ภาพพระราชกรณียกิจชุดที่ 3
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:54, 8 ตุลาคม 2552 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม)
ทรงธำรงมรดกไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี
ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
ทั้งทรงสนับสนุนกิจกรรมด้านการศาสนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อธำรงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
จากเหตุการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำให้องค์พระธาตุพนม พุทธศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครพนม อายุ ๒,๐๐๐ ปี ทรุดตัวพังทลายลงทั้งองค์ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ รัฐบาลและประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุให้สง่างามดังเดิม เมื่อแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธียกฉัตรยอดองค์พระธาตุพนมในวันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ และได้เสด็จพระราชดำเนินไป ในพระราชพิธีเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุในองค์พระธาตุพนม เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ปีเดียวกัน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม | |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพระราชพิธีสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีคณะกรรมการปาลิวิโสธกะ ๓ คณะ ตรวจชำระพระไตรปิฎกทั้งภาษามคธและภาษาไทย ณ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จนแล้วเสร็จและทำพิธีส่งมอบ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๐ | |
พระราชพิธีอันเนื่องด้วยพระบรมศพและพระบรมอัฐิ หลังจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง | |
ในวันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง หลังจากนั้น ในวันที่ ๒๓ เมษายน ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐาน ณ พระวิมานชั้นบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรมราชสรีรางคาร อัญเชิญไปบรรจุ ณ ท้ายจรนำ ด้านหลังพระอุโบสถวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ปีเดียวกัน |
ดูเพิ่มเติม | บันทึกเหตุการณ์ตามปี_พ.ศ. |
---|