10.การปลูกนอกพื้นที่โครงการฯ-หญ้าแฝกดอยตุง
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:44, 3 กันยายน 2551 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม)
สารบัญ
การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนอกพื้นที่โครงการฯ
จากการริเริ่มปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ของโครงการพัฒนาดอยตุง ได้มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่ได้มาเห็นตัวอย่างการอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นในโครงการฯ เกิดความสนใจที่จะดำเนินการบ้าง จึงติดต่อขอนำหญ้าแฝกจากแปลงขยายพันธุ์ของโครงการฯ ไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
- สำนักงานทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวงนำหญ้าแฝกจำนวน 60,000 ถุงไปปลูกตามไหล่ถนน ทางหลวงหมายเลข 1263 ตอนขุนยวม-ปางอุ๋ง ระหว่าง กม.124+250 - กม.19+200 ด้านดินตัดดินถม เพื่อกันดินเลื่อนไหลเนื่องจากถูกน้ำกัดเซาะ
- สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดเชียงราย นำหญ้าแฝกจำนวน 30,800 ถุง ไปปลูกบริเวณขอบอ่างเก็นน้ำแม่ฉางข้าว บ้านฮ่างใต้ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของตะกอนดินบริเวณขอบอ่างไหลลงน้ำ และป้องกันดินพังในบริเวณสันและด้านหน้าตัวเขื่อนซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝน เมื่อถูกน้ำฝนที่ไหลผ่านกัดเซาะ
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิต นำพันธุ์หญ้าแฝกจำนวน 300,000 ถุง ไปปลูกเพือป้องกันการพังทลายของดินตัดและดินถมบริเวณ 2 ข้างถนนเรียบริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิตติ์ จังหวัดอุตารดิตถ์ สายไทยงาม-น้ำพร้า ระยะทาง 25 กิโลเมตร
- วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา ได้นำหญ้าแฝก จำนวน 65,000 ถุง ไปปลูกบริเวณสองฝั่งไหล่ถนนระยะทาง 3.5 กม. และริมขอบสระน้ำในบริเวณวัดเพื่อป้องกันดินทลายจากการถูกน้ำฝนกัดเซาะ
- เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ.2536 ปลัดอำเภอทำหน้าที่หัวหน้ากิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เชิญชวนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ถนน ปลูกหญ้าแฝกประชาอาสาในพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ที่บ้านหินแตก บ้านเล่าลิ่ว และบ้านนาโต่ โดยมีเป้าหมายที่จะนำหญ้าแฝกที่เพาะไว้นี้ไปปลูกบริเวณสองข้างทางสายบ้านสามแยกอีก้อ-บ้านเทิดไทย ระยะทาง 13 กม. และบ้านเทิดไทย-หัวแม่คำ ระยะทาง 23 กม. ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรของชาวบ้านแหล่งนี้ เพื่อป้องกันน้ำฝนกัดเซาะขอบถนนทั้งด้านดินตัดและดินถม สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ชี้แหล่งพันธุ์หญ้าแฝกให้ชาวบ้านไปขุดนำมาปลูก ให้คำแนะนำในการปลูกและดูแลรักษา ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบช่วยแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งสมทบทุนค่าซื้อปุ๋ยให้ด้วย คาดว่าในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2536 จะสามารถเก็บเกี่ยวหญ้าแฝกสำหรับไว้ทำพันธุ์ หรือนำไปปลูกกันดินไหล่ถนนพังทลายได้ถึง 1,800,000 ต้น หญ้าแฝกจำนวนดังกล่าวถ้าปลูกเรียงแถว เป็นเขื่อนกันดินธรรมชาติจะได้ระยะทางยาว 180 กม. เมื่อเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม พ.ศ.2536 ชาวบ้านได้นำหญ้าแฝกจากแปลงขยายพันธุ์บ้านเล่าลิ่วไปปลูกบริเวณขอบถนนใกล้บ้านเล่าลิ่วแล้ว
การปลูกหญ้าแฝกในโครงการฯ ระหว่าง 12 มิ.ย.35 - 30 มิ.ย.36
สถานที่ปลูก | ปลูกเมื่อ | จำนวน (ถุง) | ระยะทาง (กม.) |
1. กม.4 - 22.5 ทางสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง |
มิ.ย.35 - ธ.ค.35 พ.ค.36 - มิ.ย.36 |
802,100 80,000 |
80.21 8 |
รวม | 882,100 | 88.21 | |
2. บริเวณพระตำหนัก อาคารประกอบ บ้านรับรอง และแปลงเพาะชำสวนแม่ฟ้าหลวง |
มิ.ย.35 - ธ.ค.35 พ.ค.36 - มิ.ย.36 |
215,400 137,400 |
21.54 13.74 |
รวม | 352,800 | 35.28 | |
3. บริเวณหมู่บ้านหญ้าแฝก - บ้านป่าซางนาเงิน - บ้านห้วยปู |
1 มิ.ย.36 - 20 มิ.ย.36 1 มิ.ย.36 - 20 มิ.ย.36 |
60,070 10,500 |
6.007 1.05 |
รวม | 70,570 | 7.057 | |
4. ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพติด บริเวณศูนย์ฯ ถนนเข้าศูนย์ บ้านผาหมี | มิ.ย.35 - ก.ย.35 | 207,996 | 20.79 |
รวม | 207,996 | 20.79 | |
5. อ่างเก็บน้ำแม่เปิน บริเวณถนนเข้าอ่าง รอบอ่าง พื้นที่ที่พังทลายรอบอ่าง | มิ.ย.35 - ก.ย.35 | 83,000 | 8.3 |
รวม | 83,000 | 8.3 | |
6. นวุติ แปลงปลูกพืชโดยเงินกู้ไจก้า ถนนทางเข้าพื้นที่ที่หนึ่ง บ้านป่ากล้วย | มิ.ย.35 - ก.ย.35 | 20,000 | 2 |
รวมทั้งสิ้น | 1,616,466 | 161.64 |