ผลต่างระหว่างรุ่นของ "06.แผนปฏิบัติงาน 3 ปี (พ.ศ.2536-2538)-หญ้าแฝกดอยตุง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: {{สารบัญหญ้าแฝกดอยตุง}} '''แผนปฏิบัติงาน 3 ปี (พ.ศ.2536-2538)''' # สำรวจ...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:44, 2 กันยายน 2551
สารบัญ
แผนปฏิบัติงาน 3 ปี (พ.ศ.2536-2538)
- สำรวจแหล่งหญ้าแฝกที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ หรือที่นำมาปลูกโดยเน้นในภาคเหนือ
- แสวงหาแหล่งหญ้าแฝกที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติหรือที่มีการนำมาปลูก โดยติดต่อสอบถามหาข้อมูลจากหน่วยราชการและภาคเอกชนทั่วทุกภาคของประเทศ
- ศึกษาจากข่าว Vetiver Newsletter ของธนาคารโลกและเอกสารอื่นเกี่ยวกับพันธุ์หญ้าแฝก แหล่งหญ้าแฝก การขยายพันธุ์ด้วยวิธีใหม่ๆ การใช้ประโยชน์ทั้งในด้าการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการทำผลิตภัณฑ์จากส่วนต่างๆ ของหญ้าแฝก
- รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าสนใจจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศพร้อมกับศึกษาลักษณะทางพฤษศาสตร์ อนุกรมวิธาน ลักษณะพันธุ์และ Clones
- คัดหญ้าแฝกชนิด Vetiveria zizanioides (L) Nash และ Vetiveria nemoralis พันธืหรือ Clones ต่างๆ นำมาขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนเพียงพอ สำหรับแก้ปัญหาดินเลื่อนไหลพังทลายทั่งทั้งโครงการพัฒนาดอยตุง
- ศึกษาการหยั่งกระจายของรากหญ้าแฝกทั้งตามแนวดิ่งและนอน ในสภาพดินชุดต่างๆ ความลาดชันต่างๆ และในระดับความสูงที่แตกต่างกัน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของรากในการป้องกันดินพังทลายและไม่แย่งอาหารจากพืชที่อยู่ข้างเคียง
- ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธี แยกคอ ปล้อง/ข้อ แล้วนำมาชำถุง ชำในแปลง โดยศึกษาวัสดุสำหรับปักชำ (ส่วนผสม) ขนาดถุงชำ วิธีการแยกกอ (จำนวนกอต่อหนึ่งถุง) ความยาวของใบและรากของกอที่ชำ จำนวนแถวในการวางถุง (เพื่อป้องกันการบังแสงสว่างระหว่างต้นข้างเคียง) ระยะระหว่างกอในการปักชำลงแปลง(จำนวนกอต่อหน่วยพื้นที่) อิทธิพลของชนิดของดินในแปลงต่อการแตกกอ การใช้ปุ๋ยสูตรปกติ สูตรสลายช้า ปุ๋ยชีวภาพ อิทธิพลของชนิดของดินในแปลงต่อการแตกกอ อิทธิพลปุ๋ยเชิงเดี่ยวต่อการแตกกอ การขยายพันธุ์โดยวิธีโน้มต้นที่แก่เพื่อให้เกิดรากบริเวณข้อ ตลอดจนการขยายพันธุ์โดยเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ศึกษาจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้แก่หญ้า เพื่อละเว้นการใช้ปุ๋ยเคมี อันเป็นความจำเป็นเมื่อปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่สูง ที่ไม่สามารถให้ปุ๋ยได้สะดวก
- ศึกษาวิธีการปลูกหญ้าแฝกกำกับพื้นที่ปลูกพืชไร่ พืชผัก พืชสวนยืนต้น บนที่ลาดชันเพื่อป้องกัน Sheath Erosion และช่วยให้ดินในแปลงปลูกพืชซับน้ำดีขึ้น พร้อมกับสังเกตการณ์เจริญเติบโตและการแตกกอในภาวะอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และระดับความสูงของพื้นที่ที่ปลูกหญ้าแฝก
- สำรวจจุดที่มีปัญหาดินเลื่อนไหลและพังทลายสองข้างทางทั้งด้านดินตัดและดินถม เพื่อพิจารณาจุดที่สมควรปลูกก่อนหลัง
