การศึกษา
พุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงตั้งทุนภูมิพล : การศึกษาเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติ
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีเป็นอเนกประการ ดังในปี พ.ศ.๒๔๙๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งทุนภูมิพล เพื่อพระราชทานทุนแก่นิสิต นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทรัพย์
"...ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ... ผลการศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติในวันข้างหน้า"
พุทธศักราช ๒๕๐๘ : ส่งเสริมการศึกษาต่อต่างประเทศ**
นักเรียนที่เรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นต้นมา
และได้ยุติไปเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พุทธศักราช ๒๕๐๙
พุทธศักราช ๒๕๑๘ "โครงการพระดาบส"
มิใช่เพียงการศึกษาในระบบโรงเรียนเท่านั้น ราษฎรที่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การสนับสนุนในลักษณะการจัดการศึกษานอกระบบด้วย โดยทรงริเริ่มโครงการพระดาบสขึ้น เมื่อ ปี ๒๕๑๘ โดยใช้วิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาแบบลูกศิษย์ของพระดาบส กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจศรัทธาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากนำเอาวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาการของพระดาบสมาประยุกต์ใช้ โดยจัดเป็นรูปการศึกษานอกระบบ นอกจากจะช่วยให้ผู้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ได้รับความรู้สำหรับนำไปประกอบอาชีพในโอกาสต่อไปแล้ว ยังช่วยให้ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมจรรยา มีน้ำใจซึ่งจะส่งผลช่วยในการแก้ปัญหาสังคมส่วนรวมได้ผลยิ่งขึ้น เป็นที่น่ายินดีที่โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากข้อมูลในรายงานประจำปี ๒๕๔๗ ระบุว่า เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๒ มีผู้เข้ารับการศึกษาเพียง ๔๐ คน แต่ในปีการศึกษา ๒๕๔๗ มีผู้เข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น ๑๓๕ คนโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นอีกโครงการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ใช้หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนในวิทยาการสาขาต่างๆ ของการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้วยทรงตระหนักว่าเด็กเป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า
พุทธศักราช ๒๕๓๘ โครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
ในพัฒนาการด้านการศึกษานั้นปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การขาดแคลนครูอาจารย์ที่สอนในระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเรียนการสอนอย่างมาก ดังนั้น จากการประสานงานของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ที่เสนอให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม โดยการถ่ายทอดการเรียนการสอนจากโรงเรียนไกลกังวัล อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับการตอบสนองตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ ธันาวคม ๒๕๓๘ ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี โดยมีการออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๘
ต่อมาได้มีการก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเมื่อปี ๒๕๓๙ มีนายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เป็นประธานกรรมการบริหาร ในการดำเนินงานนอกจากทางมูลนิธิฯ จะได้ถ่ายทอดหลักสูตรมัธยมศึกษาไปยังโรงเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนครูและได้ขยายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศแล้ว ยังได้ถ่ายทอดการศึกษาชุมชน ตามหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (ระยะสั้นและปกติจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) และรายการของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตไกลกังวล ตลอดจนรายการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อมูลอื่นด้านการศึกษา
- ในหลวงกับการศึกษาไทย-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- มูลนิธีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