อหิวาตกโรค

 

พุทธศักราช ๒๕๑๐ โรคอหิวาตกโรคระบาด

พุทธศักราช ๒๕๐๑ - ๒๕๐๒ มีโรคระบาดในกรุงเทพฯ ทั้งฝั่งพระนครและธนบุรี และในอีกหลายจังหวัดด้วยกันนั่นคือ อหิวาตกโรค มีผู้ป่วยเสียชีวิตนับร้อยคนเนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกัน สภากาชาดไทยต้องระดมการผลิตวัคซีนอย่างเร่งด่วน แต่ก็ไม่พอเพียง เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งร่วมกับเงินบริจาคของประชาชนจัดตั้งเป็นกองทุนปราบอหิวาตกโรค ให้กองวิทยาศาสตร์สภากาชาดไทยจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้จากสหรัฐอเมริกาและดำเนินการผลิตวัคซีนจนเพียงพอต่อความต้องการรวมทั้งจัดหาน้ำเกลือเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยด้วย โดยพระราชทานเครื่องกลั่นน้ำเกลือชนิดไฟฟ้า เครื่องผสมอัตโนมัติ และเครื่องปรับอากาศในห้องผลิตน้ำเกลือกลั่น ทำให้สามารถผลิตน้ำเกลือกลั่นในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้ปลอดจากโรคระบาดที่เคยเป็นปัญหาน่าวิตกบางโรคอย่างหมดสิ้นไป นำมาซึ่งชีวิตใหม่แก่ประชาชนผู้เคยป่วยเป็นโรคเหล่านั้นรวมทั้งเป็นคุณูปการต่อทรัพยากรมนุษย์ของชาติในอนาคตที่ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเผชิญโรคที่ร้ายแรงนี้อีกต่อไป

เมื่อปี ๒๕๐๑ ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างรุนแรงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยเนื่องจากไม่มีวัคซีน ประการสำคัญคือขาดแคลน น้ำเกลือ เพราะน้ำเกลือที่ผลิตในประเทศยังไม่ได้มาตรฐาน ต้องสั่งเข้าจากต่างประเทศในราคาแพง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ศึกษาเส้นทางเกลือ เพื่อค้นคว้าวิธีผลิตน้ำเกลือที่มีคุณภาพสำหรับใช้ภายในประเทศขึ้น สั่งพระราชดำรัสความตอนหนึ่งหว่า

"...ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนของราษฎร โดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ถึงปัญหาและความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะต้องสำรวจ "เส้นทางเกลือ" ว่าผลิตมาจากแหล่งใด ก็น่าที่จะเอาไอโอดีนไปผสมกับแห่งผลิตต้นทางเกลือเสียเลยทีเดียว..."

เพื่อให้มีกองทุนสำหรับนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยอหิวาตกโรค ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดทำภาพยนต์ส่วนพระองค์ขึ้น สำหรับให้ประชาชนที่เข้าชมมีส่วนร่วมในการบริจาจทุนทรัพย์สมทบเป็นกองทุนจัดหาน้ำเกลือ โดยจัดตั้งเป็นทุนปราบอหิวาตกโรค ซึ่งต่อมากองทุนนี้ใช้ไปก่อสร้างอาคารทางการแพทย์ของโรงพยาบาลภูมิพล และการสร้างตึกวชิราลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อส่งเสริมพัฒนาทางการแพทย์และให้บริการรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ต่อไป


ดูเพิ่มเติม การแพทย์ / โรคเรื้อน