ผลต่างระหว่างรุ่นของ "05.รายละเอียดโครงการ-หญ้าแฝกดอยตุง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 2: | แถว 2: | ||
'''โครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก''' | '''โครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก''' | ||
− | |||
<div class="kindent">การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำสำหรับพื้นที่โครงการดอยตุง เป็นงานต่อเนื่องระยะยาว เนื่องจากมีปัญหาความเสื่อมโทรมของธรรมชาติของพื้นที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานมาแล้ว ไม่เฉพาะแต่การพังทลายของดินซึ่งเกิดจากการก่อสร้างเท่านั้น การตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรดินและน้ำต้องสูญเสีย และเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยา การแก้ปัญหาที่กล่าวย่อมต้องใช้เวลานาน ต้องคำนึงถึงมูลเหตุต่างๆ แห่งปัญหานำมาศึกษาให้ทราบถึงแก่นแท้ ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ต้องมีขั้นตอนและสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งเป็นโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกขึ้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนปฏิบัติงานสำหรับช่วง 3 ปี (พ.ศ.2536-2538) ไว้ดังต่อไปนี้ | <div class="kindent">การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำสำหรับพื้นที่โครงการดอยตุง เป็นงานต่อเนื่องระยะยาว เนื่องจากมีปัญหาความเสื่อมโทรมของธรรมชาติของพื้นที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานมาแล้ว ไม่เฉพาะแต่การพังทลายของดินซึ่งเกิดจากการก่อสร้างเท่านั้น การตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรดินและน้ำต้องสูญเสีย และเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยา การแก้ปัญหาที่กล่าวย่อมต้องใช้เวลานาน ต้องคำนึงถึงมูลเหตุต่างๆ แห่งปัญหานำมาศึกษาให้ทราบถึงแก่นแท้ ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ต้องมีขั้นตอนและสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งเป็นโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกขึ้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนปฏิบัติงานสำหรับช่วง 3 ปี (พ.ศ.2536-2538) ไว้ดังต่อไปนี้ | ||
</div> | </div> | ||
+ | |||
'''วัตถุประสงค์''' | '''วัตถุประสงค์''' | ||
− | |||
<div class="kindent">เพื่อศึกษาพัฒนาระบบการใช้พืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะหญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อีกทั้งยังง่ายในการปฏิบัติและบำรุงรักษาเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศในโลกที่สาม ซึ่งอัตคัดทั้งเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญและเงินทุน</div> | <div class="kindent">เพื่อศึกษาพัฒนาระบบการใช้พืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะหญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อีกทั้งยังง่ายในการปฏิบัติและบำรุงรักษาเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศในโลกที่สาม ซึ่งอัตคัดทั้งเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญและเงินทุน</div> | ||
แถว 18: | แถว 17: | ||
# พัฒนาโครงการให้เป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก | # พัฒนาโครงการให้เป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก | ||
+ | |||
+ | '''ผลที่คาดว่าจะได้รับ''' | ||
+ | # การปลูกหญ้าแฝกเป็นเขื่อนธรรมชาติ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย การกัดกร่อนผิวดิน การกัดเซาะดินให้เลื่อนไหล และเพื่อกรองตะกอนดินที่น้ำพามา ตลอดจนลดความเร็วของน้ำทำให้ดินดูดซับน้ำได้ดีขึ้น เป็นวิธีที่หลายประเทศนำมาใช้และได้ผลดี จึงควรนำมาใช้ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง หากประสบผลสำเร็จจะสามารถป้องกันการสูญเสียหน้าดินและน้ำที่ไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ | ||
+ | # เมื่อความสูญเสียดังกล่าวยุติลง สภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันสมบูรณ์จะคืนกลับมาพร้อมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าต้นน้ำลำธาร ป่าเศรษฐกิจและพืชเศรษฐกิจ หรือพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาดอยตุง ที่สำคัญที่สุดเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงมีทั้งความห่วงใยในชีวิตของพสกนิกรและสิ่งแวดล้อม | ||
+ | # รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณจำนวนมหาศาล ในการแก้ไขป้องกันการเลื่อนไหลและพังทลายของดินจากการดำเนินการโดยวิธีทางวิศวกรรมลงได้ เนื่องจากการสร้างเขื่อนหญ้าแฝกมีค่าใช้จ่ายต่ำ กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมดั้งเดิม ไม่ต้องการค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงทัศนียภาพดังเช่นที่ต้องทำภายหลังกาแก้ปัญหาดินเลื่อนไหลโดยวิธีทางวิศวกรรมแล้ว | ||
