พระราชบันทึก THE RAINMAKING STORY

(เปลี่ยนทางจาก Rainmaking story)


พระราชบันทึก THE RAINMAKING STORY


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ในปี พ.ศ. 2543 สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้รับพระราชทานพระราชบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง "THE RAINMAKING STORY" ซึ่งบอกเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ที่มาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ทรงบันทึกโดยคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง พระราชทานผ่านกองงานส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2543

ต้นฉบับภาษาอังกฤษแผ่นที่1 ต้นฉบับภาษาอังกฤษแผ่นที่2 ต้นฉบับภาษาอังกฤษแผ่นที่3

(คลิ้กเพื่อดูภาพขยาย)



คำแปลเป็นภาษาไทย


ลำดับที่ : to be given Dkt No. Royal001-2000.us หน้า 10 ของ...

ชื่อเรื่อง : การดัดแปรสภาพอากาศสำหรับการทำฝน

ชื่อผู้ประดิษฐ์คิดค้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โทรสารหมายเลข...


CAT PROCESS แห่นางแมว แมวเกลียดน้ำ FROG กบเรียกฝน ท่านต้องจูบกบจำนวนมากก่อนที่ท่านจะพบเจ้าชายหนึ่งคน PLANES เครื่องบินทำฝน นักบินและนักทำฝนต้องร่วมมือกัน ROCKETS บ้องไฟแทนเครื่องบิน ระบบที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นระบบหนึ่ง 2-20 พฤศจิกายน 1955 (2498) : เยี่ยมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (15 จังหวัด) วันจันทร์ , พฤศจิกายน 14 , 1955 (2498) : รถยนต์จากจวนผู้ว่าราชการจังหวัด , จังหวัดนครพนม , ผ่านอำเภอกุสุมาล (Kusumal) , จังหวัดสกลนคร , เทือกเขาภูพาน , อาหารกลางวันที่ๆ พักริมทางผาเสวย (Pa Swoei) แยกสหัสขันธ์-กุชินารายณ์ (อำเภอสมเด็จ) : เยี่ยมราษฎร (จนค่ำ) , บูชาหลักเมืองกาฬสินธุ์ , อำเภอยางตลาด , ผ่านอำเภอกันทรวิชัย , มาถึงจวนผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม , การเลี้ยงอาหารค่ำ , การแสดงพื้นเมือง ๙๘(55) พ.ย., ๑๔/ว/จวน ผ.ว.จ. นครพนม , รถยนต์ผ่าน อ.กุสุมาล จ.สกลนคร , เขาภูพาน , พาเสวยอาหารกลางวัน , แยกสหัสขันธ์ - กุชินารายณ์ (อำเภอสมเด็จ) เยี่ยมราษฎร , ศาลากลาง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ผู้ว่า ราชการจังหวัดนายเชวง ชัยสุด) เยี่ยมราษฎร (จนมืด) , บูชาหลักเมืองกาฬสินธุ์ , อำเภอยางตลาด , อำเภอ กันทรวิชัย , จวนผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม , การเลี้ยง การแสดง รูป 19102-8 --อัลบั้ม 1955-30


จากวันที่ 2 ถึง 20 พฤศจิกายน 1955 (2498) เราได้เยี่ยมเยียน 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เราเดินทางโดยรถยนต์ (เดลาเฮย์ ซีดาน สีเขียว) จากนครพนมไปกาฬสินธุ์ , ผ่านสกลนคร และเทือกเขาภูพาน เราหยุดโดยไม่มีหมายกำหนดการ เมื่อเราพบราษฎรกลุ่มเล็กๆ : ชายคนหนึ่งพูดว่า พวกเขาได้เดินมา 20 กิโลเมตร จากกุชินารายณ์ เพียงเพื่อมาดูเราขับรถผ่านไป เมื่อรู้ว่าเรากำลังจะไปกาฬสินธุ์ , ซึ่งเป็นระยะทางอีกไกลที่จะต้องไป , เขาได้บอกให้เราเดินทางต่อไปแม้ว่าเขาอยากจะให้เราพักอยู่ เขากล่าวว่าพวกเรายังต้องไปอีกไกล ดังนั้น เขาจึงได้ให้อาหารห่อเล็กๆ แก่ข้าพเจ้า เมื่อเขาเห็นข้าพเจ้ามองอย่างห่วงใย , เขาจึงยืนยันกับข้าพเจ้าว่า เขายังมีอีกห่อหนึ่งสำหรับตัวเขาเอง นี่เป็นการต้อนรับด้วยความจริงใจที่แท้จริง ครั้งต่อไปเราได้หยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยกกุชินารายณ์ และสหัสขันธ์ ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้ สอบถามราษฎร เกี่ยวกับผลิตผลข้าว ข้าพเจ้าคิดว่าความแห้งแล้ง ต้องทำลายผลิตผลของพวกเขา แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจ เมื่อราษฎรเหล่านั้น กลับรายงานว่า พวกเขาเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม สำหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้นมองดูคล้ายทะเลทรายซึ่งมีฝุ่นดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้วพวกเขามีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก

จากนั้นเป็นต้นมา,ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตกและขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว เมื่อเวลามีน้ำ , น้ำก็มากเกินไป , ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำลดก็แห้งแล้ง เมื่อฝนตก , น้ำท่วมบ่าลงมาจากภูเขาเพราะไม่มีสิ่งใดหยุดน้ำเอาไว้ วิธีแก้คือต้องสร้างเขื่อนเล็กๆ (Check dams) จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่างๆ จะช่วยให้กระแสน้ำค่อยๆ ไหลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเล็กๆ จำนวนมาก สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ ในฤดูฝนน้ำที่ถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเหล่านั้น และนำมาจัดสรรน้ำให้ในฤดูแล้ง ยังคงมีอีกปัญหาหนึ่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้า และเห็นว่ามีเมฆจำนวน , แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร จึงจะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม ซึ่งประสบความสำเร็จ ในอีก 2 - 3 ปี ต่อมาในภายหลัง

เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าได้เรียกหม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกร และนักประดิษฐ์ควายเหล็ก ที่มีชื่อเสียงมาพบ เขาให้สัญญากับข้าพเจ้าว่าเขาจะศึกษาปัญหาดังกล่าว สองปีต่อมาเขากลับมาพร้อมความคิดเริ่มแรก

หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัว และรวมตัวเป็นเมฆ การทดลองครั้งแรกๆ ยังไม่สามารถสรุปผลได้มากนัก ไม่มีฝนตก แต่เมฆก่อตัวในท้องฟ้าโปร่ง แต่น้ำแข็งแห้งที่ใช้ไม่เพียงพอ เมฆจึงสลายตัวกลับคืนสู่ท้องฟ้าใส เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำแข็งแห้งมากขึ้น เมฆ "ระเบิด" และถูกทำลาย แม้จะเพิ่มน้ำทะเลก็ช่วยไม่ได้ จึงต้องกลับมาวางแผนกันใหม่

หลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง  : ฝนเกิดขึ้นจากความชื้น และอุณหภูมิ ปัจจัยอื่น คือ ความเร็ว และทิศทางลม ต้องศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเมฆ (Cloud Physics)ให้มากขึ้น แต่หลักการ และองค์ประกอบพื้นฐานยังอยู่ตรงนั้น เกลือทะเลเป็นสูตรแรก , น้ำทะเลเป็นสูตรที่สอง , น้ำแข็งแห้งเป็นสูตรที่สาม

สูตร 1 และสูตร 3 ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน สูตร 2 ไม่ใช้ต่อไป สูตรอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น คือ สูตร 4 ยูเรีย (สูตรเย็นปานกลาง) , สูตร 6 แคลเซี่ยมคลอไรด์ (ร้อน) , สูตร 9 แคลเซียมคาร์ไบด์ (ร้อนมาก) สูตรหลังนี้ขณะนี้เลิกใช้แล้ว เพราะค่อนข้างอันตราย

แคลเซียมคลอไรด์ ถูกใช้ครั้งแรกใกล้กับบรบือ , มหาสารคาม ที่นั่นข้าพเจ้าคาดว่า หลังจากการก่อเมฆ ด้วยสูตร 1 (เกลือทะเล) ถ้าสูตร 6 (แคลเซียมคลอไรด์) ถูกใส่เข้าไปในเมฆ , เมฆนั้นจะก่อยอดถึงระดับที่สูงขึ้น ,คล้ายรูปดอกเห็ดของระเบิดปรมาณู ผลที่ได้คือ ฝนตกวัดได้ 40 ม.ม. แม้ว่าเมฆไม่ได้ก่อยอดสูงขึ้นในรูปดอกเห็ด แต่ก่อยอดสูงขึ้นคล้ายต้นคริสมาส

กิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคนิคการทำฝน เช่น , การทำลายเมฆสำหรับสนามบิน ซึ่งกลายมาเป็น การศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้แคลเซียมคลอไรด์และน้ำแข็งแห้ง ครั้งแรกที่ถูกใช้ เมื่อข้าพเจ้าเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไปอำเภอบ้านโป่ง เพื่อพิธีการทางศาสนา ในการเดินทางกลับ เมฆหนาทึบจำนวนมากมีท่าทีว่า จะคุกคามและขัดขวางการบินของเรา ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ จึงบินด้วยเครื่องบินปีก นำหน้าเส้นทางบินของเรา , โปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทางจนถึงพระตำหนักจิตรลดาพระราชวังดุสิต ผลก็คือ เมฆเหล่านั้นแยกออกเป็นเส้นทางโล่ง ทั้งสองด้านของเมฆแยกออกมองดูคล้ายกำแพงยักษ์สองข้าง เมื่อเรามาถึงตำหนักจิตรลดา กำแพงทั้งสองเริ่มปิดเข้าหากัน และมีกระแสลมแรง ทำให้เฮลิคอปเตอร์เกือบบินกลับฐานที่ตั้งไม่ได้ และไม่ช้าก็เกิดฝนตกหนักมาก ดังนั้น แม้ว่าประสบการณ์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จในการทำลายเมฆ , แต่ขณะเดียวกัน , เป็นความสำเร็จ ในการปฏิบัติการทำฝนด้วย.

สำนักฝนหลวง.jpg
ข้อมูลจาก สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ห้ามนำข้อมูลของเว็บไซต์นี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร