ผลต่างระหว่างรุ่นของ "02.พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี-หญ้าแฝกดอยตุง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) ล (หญ้าแฝกดอยตุง-พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น [[พระราช�) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 23: | แถว 23: | ||
ประมวลภาพต่อไปนี้เป็นพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่เกี่ยวกับโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกในพื้นที่ทรงงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย | ประมวลภาพต่อไปนี้เป็นพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่เกี่ยวกับโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกในพื้นที่ทรงงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย | ||
</div> | </div> | ||
+ | |||
+ | <gallery> | ||
+ | Image:ดอยตุง-01.jpg | ||
+ | Image:ดอยตุง-02.jpg|สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา เสด็จฯศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 และทรงปักชำหญ้าแฝก | ||
+ | Image:ดอยตุง-03.jpg|ทรงรดน้ำกล้าหญ้าแฝก ที่ได้ทรงปักชำ | ||
+ | Image:ดอยตุง-04.jpg|ทรงสนพระทัยใบหญ้าแฝกที่เย็บเป็นตับ | ||
+ | Image:ดอยตุง-05.jpg|ทรงสนพระทัยเรื่องการใช้ประโยชน์ของใบหญ้าแฝก ซึ่งสามารถนำมาใช้มุงหลังคาได้ดีกว่า และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าใบหญ้าคา | ||
+ | Image:ดอยตุง-06.jpg|ทรงสังเกตตะกอนดินที่ไหลมากับน้ำ ทับถมอยู่บริเวณด้านหน้าของแถวหญ้าแฝก ที่ปลูกขวางทางน้ำไหล | ||
+ | Image:ดอยตุง-08.jpg|ทรงทอดพระเนตรดอกหญ้าแฝก | ||
+ | Image:ดอยตุง-07.jpg|ทรงซักถามเกี่ยวกับการงอกของเมล็ดหญ้าแฝก ที่อาจกลายเป็นวัชพืช ถ้านำพันธุ์ที่เมล็ดงอกได้ไปขยายพันธุ์ | ||
+ | Image:ดอยตุง-09.jpg|ทรงปลูกหญ้าแฝก ณ บริเวณริมรางระบายน้ำชายดินตัด ทางหลวงสายบ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุง กม.18 เพื่อป้องกันดินจากขอบถนนด้านดินตัดไหลลงรางระบายน้ำ | ||
+ | Image:ดอยตุง-10.jpg|เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ไปยังบริเวณ กม.18 ถนนสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง เพื่อทรงปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดินบริเวณริมทางหลวง พร้อมกับทอดพระเนตรผลการป้องกันดินพังทลาย โดยใช้วิธีฉีดเมล็ดพืชและการใช้กระสอบทรายกันดิน เปรียบเทียบกับการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวชิด เพื่อให้เกิดเป็นเขื่อนพืชป้องกันการพังทลายของดิน | ||
+ | Image:ดอยตุง-11.jpg|ทอดพระเนตรต้นหญ้าแฝกที่ปลูกบริเวณขอบทางด้านดินถม กม.18 ถนนสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นบริเวณที่ชันมาก และมีการพังทลายของดินเกิดขึ้น | ||
+ | Image:ดอยตุง-12.jpg|ทรงนำเสด็จฯ สามเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก ในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2536 | ||
+ | Image:ดอยตุง-13.jpg|ทรงมีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เกี่ยวกับโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก ตั้งแต่เริ่มแรกที่นำหญ้าแฝกมาปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ | ||
+ | Image:ดอยตุง-14.jpg|ทอดพระเนตรหญ้าแฝก ที่ปลูกไว้ 9 เดือน รากยาว 3.7 เมตร และได้พระราชทานหญ้าแฝกกอนี้แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อทรงนำไปทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ | ||
+ | Image:ดอยตุง-15.jpg|ทอดพระเนตรแนวหญ้าแฝกที่ปลูกเพื่อยับยั้งดินขอบถนนด้านดินถม ซึ่งถูกน้ำเซาะจนเป็นโพรงใหญ่ มิให้พังทลายต่อไปอีกที่บริเวณทางหลวงสายถนนสายบ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุง กม.12 | ||
+ | Image:ดอยตุง-16.jpg|ทรงนำเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปทอดพระเนตรหญ้าแฝกที่ได้ทรงปลูกไว้ บริเวณ กม.18 ถนนสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง | ||
+ | Image:ดอยตุง-17.jpg|ทรงรดน้ำต้นหญ้าแฝกที่ทรงปลูกไว้ | ||
+ | Image:ดอยตุง-18.jpg|สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงนำเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงปลูกหญ้าแฝก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2536 | ||
+ | Image:ดอยตุง-19.jpg|สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงนำเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรหญ้าแฝกอายุ 9 เดือน รากยาว 3.7 เมตร ซึ่งเปิดดินโดยการฉีดน้ำ เพื่อศึกษาการเจริญของราก เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2536 | ||
+ | Image:ดอยตุง-20.jpg|เสด็จทอดพระเนตรกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2536 | ||
+ | Image:ดอยตุง-21.jpg | ||
+ | Image:ดอยตุง-22.jpg | ||
+ | Image:ดอยตุง-23.jpg|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำเรื่องวิธีปลูกหญ้าแฝกแก่เจ้าหน้าที่ของศูนยฯ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2536 | ||
+ | </gallery> | ||
[[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)]] | [[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:19, 3 กันยายน 2551
โครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย
นับว่าเป็นโชคดีอย่างสุดซึ้งของชาวดอยตุงและชาวไทยทั้งมวลผู้ซึ่งเป็นเจ้าของมรดกชิ้นสำคัญชิ้นนี้ที่มีจุดรวมแห่งน้ำใจปวงชนทั้งชาติ ดังเช่นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเป็นองค์นำในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ เมื่อได้ทรงทราบจากพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าหญ้าแฝกมีคุณสมบัติเหมาะสมหลายประการ ที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันการเลื่อนไหลของดินพร้อมกับอนุรักษ์ดินและน้ำได้ ก็ได้ทรงมีพระราชดำริให้นำหญ้าแฝกมาทดลองปลูกโดยทันที
หลังจากเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจหรือบริษัท หรือประชาชนทั่วไป ได้ลงมือดำเนินการตามพระราชดำริและพระราชประสงค์แล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงติดตามผลของการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ไปทรงปลูกหญ้าแฝก พร้อมกับทอดพระเนตรหญ้าแฝกที่ปลูกในพื้นที่ทรงงาน
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 ทรงนำเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรการเจริญเติบโตอย่างน่ามหัศจรรย์ของรากหญ้าแฝก อันเป็นคุณสมบัติเด่นที่ทำให้หญ้าแฝกสามารถยึดดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 ได้นำเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปยังศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกของโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อทรงปลูกหญ้าแฝกเป็นสิริมงคลแก่โครงการฯ และทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในพื้นที่ทรงงาน
นอกจากนั้นเมื่อราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้กราบบังคมทูลผลการดำเนินงานก้าวหน้าของโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกก็จะทรงสดับรับฟังด้วยความสนพระทัย
ประมวลภาพต่อไปนี้เป็นพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่เกี่ยวกับโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกในพื้นที่ทรงงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย
เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ไปยังบริเวณ กม.18 ถนนสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง เพื่อทรงปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดินบริเวณริมทางหลวง พร้อมกับทอดพระเนตรผลการป้องกันดินพังทลาย โดยใช้วิธีฉีดเมล็ดพืชและการใช้กระสอบทรายกันดิน เปรียบเทียบกับการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวชิด เพื่อให้เกิดเป็นเขื่อนพืชป้องกันการพังทลายของดิน