกแก่ผู้ที่สนใจทั้งในและนอกประเทศ สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ World Bank Vetiver Network และสถาบันอื่นที่มีความสนใจเรื่องหญ้าแฝก
  2. จัดสัมมนาระดับชาติและนานาชาติเกี่ยวกับหญ้าแฝกและประโยชน์ของหญ้าแฝก
  3. รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าสนใจ จากทั้งภายในและนอกประเทศเพื่อศึกษาความแตกต่างและจำแนกพันธุ์โดยใช้เทคนิค Immunoelectrophoresis พร้อมกับศึกษาคุณลักษณะโครงสร้างของรากและลำต้น ตลอดจนวิธีการขยายพันธุ์ของพันธุ์ที่น่าสนใจ
  4. ขยายพันธุ์หญ้าแฝกชนิด Vetiveria zizanioides พันธุ์ต่างๆ หรือชนิด (Species) อื่นที่น่าสนใจจากผลการศึกษาตามข้อ 3 ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 5,000,000 ถุง ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2538 ตามแหล่งขยายพันธุ์ที่อยู่ใกล้จุดปลูก
  5. ศึกษาอนุกรมวิธาน ชนิด พันธุ์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ การขยายพันธุ์ การปลูก เทคนิคในการสร้างเขื่อนหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝก รวมทั้งการศึกษาการใช้หญ้าแฝกขจัดมลภาวะที่เกิดจากการรั่วไหลของสารไนเทรทและสร้างป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแหล่งน้ำ ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  6. ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์เขื่อนหญ้าแฝกและใบหญ้าแฝกที่ปลูกในปีแรกๆ ของโครงการ