ผลต่างระหว่างรุ่นของ "11.การศึกษาวิธีขยายพันธุ์ของหญ้าแฝก"

(011.การศึกษาวิธีขยายพันธุ์ของหญ้าแฝก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น [[11.การศึกษาวิธีขยายพันธุ์ของหญ้าแ)
 
แถว 41: แถว 41:
 
*การปักชำลงแปลง เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์จำนวนมากๆ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าวิธีอื่น
 
*การปักชำลงแปลง เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์จำนวนมากๆ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าวิธีอื่น
  
 
+
<center>
 
<gallery>
 
<gallery>
 
Image:หญ้าแฝก-32.jpg|การขยายพันธุ์หญ้าแฝกโดยใช้วิธีการชำถุง
 
Image:หญ้าแฝก-32.jpg|การขยายพันธุ์หญ้าแฝกโดยใช้วิธีการชำถุง
แถว 48: แถว 48:
 
Image:หญ้าแฝก-35.jpg|การขยายพันธุ์โดยเลี้ยงเนื้อเยื่อแสดงต้นจิ๋วในขวดและต้นหญ้าแฝกในถาดหลุม เมื่อนำต้นจิ๋วจากขวดลงปลูก
 
Image:หญ้าแฝก-35.jpg|การขยายพันธุ์โดยเลี้ยงเนื้อเยื่อแสดงต้นจิ๋วในขวดและต้นหญ้าแฝกในถาดหลุม เมื่อนำต้นจิ๋วจากขวดลงปลูก
 
</gallery>
 
</gallery>
 +
</center>
  
  

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:32, 4 พฤษภาคม 2552

สารบัญ


การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝกที่ดำเนินการในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง


1. การศึกษาวิธีขยายพันธุ์ของหญ้าแฝก


1.1 โดยเมล็ด จากการสังเกตหญ้าแฝกที่ปลูกขยายพันธุ์เอาไว้ที่แปลงขยายพันธุ์ ตำบลห้วยไคร้พบว่าเมล็ดหญ้าแฝกจากบางแหล่งที่ตกอยู่บริเวณแถวปลูกงอกเป็นต้นกล้า แม้ต้นกล้าจะมีขนาดเล็กประมาณ 5 ซม. แต่ก็มีรากที่ยาว หยั่งลึกลงดิน 20 ซม. สำหรับอายุกล้าหญ้าแฝกที่พบนี้ไม่อาจประมาณได้

การที่มีหญ้าแฝกจากบางแหล่งมีเมล็ดงอกได้ดีนี้ทำให้หญ้าแฝกจากบางแหล่งที่มีศักยภาพที่เป็นวัชพืชได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการติดเมล็ดและการงอกของเมล็ดของหญ้าแฝกจากทุกแหล่งที่นำเข้ามายังพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง ขณะนี้ได้ดำเนินการเก็บเมล็ดหญ้าแฝกจากแหล่งต่างๆ เพื่อที่จะนำมาศึกษาการงอก


1.2 โดยแยกหน่อ ทำได้ 2 วิธี คือ ปักชำหน่อลงในถุงบรรจุดินผสม และดำลงในแปลงแบบดำนา

การปักชำลงในถุงดินผสม มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มจำนวน และเพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ จากการศึกษาอาจสรุปวิธีการดำเนินการที่ได้ผลดี ดังนี้

