ผลต่างระหว่างรุ่นของ "12.การศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝกโดยการใช้สารไอโซโทป"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 18: | แถว 18: | ||
</div> | </div> | ||
+ | <center> | ||
+ | [[ภาพ:หญ้าแฝก-36.jpg]] | ||
+ | |||
+ | การเจาะดินเพื่อใส่ไอโซโทป ที่ระดับความลึกและระยะห่างจากกอต่างๆกัน | ||
+ | </center> | ||
'''ผลของการศึกษาโดยการใช้สารไอโซโทป มีผลงานก้าวหน้าดังนี้''' | '''ผลของการศึกษาโดยการใช้สารไอโซโทป มีผลงานก้าวหน้าดังนี้''' |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:01, 3 กันยายน 2551
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝกที่ดำเนินการในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง
2. การศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝก โดยการใช้สารไอโซโทป
ในปัจจุบันมีการปลูกหญ้าแฝกตามบริเวณสองข้างถนนบนดอย ทั้งในด้านดินตัดและดินถม ซึ่งดินมีองค์ประกอบต่างกันออกไป บางตอนมีหินปะปนอยู่มาก บางตอนค่อนข้างเป็นดินเหนียวแดงแท้ๆ ทำให้การเจริญเติบโตของหญ้าแฝกที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวแตกต่างไปจากที่ปลูกไว้ในแปลงขยายพันธุ์ เนื่องจากไม่สามารถให้น้ำและปุ๋ยได้อย่างสม่ำเสมอดังเช่นในแปลงขยายพันธุ์ ดังนั้นจึงไม่อาจเปรียบเทียบอายุกับความยาวของรากหญ้าแฝกที่ปลูกในสภาพการปลูกที่แตกต่างกันได้ นอกจากจะขุดตรวจซึ่งเป็นการยาก เสียเวลา และอาจทำให้เกิดพังทลายของดินขึ้น
ดังนั้น เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2536 สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ประสานงานกับกลุ่มงานวิจัยนิวเคลียร์เทคนิค กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ทำการศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝกด้วยการใช้ไอโซโทปที่มีอายุสั้น เช่น ฟอสฟอรัส 32 วิธีนี้เป็นเทคนิคที่ยอมรับกันทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้เป็นการตรวจสอบการกระจายของรากหญ้าแฝก 2 ชนิด จากแหล่งอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และแหล่งบ้านขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปลูกในดินเหนียวสีแดงในแปลงขยายพันธุ์ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และดินเหนียวสีแดงที่มีหินปะปนอยู่มากบริเวณ กม.ที่ 18 ทางสายบ้านสังกอง-พระธาตุดอยตุง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบดูว่าการปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่จริง รากหญ้าแฝกหยั่งลึกถึงระดับใดภายในเวลาเท่าใด รากเจริญออกมาไกลจากกอมากเพียงใด หากปลูกร่วมกับพืชอื่นจะแย่งอาหารจากพืชเศรษฐกิจที่ปลูกอยู่ใกล้เคียงหรือไม่
ฟอสฟอรัส-32 เป็นอาหารของพืชเช่นเดียวกับฟอสฟอรัสที่ผสมอยู่ในปุ๋ยสูตรต่างๆ ฟอสฟอรัส-32 มีน้ำหนักปรมาณูเท่ากับ 32 หนักกว่าฟอสฟอรัสธรรมดา ซึ่งมีน้ำหนักปรมาณูเท่ากับ 31 ฟอสฟอรัส-32 จะคายพลังงานออกมาในรูปอนุภาคเบต้ากำลังสูง เมื่อใส่ฟอสฟอรัส-32 ไว้ที่ระดับความลึกต่างๆ และให้ห่างจากกอระยะต่างๆ รากหญ้าแฝกที่งอกไปถึงจุดที่ใส่ฟอสฟอรัส-32 ไว้จะดูดฟอสฟอรัส-32 เพื่อใช้เป็นอาหาร เมื่อสารถูกส่งผ่านมายังลำต้น (หน่อ) ทำให้สามารถใช้เครื่องวัดปริมาณได้ หากดูดขึ้นมาได้มาก หมายถึงมีรากอยู่บริเวณนั้นมาก เครื่องวัดก็จะวัดได้มาก จึงทำให้ทราบว่า รากหยั่งลึกไปถึงที่ใดขยายแผ่กว้างออกไปเพียงใด โดยไม่ต้องขุดตรวจ
แม้ฟอสฟอรัส-32 เป็นสารไอโซโทป แต่ก็มีอายุสั้นมาก ภายในเวลา 14.3 วัน พลังงานจะเสียไปครึ่งหนึ่ง ดังนั้นการใช้ฟอสฟอรัส-32 เพื่อศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝก ฟอสฟอรัส-32 จะคายพลังงานออกมาจนหมดภายในเวลาไม่เกิน 9 เดือนนับแต่วันที่นำมาใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและบุคลากรที่จะใช้ที่ดินแปลงนั้นเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างอื่น
การเจาะดินเพื่อใส่ไอโซโทป ที่ระดับความลึกและระยะห่างจากกอต่างๆกัน
ผลของการศึกษาโดยการใช้สารไอโซโทป มีผลงานก้าวหน้าดังนี้
หญ้าแฝกแหล่งพิมายปลูกในพื้นที่ติดกับแหล่งสุราษฎร์ธานีที่กล่าวแล้ว เมื่ออายุ 60 วัน มีรากหยั่งลึก 30 ซม. การกระจายของรากเป็นไปในแนวกว้าง (มากกว่า 10 ซม.) มากกว่าแนวดิ่ง ปริมาณรากที่มากที่สุดอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม. เมื่ออายุได้ 77 วัน
หญ้าแฝกแหล่งเวียงชัย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชนิดหรือต้นพันธุ์เดียวกันกับหญ้าแฝกแหล่งสุราษฎร์ธานีที่ปลูกไว้ตามไหล่ถนนบริเวณดินถมกิโลเมตรที่ 18 ทางสายใหม่ขึ้นพระธาตุดอยตุง แม้การเจริญเติบโตไม่ดีนัก แต่ก็มีรากหยั่งลึกลงถึง 150 ซม. เมื่ออายุประมาณ 12 เดือน ในจุดเดียวกันนี้พบว่าบริเวณความลึก 100 ซม. จะมีรากอยู่หนาแน่นกว่า
การศึกษาในเรื่องนี้จะยังคงดำเนินต่อไป โดยจะวัดพลังงานจากฟอสฟอรัส-32 ที่รากดูดขึ้นมาจากดินในระดับต่างๆ เป็นประจำทุกเดือน จนกว่าจะสลายตัวหมดในเวลาประมาณ 9 เดือน นับแต่วันเริ่มการศึกษา เมื่อครบกำหนดดังกล่าวก็จะได้สรุปผลของการศึกษาการกระจายของรากหญ้าแฝก