![](https://www.hii.or.th/wp-content/themes/hii2019/assets/images/bg-news-cercle.jpg)
ระบบคาดการณ์และเตือนภัย ล่วงหน้าบริเวณอ่าวไทย
15/11/2019
![](https://www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/forecasting-01-1024x487.jpg)
ระบบคาดการณ์และเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณอ่าวไทยระบบ ประกอบด้วย
- แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ (Delft3D FM)
- แบบจำลองคลื่น (SWAN)
![](https://www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/forecasting-icon-04.jpg)
แบบจำลองทั้งหมดถูกควบคุมด้วย Flood Early Warning System (FEWS) ซึ่งช่วยในการเตรียม ข้อมูลนำเข้าสำหรับแบบจำลองและจัดการผลลัพธ์ จากแบบจำลองเพื่อการแสดงผล ระบบแสดงผลการคาดการณ์ล่วงหน้า 3 วัน ของระดับน้ำสุทธิซึ่งเป็นผลรวมของ น้ำขึ้นน้ำลง ระดับน้ำคลื่นซัดฝั่ง และระดับน้ำจากคลื่นยกตัว
เหตุการณ์พายุปาบึก Topical Storm Pabuk
![](https://www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/forecasting-02.jpg)
![](https://www.hii.or.th/wp-content/uploads/2019/11/forecasting-03-863x1024.jpg)
การคาดการณ์คลื่นพายุซัดฝั่งในเหตุการณ์พายุ ปาบึกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 พบว่าระดับน้ำเพิ่มสูงจากการเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง 1.5 – 2.5 เมตร ทั่วบริเวณอ่าวไทย ผลการคาดการณ์ได้รายงานไปยังกรมป้องกันภัย และบรรเทาสาธารณะภัย และได้นำข้อมูลไปใช้สำหรับการเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง มีการอพยพคนออกจากพื้นที่และเตรียมพร้อมรับมือสำหรับการเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ส่งผลให้สามารถลดการเสียชีวิตและทรัพสินของประชาชนได้
การทวนสอบแบบจำลองหลังจากเหตุการณ์พายุปาบึกโดยเปรียบเทียบผลคาดการณ์กับระดับน้ำจากการตรวจวัด พบว่าผลการคาดการณ์จากแบบจำลองมีความแม่นยำมากกว่า 60% แสดงให้เห็นว่าผลการคาดการณ์มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในสภาวะฉุกเฉินได้