ระบบโทรมาตรคืออะไร

02/10/2019

ระบบโทรมาตร คือ อุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดค่าทางฟิสิกส์ เคมี หรือ ชีวภาพ แล้วส่งค่าที่วัดได้ไปยังที่ที่กําหนดไว้ได้เอง ในเงื่อนไขต่างๆ ที่กําหนดไว้ ค่าหรือข้อมูลที่ตรวจวัดอาจจะเป็นข้อมูลระดับเสียง อุณหภูมิ ความชื้น ค่าความเป็นกรด ด่าง หรือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือ แม้กระทั่งภาพถ่าย หรือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากตัวระบบโทรมาตรเอง เช่น สถานะการทํางาน เป็นต้น

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. พัฒนาระบบโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลระยะไกล ซึ่งมีขนาดเล็กและติดตั้งง่าย สามารถวัดระดับน้ำ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ความเข้มแสง ความเร็วลม เชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติผ่านระบบรับส่งข้อมูลของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication System) สามารถแสดงผลข้อมูลในรูปของภูมิศาสตร์สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet GIS) ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaiwater.net โดยสถานีโทรมาตรของ สสนก. ที่ติดตั้งแล้วทั่วประเทศกว่า 700 สถานี ช่วยให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการน้ำและภัยภิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถานีโทรมาตรอัตโนมัติรูปแบบต่างๆ ของ สสนก.

โทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ
แบบเสาสูง 9 เมตร
โทรมาตรตรวจวัดระดับน้ำอัตโนมัติ
แบบยึดเกาะราวสะพาน
โทรมาตรตรวจวัดคุณภาพน้ำ (ความเค็ม)
แบบเสาสูง 2 เมตร
ตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเข้มแสง
ความกดอากาศ) ตรวจวัดปริมาณน้ำฝน ตรวจวัดความเร็วและทิศทางลม ติดตั้งภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง เหมาะสำหรับพื้นที่ต้นน้ำ เช่น
ในป่าหรือเขาสูง ข้อมูลการตรวจวัดรายงานทุก 1 ชั่วโมง
หรือ 10 นาที กรณีฝนตก
ตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเข้มแสง
ความกดอากาศ) ตรวจวัดปริมาณน้ำฝน ตรวจวัดความระดับน้ำแบบเรดาร์ (Radar) ติดตั้งภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง หัววัดระดับน้ำแบบเรดาร์ติดตั้ง
โดยอุปกรณ์ไม่ต้องสัมผัสหรือจุ่มลงในน้ำ ข้อมูลการตรวจวัดรายงาน ทุก 10 นาที
ตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเข้มแสง
ความกดอากาศ) ตรวจวัดปริมาณน้ำฝน ตรวจวัดคุณภาพน้ำ (ความเค็ม) ติดตั้งภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง หัววัดคุณภาพน้ำวันความเค็มได้ถึง 60 ppt (g/l) ข้อมูลการตรวจวัดรายงาน ทุก 10 นาที

อุปกรณ์โทรมาตร

จุดเด่นของระบบโทรมาตรอัตโนมัติ

สสนก. พัฒนาระบบโทรมาตรอัตโนมัติมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2547 ทั้งด้านการพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจวัด แหล่งพลังงาน รวมไปถึงการสื่อสารและระบบควบคุม ทำให้ระบบโทรมาตรอัตโนมัติในปัจจุบันมี ระบบสื่อสารซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานแบบ Real-time ผ่านชุดรับ-ส่งสัญญาณอัตโนมัติ (GPRS Modem) และพัฒนาการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบเครือข่ายจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมีคุณภาพสูงขึ้น และครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น จนสามารถพัฒนารูปแบบโครงสร้างของสถานีให้มีขนาดเล็กลง จากเดิมสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติต้องใช้ความสูง 9.0 เมตร เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ขยายสัญญาณ สามารถปรับลดโครงสร้างสถานีให้เหลือความสูงเพียง 2.0 เมตร ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดขนาดของสถานี และลดต้นทุนในการติดตั้งสถานีแล้ว โครงสร้างขนาดเล็กยังสามารถติดตั้งง่าย ใช้เวลาในการติดตั้งเพียง 1 ชั่วโมง สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยที่ประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของการตรวจวัดข้อมูลไม่ได้ลดลงไปจากเดิม อีกทั้งยังเน้นความเป็น “โทรมาตรขนาดเล็ก ราคาถูก เคลื่อนย้ายง่าย” นอกจากนี้ยังสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย

งานอื่นๆ