![](https://www.hii.or.th/wp-content/themes/hii2019/assets/images/bg-news-cercle.jpg)
ระบบสำรวจภูมิประเทศ Mobile Mapping System : MMS และระบบแสดงผลข้อมูลแผนที่ 3 มิติแบบออนไลน์
24/02/2022
จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ทำให้พบว่าข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน มีความละเอียดและทันสมัยไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. จึงพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่และผลิตแผนที่รายละเอียดสูง (MMS: Mobile Mapping System) เพื่อปรับปรุงข้อมูลภูมิประเทศให้มีความถูกต้องและทันสมัย เหมาะสมกับการใช้งานในทุกสถานการณ์
รถสำรวจระดับความสูงภูมิประเทศ (Mobile Mapping System : MMS)
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_44.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_26.jpg?ssl=1)
เป็นเทคโนโลยีสำรวจเพื่อจัดทำแบบจำลองภูมิประเทศ 3 มิติเสมือนจริงและผลิตแผนที่รายละเอียดถูกต้องสูงในเวลาอันรวดเร็วรองรับภารกิจทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตข้อมูลแบบจำลองยังสามารถตรวจวัดค่าพิกัดระยะทางความสูงและความจุได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นำไปใช้วางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2022/02/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_11.jpg?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2022/02/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_12.jpg?ssl=1)
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2022/02/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_9.jpg?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2022/02/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_13.jpg?ssl=1)
ข้อมูลจากระบบ
1.ภาพถ่าย 360 องศา สภาพพื้นที่เป็นภาพถ่ายความละเอียดสูงที่
ได้จากกล้อง Ladybug
2.Point cloud เป็นข้อมูลจุดสำรวจภูมิประเทศ 3 มิติ ในรูปแบบ las ไฟล์
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2022/02/Picture1.png?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Screen-Shot-2565-01-24-at-18.24.36.png?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/1645525963728@2x-scaled.jpg?ssl=1)
ค่าความถูกต้องทำการ Calibrate ให้ค่าความถูกต้องสูงที่ ±3 เซนติเมตร
เรือสำรวจอัตโนมัติตรวจวัดแบบหลายความถี่ (Seafloor Echoboat Unmanned Surface Vessel : USV)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_21.jpg?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_23.jpg?ssl=1)
เรือสำรวจอัตโนมัติตรวจวัดแบบหลายความถี่ เพื่อสำรวจภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่และผลิตแผนที่รายละเอียดสูงทางน้ำ (Seafloor Echoboat Unmanned Surface Vessel : USV)
สสน. ได้มีการพัฒนาระบบสำรวจภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่ประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาระบบเรือสำรวจทางน้ำแบบอัตโนมัติ มีน้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และให้ผลสำรวจที่มีค่าความถูกต้องแม่นยำ
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Picture1.png?ssl=1)
รวมถึงสามารถบูรณาการข้อมูลโดยนำเทคโนโลยีการแสดงผลแบบ 3 มิติ มาผนวกร่วมกับข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับได้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของประเทศไทย
ขั้นตอนการสำรวจ
1.เตรียมระบบ
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
- เชื่อมต่อระบบการทำงาน
- ขนย้ายอุปกรณ์ ใช้เจ้าหน้าที่ 3-4 คน
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/1-scaled.jpg?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/2-2-scaled.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/3-1-scaled.jpg?ssl=1)
2.สำรวจเก็บค่าระดับความลึก
ติดตั้งกล้องหน้าเรือ เพื่อติดตามและตรวจสอบพื้นที่สำรวจ โดยมีการแสดงผลข้อมูลสำรวจแบบ Real Time
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/5-2.png?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/6-2.png?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/4-1-scaled.jpg?ssl=1)
3.เก็บข้อมูลค่าน้ำเบื้องต้น
- ระบบชักหย่อน มีมิเตอร์วัดระยะความลึก ตามความยาวของเชือก
- ระยะลึกสุด 30 เมตร
- ความคุมความเร็วในการหย่อนได้
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/7-1-scaled.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/8-e1645593425518.png?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/9-1.jpg?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/10-1-scaled.jpg?ssl=1)
4.ประมวลผล
ประมวลผลข้อมูลโดยใช้
• ข้อมูลสำรวจ
• ข้อมูลค่าน้ำเบื้องต้น
• Geoid model
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/12-1.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/13-1.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/11-1.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-1-2.png?ssl=1)
ตัวอย่างการสำรวจ แม่น้ำเจ้าพระยา (ช่วงสถานีสูบน้ำดิบสำแล)
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/1.png?ssl=1)
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/2.jpg?ssl=1)
อากาศยานไร้คนขับ(Unmanned Aerial Vehicle : UAV)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_62.jpg?ssl=1)
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_16.jpg?ssl=1)
ใช้ในการสำรวจระยะไกล เพื่อสนับสนุนภารกิจในการสำรวจพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงและมีพื้นที่เตรียมการจำกัด เพื่อสร้างข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายและข้อมูลแผนที่สามมิติ
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/5.png?ssl=1)
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/6.png?ssl=1)
อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงแนวดิ่ง รุ่น Nimbus VTOL V2
– ติดตั้งกล้อง Map-A7R Full-Frame Mapping Camera with 35mm Lens
– อุปกรณ์บันทึกข้อมูลดาวเทียม GNSS เพื่อการประมวลผลแบบ Post-Processing Kinematic (PPK) รุ่น AsteRx-m2 UAS-Accurate GPS-GNSS Receiver พร้อมเสารับสัญญาณ D-Helix HX-CHX600A Antenna
ข้อแตกต่างของการใช้งาน
อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงแนวดิ่งทั้งสองแบบแตกต่างกันในเรื่องของความครอบคลุมพื้นที่การทำงานที่ Nimbus VTOL V2 จะสามารถทำงานในพื้นที่กว้างกว่าต่อการบินหนึ่งครั้ง
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_61.jpg?ssl=1)
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/LINE_ALBUM_64-12-23-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%92_15.jpg?ssl=1)
ความแม่นยำและความถูกต้อง
แผนการบินที่เหมาะสมแนะนำระดับความสูงบินที่ 400 เมตร ระยะทางบินไม่เกิน 20 กิโลเมตร หรือครอบคลุมพื้นที่ 1.5 ตารางกิโลเมตร โดยมี side lap 60%
![](https://i0.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Picture1-1.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Picture2.png?ssl=1)
ความคลาดเคลื่อนด้วยการประมวลผลวิธี Post-Processing Kinematic (PPK) โดยมีการวางจุดบังคับภาพ (GCPs) 5 จุดบริเวณมุมและกลางพื้นที่ และจุดตรวจสอบ (CPs) เพื่อตรวจสอบ 10 จุดกระจายทั่วทั้งพื้นที่โดยประมาณดังนี้
– X = ±15 cm – Y = ± 15 cm – Z = ± 30 cm
ขั้นตอนการดำเนินงาน
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Picture11.png?ssl=1)
แผนที่ความละเอียดถูกต้องสูงและแบบจำลองภูมิประเทศ 3 มิติ
![](https://i1.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Pi2ture1-Copy.jpg?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Picture21-Copy.png?ssl=1)
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/Pictur5e1-Copy.jpg?ssl=1)
ภาพถ่ายทางอากาศพร้อมด้วยค่าพิกัดจากอากาศยานไร้คนขับถูกนำไปประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ภาพถ่ายหรือภาพ Orthophoto ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการทำแผนที่ และยังมีข้อมูลสามมิติ หรือ point cloud และ ข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลข (Digital Surface Model : DSM) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำข้อมูลภูมิประเทศสามมิติ และสามารถนำไปประกอบกับข้อมูลจากอุปกรณ์ รถสำรวจ และเรือสำรวจ เพื่อพัฒนาต่อยอดในการใช้งานได้มากขึ้น
ระบบแสดงผลข้อมูลแผนที่ 3 มิติ
![](https://www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/865222-1024x482.jpg)
ระบบแสดงแผนที่ 3 มิติความละเอียดสูงในรูปแบบแผนที่พอยต์คลาวด์ (Point Cloud Map) ที่ สสน. พัฒนาขึ้น สามารถเข้าถึงแผนที่ 3 มิติได้ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต https://portal-mms.hii.or.th/ โดยการใช้เว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับการแสดงผลกราฟิก 3 มิติผ่าน เทคโนโลยี WebGL – เช่น Google Chrome, Firefox หรือ Microsoft Edge แผนที่ความละเอียดสูง
![](https://i2.wp.com/www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/1645526111041@2x-scaled.jpg?ssl=1)
จากระบบนี้สามารถนําไปใช้ในการแสดงรูปแบบเรขาคณิตของพื้นที่ที่มีการสํารวจและเพื่อวัด ระยะทางระหว่างตำแหน่งบนแผนที่แต่ละจุด ผู้ใช้งานสามารถดูค่าพิกัด, ความสูง, วัดระยะระหว่าง 2 จุด, วัดพื้นที่, วัดมุม, วัดความกว้างของถนน วัดความสูงของวัตถุหรืออาคาร และสามารถสร้าง profile ของถนน และพื้นที่สํารวจได้ มีความถูกต้องทางตำแหน่งเฉลี่ยดีกว่า ± 7 เซนติเมตร ในทุกสภาพภูมิประเทศ
![](https://www.hii.or.th/wp-content/uploads/2022/02/hiib-1024x576.jpg)