  • เตรียมดินผสม (ดินผสมแกลบเผาในอัตราส่วน 2:1) บรรจุลงถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว สำหรับขยายพันธุ์ ขนาด 2.5 x 10 นิ้ว สำหรับนำไปปลูกในพื้นที่
  • สำหรับการปลูกเพื่อขยายพันธุ์ เมื่อบรรจุดินลงถุงแล้ว นำไปวางเรียงเป็นแถว แถวละ 1 คู่ ระยะระหว่างแถว 1.2 เมตร ในที่โล่งแจ้งไม่มีร่มเงาบัง ส่วนการปลูกเพื่อที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ เรียงเป็นแถว ๆ ละ 5 หรือ 10 ถุง เว้นทางเดินระหว่างแถว 50 ซม. วางถุงในที่ไม่มีร่มเงาเช่นเดียวกับการขยายพันธุ์
  • แยกหน่อจากกอหญ้าแฝกที่ขุดขึ้นมาจากแปลงปลูกหรือแหล่งธรรมชาติ เป็นหน่อเดี่ยวๆ หรือติดกัน 2-3 หน่อย ตัดใบออกให้เหลือความยาวประมาณ 6 – 8 ซม. ตัดรากออกให้หมดหรือเหลือไว้เพียง 1 ซม. ก็ได้
  • ก่อนปักชำหน่อลงในถุงที่เตรียมไว้ ให้จุ่มหน่อลงในน้ำยาป้องกันกำจัดเชื้อราและน้ำยาเร่งรากเสียก่อน
  • ปักชำหน่อลงในถุงให้ลึกประมาณ 3 – 5 ซม. กดดินในถุงรอบๆหน่อให้แน่น
  • รดน้ำทุกวันให้ชุ่มแต่ไม่ขังแฉะ ตลอดระยะเวลาประมาณ 15 วัน หลังการปักชำ
  • ใส่ปุ๋ยมูลไก่ หรือปุ๋ยเคมีสูตร 15 -15 -15 อัตราหนึ่งในสี่ช้อนชาต่อถุง เพื่อเร่งการแตกกอ
  • หลังปักชำ 2 เดือน ใบของต้นที่เจริญเติบโตดีจะงามยาว ให้ใบตัดสูงจากระดับดิน 30 ซม. เพื่อเร่งการแตกกอ
  • ถอนวัชพืชที่ขึ้นในถุงเพาะชำ
  • เมื่ออายุหญ้าแฝกครบ 6 เดือน ต้นที่เจริญเติบโตเป็นปกติจะแตกกอเพิ่มจำนวนได้ 10-30 เท่า อนึ่งสำหรับการนำถุงหญ้าแฝกออกปลูกในพื้นที่โดยตรง หญ้าแฝกอายุ 3 เดือน เหมาะสำหรับนำออกมาปลูกมากที่สุด
  • การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ประหยัดเนื้อที่ปลูกและเวลา และค่าใช้จ่ายต่ำ


การปักดำลงในแปลงแบบดำนา อาจปักดำลงในแปลงที่ยกไว้หรือปลูกในกระทงนา วิธีการที่โครงการฯ ศึกษาแล้วเห็นว่าดีที่สุด มีขั้นตอนดังนี้

  • รองก้นหลุมที่จะดำด้วยปุ๋ยมูลไก่ หรือปุ๋ยคอก
  • เตรียมหน่อปลูก เช่นเดียวกับวิธีปลูกหน่อลงถุง
  • ปักดำหน่อลงในแปลงที่มีการไถพรวนดีแล้ว โดยใช้ระยะปลูก 40 x 40 ซม. 1ไร่ใช้หน่อ 10,000 หน่อ
  • ถ้าในกระทงนามีน้ำขัง เปิดน้ำออกให้หมดหลังปักดำ
  • เปิดน้ำเข้าแปลงเมื่อดินเริ่มแห้ง ขังทิ้งไว้ 12-24 ชม. แล้วเปิดออกให้หมด
  • กำจัดวัชพืชตลอดฤดูกาล
  • หลังปักดำ 2 เดือน หว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กก.ต่อไร่ พร้อมกับพรวนโคน
  • หลักปักดำ 2-3 เดือน ตัดใบสูงจากระดับดิน 30 ซม. เพื่อเร่งการแตกกอ
  • เมื่ออายุ 6 เดือน หากการเจริญเติบโตเป็นปกติ จะเพิ่มจำนวนได้ประมาณ 20-50 เท่า
  • การปักชำลงแปลง เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์จำนวนมากๆ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าวิธีอื่น


1.3 โดยใช้ปล้อง/ข้อ โครงการได้ทำการทดลองนำปล้อง/ข้อ ของก้านดอกมาใช้ขยายพันธุ์ โดยปักชำลงในแปลง การเตรียมแปลงและการบำรุงรักษาดำเนินการเช่นเดียวกับการขยายพันธุ์โดยวิธีปักดำที่ได้กล่าวมาข้างต้น ปล้อง/ข้อสำหรับใช้ทำพันธุ์ต้องคัดเลือกจากก้านดอกที่มีดอกแก่เต็มที่และดอกร่วงแล้ว อายุประมาณ 12 เดือน ก้านดอก 1 ก้านควรตัดให้ทุกท่อนมี 1 ตา ตัดเป็นท่อนจากตาล่างสุดขยายพันธุ์ได้ 3 ท่อน นำท่อนที่มีตาชุบในน้ำยาป้องกันเชื้อราและเร่งการงอกของราก ปักท่อนฝังตาลงในแปลงดินผสมทรายและขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 :1 : 1 ลึก 2-3 ซม. ระยะปลูก 5x5 ซม. และกลบดินให้แน่น คลุมแปลงด้วยพลาสติกใสเพื่อพรางแสงลงบ้าง ตาเริ่มจะแตกเกิดเป็นกอใหม่ภายใน 15 วัน เปิดผ้าพลาสติกออก

การแตกกอเป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อมีการตัดใบออกเป็นระยะๆ ในระยะเวลา 4 เดือนจะได้กอหญ้าแฝกเพิ่มขึ้น 4-5 เท่า การปักชำด้วยวิธีนี้เปลืองแรงงาน เสียค่าใช้จ่ายสูง

อนึ่งการใช้เชือกผูกก้านช่อดอกแล้วโน้มลงที่ปลายเชือกอีกข้างหนึ่งผู้ไว้กับก้อนหินหรือท่อนไม้หนักๆ แล้วทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง ก้านช่อดอกที่ถูกโน้มลงจะงอกรากตามบริเวณข้อ ซึ่งสามารถนำเอาไปขยายพันธุ์ได้


1.4 โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหญ้าแฝกแหล่งสุราษฎร์ที่นำมาขยายพันธุ์เป็นส่วนของช่อดอกอ่อนซึ่งยังมีใบธงหุ้มอยู่ หลังจากทำการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่ตามผิวกาบใบธงด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรด์แล้ว จึงแกะกาบออก นำช่อดอกที่อยู่ภายในมาตัดเป็นท่อน แต่ละท่อนมีจุดกำเนิดของดอกประมาณ 10-20 ดอก แล้วนำไปเลี้ยงไว้ในอาหารวุ้นมาตรฐานเอมเอส ผสมด้วยฮอร์โมนและน้ำตาลทราย จนกระทั่งเซลล์บริเวณจุดกำเนิดดอกมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นกลุ่มเซลล์กลุ่มใหญ่ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันเรียกว่า แคลลัส เมื่อได้กลุ่มแคลลัสจำนวนมากพอแล้ว ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงแยกแคลลัสออกไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเอมเอสที่ปลอดฮอร์โมน ภายใต้แสงสว่างจากหลอดฟลูออเรสเซ็นท์ ในที่สุดแคลลัสจะกลายเป็นต้นหญ้าแฝกจิ๋วที่ออกราก รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเลี้ยงช่อดอกอ่อนจนถึงขั้นนี้ 2 เดือน แล้วจึงนำออกจากขวดลงปลูกในดินผสมแกลบดำทรายหยาบ อัตราส่วน 2:1:1 หลังจากนั้นดูแลรักษาเหมือนต้นกล้าอ่อนที่เพาะจากเมล็ด คือ ให้น้ำพอให้เกิดความชื้นแต่ไม่แฉะ ให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำจากอัตราเจือจางจนถึงอัตราปกติ เพิ่มแสงสว่างขึ้นทีละน้อยจากสภาพพรางแสงจนเปิดเครื่องพรางแสงออกให้พืชได้แสงสว่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข็งแรงดี พร้อมนำปลูกในแปลงได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน นับแต่วันที่นำออกจากขวด

การขยายพันธุ์โดยวิธีเลี้ยงเนื้อเยื่อมีข้อได้เปรียบกว่าวิธีแยกหน่อหรือใช้ปล้อง/ข้อ ตรงที่ต้นจิ๋วมีน้ำหนักน้อยไม่มีปัญหาในการขนส่งกล้าจากแหล่งขยายพันธุ์ไปยังพื้นที่ปลูก ถาดหลุมบรรจุดินผสมขนาด 30x50 ซม. 1 ถาด ปลูกต้นหญ้าแฝกที่ออกจากขวดได้ 28 ต้น มีน้ำหนักเพียง 1.5 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับหญ้าแฝกถุง มีน้ำหนัก 0.75 กก. นอกจากนั้นยังใช้พื้นที่สำหรับขยายพันธุ์น้อย พื้นที่ 1 ไร่ สามารถวางถาดได้ 6,667 ถาด หรือไร่ละ 186,676 ต้น และใช้เวลาอนุบาลกล้าอ่อนปลูกในพื้นที่เพียง 1 เดือน ค่าใช้จ่ายในการผลิตหญ้าแฝกด้วยวิธีนี้จนถึงมีขนาดพร้อมที่นำออกปลูกในพื้นที่ต้นละ 0.72 บาท (ค่าใช้จ่ายนี้ต้องส่งถาดหลุมคืน เพื่อนำมาใช้สำหรับปลูกรุ่นต่อไป)