- กำหนดแถว จำนวนแถว ความถี่ความห่างของแต่ละแถว และระยะห่างระหว่างกอในแถว ซึ่งควรเป็น 10 หรือ 15 เซนติเมตรหรืออย่างอื่น การกำหนดแถวให้ใช้เครื่องเล็งระดับมือถืออย่างง่ายๆ กำหนดแถวปลูกในระนาบ (Contour) เดียวกันให้มีระยะระหว่างแถวในแนวตั้ง (Vertical interval) ระยะต่างๆ กันแล้วดำเนินการเปรียบเทียบกับระยะระหว่างกอและแถว ตามที่ธนาคารโลกแนะนำในหนังสือ Vetiver Grass, The Hedge against Erosion, 3rd Ed, 1990. นอกจากนั้นให้มีการศึกษาจำนวนแถวที่เหมาะสมสำหรับป้องกันการกัดเซาะผิวดิน ตลอดจนให้มีการกรองตะกอนดิน และให้ดินดูดซับน้ำและอาหารพืชได้ดีที่สุด
- ตรวจสอบแถวปลูก หากมีกอที่ตาย แคระแกรนหรือหลุดหาย ให้ดำเนินการซ่อม เพื่อให้แถวที่มีกอขยายแน่นเกิดเป็นเขื่อนเพื่อยึดดินไม่ให้เลื่อนไหล และตะกอนดินที่น้ำพามาให้กองลงด้านหน้าเขื่อนหญ้าแฝก เพื่อลดอัตราเร็วของน้ำที่ไหลผ่านพร้อมกับทำให้กระจายตัวออก น้ำที่ไหลผ่านจะถูกดินดูดซึมได้ดีขึ้น
- จัดตั้งศูนย์ข้อมูลหญ้าแฝกพร้อมกับเผยแพร่ข่าวสาร บทความทางวิชาการ จัดฝึกอบรมและประชุมวิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝก
- ก่อตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย พัฒนา เพื่อให้มีการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และใช้ประโยชน์อย่างอื่นอย่างกว้างขวาง
แผนปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ.2536
- สำรวจแหล่งหญ้าแฝกในภาคเหนือ
- หาข่าวเกี่ยวกับแหล่งหญ้าแฝกและชนิดของหญ้าแฝกทั้งในและนอกประเทศ
- ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ด้วยการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดกะทัดรัด รากและใบเริ่มเจริญในระยะสั้น จำนวนกอต่ำสุด เพื่อประหยัดต้นพันธุ์ทั้งในการชำถุงและปักดำในแปลง
- ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าสนใจพร้อมกับศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ อนุกรมวิธาน พันธุ์ และคุณสมบัติที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละพันธุ์
- ศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝกที่ปลูกในดินชุดและชนิดต่างๆ ในระดับความสูงต่างๆ โดยการใช้ไอโซโทป เพื่อประเมินประสิทธิภาพของพันธุ์หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
- ขยายพันธุ์หญ้าแฝกชนิด Vetiveria zizanioide (L) Nash และ V. nemoralis ให้ได้ 2,000,000 ถุง หรือประมาณ 6,000,000 ต้นเป็นอย่างน้อย ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2535 และมกราคม-เมษายน พ.ศ.2536 ตามแหล่งขยายพันธุ์ที่อยู่ใกล้จุดปลูก
- สำรวจจุดที่มีปัญหาดินเลื่อนไหล และพังทลายสองข้างทางทั้งสายประธาน สายรองและทางลำลอง จัดลำดับตามความสำคัญของปัญหา เพื่อพิจารณาจุดที่สมควรปลูกก่อนหลัง
- ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2535 และ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2536 ลำเลียงหญ้าแฝกจากแหล่งขยายพันธุ์จุดต่างๆ ไปยังจุดที่กำหนดอยู่ใกล้ที่สุดและดำเนินการปลูก
- ตรวจสอบแถวปลูกสัปดาห์ละครั้งในช่วง 1-2 เดือนหลังปลูก เพื่อปลูกซ่อม
- ในช่วงฤดูแล้ง เดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2536 ตัดใบหญ้าแฝกให้ยาวประมาณ 30 ซม. เพื่อป้องกันการออกดอกและให้แตกกอเพิ่มขึ้น เพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิง โดยการนำใบที่ตัดออกไปใช้ประโยชน์
- ประเมินผลการปลูกในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2535 และมกราคม-เมษายน พ.ศ.2536
