ผลต่างระหว่างรุ่นของ "05.รายละเอียดโครงการ-หญ้าแฝกดอยตุง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: {{สารบัญหญ้าแฝกดอยตุง}} '''โครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก''' <div class="ki...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:39, 2 กันยายน 2551
สารบัญ
โครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก
การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำสำหรับพื้นที่โครงการดอยตุง เป็นงานต่อเนื่องระยะยาว เนื่องจากมีปัญหาความเสื่อมโทรมของธรรมชาติของพื้นที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานมาแล้ว ไม่เฉพาะแต่การพังทลายของดินซึ่งเกิดจากการก่อสร้างเท่านั้น การตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรดินและน้ำต้องสูญเสีย และเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยา การแก้ปัญหาที่กล่าวย่อมต้องใช้เวลานาน ต้องคำนึงถึงมูลเหตุต่างๆ แห่งปัญหานำมาศึกษาให้ทราบถึงแก่นแท้ ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ต้องมีขั้นตอนและสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งเป็นโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกขึ้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนปฏิบัติงานสำหรับช่วง 3 ปี (พ.ศ.2536-2538) ไว้ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพัฒนาระบบการใช้พืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะหญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อีกทั้งยังง่ายในการปฏิบัติและบำรุงรักษาเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศในโลกที่สาม ซึ่งอัตคัดทั้งเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญและเงินทุน
เป้าหมายของโครงการ
- คัดพันธุ์หญ้าแฝกที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีระบบรากที่แข็งแรงหยั่งลึก ยึดอนุภาคดินได้มั่นคง หาอาหารได้ในทุกสภาวะ เจริญเติบโตได้ดีภายใต้การดูแลรักษาในระดับต่ำ มีใบที่แข็งแรงสมบูรณ์ใช้ประโยชน์ เช่น มุงหลังคาได้ เมล็ดไม่งอกเหมือนหญ้าที่เป็นวัชพืชบางชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ในระดับความสูงช่วงอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่ดอยตุง ทนสภาพน้ำขังไม่ไวแสง สามารถทนต่อสภาพร่มเงาได้บ้าง
- ศึกษาวิธีขยายพันธุ์อย่างไรเพศ (Asexual reproduction) เพื่อให้ได้กอหญ้าแฝกเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นสำหรับนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีปัญหา การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะเน้นความสะดวกและประหยัดเป็นสำคัญ
- ดำเนินการผลิตกอหญ้าแฝกให้ได้จำนวนมากพอ สำหรับนำไปปลูกตามบริเวณอ่างเก็บน้ำ รางระบายน้ำ และอื่นๆ ที่มีปัญหาดินเลื่อนไหลพังทลายของดิน หรือปลูกเป็นแถวกำกับแนวปลูกพืชและล้อมพืชยืนต้น เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ให้ได้ทั่วทั้งโครงการ
- ศึกษาวิจัยโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในธรรมชาติของหญ้าแฝก เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
- พัฒนาโครงการให้เป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก