ผลต่างระหว่างรุ่นของ "13.การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกฯ"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) ล (การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกฯ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น [[13.การ) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 11: | แถว 11: | ||
สำหรับระยะระหว่างแถวปลูกนั้น ในเอกสารเรื่องหญ้าแฝกของธนาคารโลกแนะนำให้ปลูกระยะห่างตามแนวดิ่ง 2 เมตร ทรงเห็นว่าควรลดระยะลงมาเป็นประมาณ 1.5 เมตร จะทำให้การส่องระดับด้วยสายตาเพื่อกำหนดแถวให้ขนานกับแถวแรกทำได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เนื่องจากคนไทยไม่ใช่คนสูง ถ้าใช้ระยะ 1.5 เมตร จะสามารถเดินส่องระดับด้วยสายตาได้สะดวกกว่า | สำหรับระยะระหว่างแถวปลูกนั้น ในเอกสารเรื่องหญ้าแฝกของธนาคารโลกแนะนำให้ปลูกระยะห่างตามแนวดิ่ง 2 เมตร ทรงเห็นว่าควรลดระยะลงมาเป็นประมาณ 1.5 เมตร จะทำให้การส่องระดับด้วยสายตาเพื่อกำหนดแถวให้ขนานกับแถวแรกทำได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เนื่องจากคนไทยไม่ใช่คนสูง ถ้าใช้ระยะ 1.5 เมตร จะสามารถเดินส่องระดับด้วยสายตาได้สะดวกกว่า | ||
+ | </div> | ||
+ | |||
+ | <center> | ||
+ | [[ภาพ:หญ้าแฝก-37.jpg]] | ||
+ | |||
+ | คณะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำจากธนาคารโลก Mr. John Greenfield และ<br /> Mr. Yves Wong เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกบ้านห้วยไคร้ ได้หารือกับราชเลขานุการในพระองค์ฯ <br />ถึงการประชุมเรื่องหญ้าแฝกระหว่างประเทศที่ประเทศไทย ค.ศ.1995 (6 พฤษภาคม 2536) | ||
+ | </center> | ||
− | ผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวทางดำเนินการอันเป็นประโยชน์ยิ่ง และน้อมเกล้าฯ รับที่จะนำไปทดลองปฏิบัติ ดังนั้นในการสัมมนาครั้งต่อไปคงจะมีรายงานผลการทดลองปฏิบัติเพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป | + | <div class="kindent">ผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวทางดำเนินการอันเป็นประโยชน์ยิ่ง และน้อมเกล้าฯ รับที่จะนำไปทดลองปฏิบัติ ดังนั้นในการสัมมนาครั้งต่อไปคงจะมีรายงานผลการทดลองปฏิบัติเพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป |
การสัมมนาครั้งนี้ได้มีนักวิชาการจากหน่วยงานราชการบรรยายผลการศึกษาวิจัยในเรื่องชนิดพันธุ์หญ้าแฝก และการเปรียบเทียบสายต้น สายพันธุ์หญ้าแฝกในประเทศไทย การใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินน้ำ และสิ่งแวดล้อม | การสัมมนาครั้งนี้ได้มีนักวิชาการจากหน่วยงานราชการบรรยายผลการศึกษาวิจัยในเรื่องชนิดพันธุ์หญ้าแฝก และการเปรียบเทียบสายต้น สายพันธุ์หญ้าแฝกในประเทศไทย การใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินน้ำ และสิ่งแวดล้อม | ||
แถว 27: | แถว 34: | ||
---- | ---- | ||
− | [[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)]] | + | [[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)|13]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:04, 3 กันยายน 2551
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในการกล่าวเปิดการสัมมนาตอนหนึ่ง เลขาธิการ กปร. ได้กล่าวถึงเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมและการชะล้างพังทลายของดินมาโดยตลอด และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้ทดลองใช้หญ้าแฝกในการแก้ปัญหาดังกล่าว และในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมปฏิบัติได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำมาทดอลงใช้แก้ปัญหาที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์และพืช
นอกจากนั้นยังได้อันเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องหญ้าแฝกแก่เลขาธิการ กปร. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2536 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งพอสรุปได้ว่า การปลูกหญ้าแฝกเพื่อกันดินพังทลายควรใช้หญ้าแฝกกอเล็กๆ ปลูกใกล้ๆกันระยะห่าง 2-3 ซม. จะทำให้แถวหญ้าแฝกปิดแน่นดีกว่าใช้กอใหญ่และปลูกระยะห่าง 15 ซม. หญ้าแฝกที่ปลูกตามวิธีดังกล่าวจะแตกกอเบียดแน่นในแถวที่ปลูกภารในระยะเวลาอันนั้น ต่างกับที่ปลูกห่างอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีจึงจะเป็นแถวปิดแน่น นอกจากนั้นความสิ้นเปลืองพันธุ์หญ้าแฝกและค่าใช้จ่ายในการปลูกยังต่ำกว่า
สำหรับระยะระหว่างแถวปลูกนั้น ในเอกสารเรื่องหญ้าแฝกของธนาคารโลกแนะนำให้ปลูกระยะห่างตามแนวดิ่ง 2 เมตร ทรงเห็นว่าควรลดระยะลงมาเป็นประมาณ 1.5 เมตร จะทำให้การส่องระดับด้วยสายตาเพื่อกำหนดแถวให้ขนานกับแถวแรกทำได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เนื่องจากคนไทยไม่ใช่คนสูง ถ้าใช้ระยะ 1.5 เมตร จะสามารถเดินส่องระดับด้วยสายตาได้สะดวกกว่า
คณะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำจากธนาคารโลก Mr. John Greenfield และ
Mr. Yves Wong เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกบ้านห้วยไคร้ ได้หารือกับราชเลขานุการในพระองค์ฯ
ถึงการประชุมเรื่องหญ้าแฝกระหว่างประเทศที่ประเทศไทย ค.ศ.1995 (6 พฤษภาคม 2536)
การสัมมนาครั้งนี้ได้มีนักวิชาการจากหน่วยงานราชการบรรยายผลการศึกษาวิจัยในเรื่องชนิดพันธุ์หญ้าแฝก และการเปรียบเทียบสายต้น สายพันธุ์หญ้าแฝกในประเทศไทย การใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินน้ำ และสิ่งแวดล้อม
คณะเจ้าหน้าที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขาหินซ้อน (จ.ฉะเชิงเทรา) พิกุลทอง (จ.นราธิวาส) ห้วยฮ่องไคร้ (จ.เชียงใหม่) อ่าวคุ้งกระเบน (จ.จันทบุรี) ภูพาน (จ.สกลนคร) และห้วยทราย (จ.เพชรบุรี) รายงานผลการปฏิบัติงานในด้านการรวบรวมพันธุ์หญ้าแฝก เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโตของต้น ใบแบะราก ความเหมาะสมเมื่อนำมาปลูกเพื่อป้องกันดินพังทลายและอนุรักษ์ดินและน้ำ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อค้นหาวิธีที่สามารถดำเนินการได้โดยรวดเร็วและประหยัด การใช้ปุ๋ยสูตรปกติและสูตรสลายตัวช้าเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์อย่างอื่นของหญ้าแฝกที่นอกเหนือไปจากการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการขยายพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อแจกจ่ายแก่หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปปลูกในพื้นที่ที่มีปัญหาดินพังทลาย
สำหรับโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รายงานความเป็นมาของโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกในพื้นที่ทรงงานโครงการพัฒนาดอยตุง ผลงานด้านการขยายพันธุ์และการนำหญ้าแฝกไปปลูกในพื้นที่ที่มีปัญหาดินพังทลาย และการปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ การสนับสนุนพันธุ์หญ้าแฝกและให้คำแนะนำด้านเทคนิคแก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เพื่อนำไปปลูกป้องกันดินพังทลาย ตลอดจนผลการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ และความสามารถของรากหญ้าแฝกในการชอนไชลงไปในดินจนถึงระดับความลึกต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการเกาะยึดดินของหญ้าแฝกแต่ละชนิดหรือจากแต่ละแหล่ง
นอกจากการรายงานยังได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานหญ้าแฝกของโครงการฯ และนำชมพื้นที่ในบริเวณโครงการฯ ที่เกิดปัญหาดินพังทลาย และมีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและจริงจัง การปฏิบัติมีทั้งผลสำเร็จและที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การทัศนศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับผู้อื่น พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น เพื่อปรับปรุงงานในโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การประชุมสัมมนาครั้งนี้ทำให้ได้ความคิดหลายๆ อย่าง ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ควรมีการพิจารณาคุณสมบัติของหญ้าแฝกแต่ละพันธุ์ให้ละเอียด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จากลักษณะต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกในทางตรงในการอนุรักษ์ดินและน้ำควบคู่ไปกับประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจกับประโยชน์ทางอ้อมในการที่หญ้าแฝกจะช่วยให้พืชพรรณอื่นๆ ดำรงอยู่ได้ดียิ่งขึ้น