- จัดพิมพ์เอกสารวิชาการ และบทความเกี่ยวกับหญ้าแฝกเพื่อเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ
แผนงานประจำปี พ.ศ.2537
- สำรวจและหาข่าวแหล่งหญ้าแฝก ชนิดของหญ้าแฝกทั้งในและนอกประเทศ
- สำรวจจุดที่มีปัญหาดินเลื่อนไหลที่ตกค้างของ พ.ศ.2536 ยังไม่ได้ปลูกหญ้าแฝกป้องกันเพราะหมดฤดูฝน ในพ.ศ. 2537 เน้นการสำรวจทางสายรองและทางลำลอง จัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อพิจารณาจุดที่สมควรปลูกก่อนหลังและขยายพันธุ์หญ้าแฝกให้เพียงพอ หรือประมาณ 12,000,000 ต้น
- ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2536 และพฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2537 ลำเลียงหญ้าแฝกจากแหล่งขยายพันธุ์ไปยังจุดปลูกที่อยู่ใกล้ที่สุด และดำเนินการปลูก หากมีกอที่ตายแคระแกรน หรือหลุดหาย ทำการปลูกซ่อม
- ในช่วงฤดูแล้ง เดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2537 ตัดใบหญ้าแฝกให้ยาวประมาณ 30 ซม. ในช่วงนี้ใบหญ้าแฝกที่ปลูกไว้ในระยะต้นๆ ของโครงการอาจนำมาใช้มุงหลังคาได้ หรือนำมาทดลองใช้เป็นวัตถุดิบในการหัตถกรรม
- เริ่มโครงการศึกษาจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้แก่หญ้าแฝก
- ประเมินการปลูกในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2536 และมกราคม-เมษายน พ.ศ.2537 พร้อมกับวางแผนงานและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2538
แผนงานประจำปี พ.ศ.2538
- จัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติศึกษา ชนิดพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก และเทคนิคการสร้างเขื่อนธรรมชาติด้วยหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลพังทลายของดิน และเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของหญ้าแฝก ศูนย์แห่งนี้ให้บริการทางด้านวิชาการ และพันธุ์หญ้าแฝกแก่ผู้ที่สนใจทั้งในและนอกประเทศ สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ World Bank Vetiver Network และสถาบันอื่นที่มีความสนใจเรื่องหญ้าแฝก
- จัดสัมมนาระดับชาติและนานาชาติเกี่ยวกับหญ้าแฝกและประโยชน์ของหญ้าแฝก
- รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่น่าสนใจ จากทั้งภายในและนอกประเทศเพื่อศึกษาความแตกต่างและจำแนกพันธุ์โดยใช้เทคนิค Immunoelectrophoresis พร้อมกับศึกษาคุณลักษณะโครงสร้างของรากและลำต้น ตลอดจนวิธีการขยายพันธุ์ของพันธุ์ที่น่าสนใจ
- ขยายพันธุ์หญ้าแฝกชนิด Vetiveria zizanioides พันธุ์ต่างๆ หรือชนิด (Species) อื่นที่น่าสนใจจากผลการศึกษาตามข้อ 3 ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 5,000,000 ถุง ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2538 ตามแหล่งขยายพันธุ์ที่อยู่ใกล้จุดปลูก
- ศึกษาอนุกรมวิธาน ชนิด พันธุ์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ การขยายพันธุ์ การปลูก เทคนิคในการสร้างเขื่อนหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝก รวมทั้งการศึกษาการใช้หญ้าแฝกขจัดมลภาวะที่เกิดจากการรั่วไหลของสารไนเทรทและสร้างป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแหล่งน้ำ ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์เขื่อนหญ้าแฝกและใบหญ้าแฝกที่ปลูกในปีแรกๆ ของโครงการ