+ | # เป็นรูปแบบในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่อื่นที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน | ||
---- | ---- | ||
− | [[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)]] | + | [[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)|13]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:13, 3 กันยายน 2551
สารบัญ
โครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก
การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำสำหรับพื้นที่โครงการดอยตุง เป็นงานต่อเนื่องระยะยาว เนื่องจากมีปัญหาความเสื่อมโทรมของธรรมชาติของพื้นที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานมาแล้ว ไม่เฉพาะแต่การพังทลายของดินซึ่งเกิดจากการก่อสร้างเท่านั้น การตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรดินและน้ำต้องสูญเสีย และเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยา การแก้ปัญหาที่กล่าวย่อมต้องใช้เวลานาน ต้องคำนึงถึงมูลเหตุต่างๆ แห่งปัญหานำมาศึกษาให้ทราบถึงแก่นแท้ ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ต้องมีขั้นตอนและสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งเป็นโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกขึ้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนปฏิบัติงานสำหรับช่วง 3 ปี (พ.ศ.2536-2538) ไว้ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพัฒนาระบบการใช้พืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะหญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อีกทั้งยังง่ายในการปฏิบัติและบำรุงรักษาเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศในโลกที่สาม ซึ่งอัตคัดทั้งเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญและเงินทุน
เป้าหมายของโครงการ
- คัดพันธุ์หญ้าแฝกที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีระบบรากที่แข็งแรงหยั่งลึก ยึดอนุภาคดินได้มั่นคง หาอาหารได้ในทุกสภาวะ เจริญเติบโตได้ดีภายใต้การดูแลรักษาในระดับต่ำ มีใบที่แข็งแรงสมบูรณ์ใช้ประโยชน์ เช่น มุงหลังคาได้ เมล็ดไม่งอกเหมือนหญ้าที่เป็นวัชพืชบางชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ในระดับความสูงช่วงอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่ดอยตุง ทนสภาพน้ำขังไม่ไวแสง สามารถทนต่อสภาพร่มเงาได้บ้าง
- ศึกษาวิธีขยายพันธุ์อย่างไรเพศ (Asexual reproduction) เพื่อให้ได้กอหญ้าแฝกเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นสำหรับนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีปัญหา การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะเน้นความสะดวกและประหยัดเป็นสำคัญ
- ดำเนินการผลิตกอหญ้าแฝกให้ได้จำนวนมากพอ สำหรับนำไปปลูกตามบริเวณอ่างเก็บน้ำ รางระบายน้ำ และอื่นๆ ที่มีปัญหาดินเลื่อนไหลพังทลายของดิน หรือปลูกเป็นแถวกำกับแนวปลูกพืชและล้อมพืชยืนต้น เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ให้ได้ทั่วทั้งโครงการ
- ศึกษาวิจัยโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในธรรมชาติของหญ้าแฝก เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
- พัฒนาโครงการให้เป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- การปลูกหญ้าแฝกเป็นเขื่อนธรรมชาติ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย การกัดกร่อนผิวดิน การกัดเซาะดินให้เลื่อนไหล และเพื่อกรองตะกอนดินที่น้ำพามา ตลอดจนลดความเร็วของน้ำทำให้ดินดูดซับน้ำได้ดีขึ้น เป็นวิธีที่หลายประเทศนำมาใช้และได้ผลดี จึงควรนำมาใช้ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง หากประสบผลสำเร็จจะสามารถป้องกันการสูญเสียหน้าดินและน้ำที่ไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
- เมื่อความสูญเสียดังกล่าวยุติลง สภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันสมบูรณ์จะคืนกลับมาพร้อมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าต้นน้ำลำธาร ป่าเศรษฐกิจและพืชเศรษฐกิจ หรือพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาดอยตุง ที่สำคัญที่สุดเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงมีทั้งความห่วงใยในชีวิตของพสกนิกรและสิ่งแวดล้อม
- รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณจำนวนมหาศาล ในการแก้ไขป้องกันการเลื่อนไหลและพังทลายของดินจากการดำเนินการโดยวิธีทางวิศวกรรมลงได้ เนื่องจากการสร้างเขื่อนหญ้าแฝกมีค่าใช้จ่ายต่ำ กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมดั้งเดิม ไม่ต้องการค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงทัศนียภาพดังเช่นที่ต้องทำภายหลังกาแก้ปัญหาดินเลื่อนไหลโดยวิธีทางวิศวกรรมแล้ว
- เป็นรูปแบบในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่อื่นที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน