ทศวรรษที่4

ตราสัญลักษณ์80ปี.jpg


ทศวรรษที่๑
(พ.ศ.๒๔๗๐ - ๒๔๗๙)

ทศวรรษที่ ๒
(พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๘๙)

ทศวรรษที่ ๓
(พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๙)

ทศวรรษที่ ๔
(พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๙)

ทศวรรษที่ ๕
(พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๙)

ทศวรรษที่ ๖
(พ.ศ.๒๕๒๐ - ๒๕๒๙)

ทศวรรษที่ ๗
(พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๙)

ทศวรรษที่ ๘
(พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๕๐)

ทศวรรษที่ ๔ ทรงส่งเสริมการศึกษา และพัฒนางานส่วนพระองค์ (พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๙)


...การสร้างโรงนมผงในสวนจิตรลดาไม่ใช่สำหรับการค้า แต่สำหรับทดลองดูว่าการทำเช่นนี้จะได้ผลอย่างไร
และเก็บข้อมูลเอาไว้ ดังที่ได้ทำจนถึงบัดนี้ มิใช่ว่าจะทำโรงนมผงนี้เพื่อที่จะให้พอความต้องการในตลาด ซึ่งไม่มีทาง
จะให้เพียงพอได้ เพราะว่าโรงนมในสวนจิตรลดานี้มีความมุ่งหมายอย่างเดียว คือค้นคว้า ไม่ใช่การค้า...

พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการดำเนินงานสร้างโรงนมผง
ที่ตำบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันศุกร์ที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๓

ทรงมุ่งมั่นศึกษา : สร้างภูมิพลังเพื่อแผ่นดิน

โดยทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาของพระองค์จากสาขา
วิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม เป็นสาขาวิชาเกี่ยวกับ
การปกครอง เช่น กฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น


ในช่วงที่ทรงศึกษาอยู่ต่างประเทศได้ทรงมีโอกาสใช้ชีวิต
อย่างธรรมดา เรียบง่าย ใกล้ชิดกับสามัญชน และทรงศึกษา
เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในทุกระดับชั้น


ทรงทุ่มเททั้งพระวรกายและพระสติปัญญาในการศึกษา
อย่างเต็มพระกำลัง ทั้งนี้ ก็เพื่อทรงเตรียมพระองค์
ในการที่จะทรงเป็นประมุขของประเทศ

ทรงรับพระราชภารกิจและหน้าที่อันยิ่งใหญ่ :
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข
แห่งมหาชนชาวสยาม"

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธี
บรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี
ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาล
ทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย
จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

ในวันมหามงคลนั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้
พระราชทานปฐมบรมราชโองการแก่ประชาชนชาวไทยว่า

"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข
แห่งมหาชนชาวสยาม"




ข้อมูลจาก หนังสือ ประมวลภาพการทรงงาน "๘๐ พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์"

จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