ส-เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ ๑

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:10, 5 ตุลาคม 2552 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: <div id="bg_g1t"> </div> <div id="bg_g1"> <h3>เปิดสัมพันธ์ใหม่และสานสัมพันธ์ต่อเน...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
 

เปิดสัมพันธ์ใหม่และสานสัมพันธ์ต่อเนื่อง: พุทธศักราช ๒๕๐๕ - ๒๕๑๐

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อต้นพุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเพื่อทรงเจริญทางพระราชไมตรีเพิ่มขึ้นอีกกับนานาประเทศในหลายทวีปในวาระโอกาสสำคัญ เช่น การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น รวมทั้งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับบางประเทศที่เคยมีมาตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งในพุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สหพันธรัฐมาลายา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย พุทธศักราช ๒๕๐๗ เสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่น ไต้หวัน สาธารณรัฐออสเตรีย พุทธศักราช ๒๕๑๐ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สาธารณรัฐออสเตรีย กรีซ (สาธารณรัฐเฮลเลนิก) สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ตาราง จำนวนประเทศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือน จำแนกตามทวีป พุทธศักราช ๒๕๐๒ - ๒๕๑๐

ทวีป จำนวน (ประเทศ)
รวม
เอเชีย
โอเชียเนีย
ยุโรป
แอฟริกา
อเมริกาเหนือ
อเมริกาใต้
๒๘


๑๔


หมายเหตุ: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหรัฐอเมริกาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศละ ๒ ครั้ง ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ

051009-การต่างประเทศ-03.jpg
ในช่วงทศวรรษแห่งการเสด็จพระราชดำเนินอย่างเป็นทางการไปทรงเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ทรงนำไมตรีจิตจากพสกนิกรชาวไทยไปมอบให้แก่ประชากรของประเทศเหล่านั้น ยังผลให้ความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านั้นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่มีพระประมุขและประมุขของหลายประเทศได้เสด็จพระราชดำเนินและเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะในระยะต่อมา อันเป็นผลให้การดำเนินงานตามนโยบายต่างประเทศและการดำเนินงานทางการทูตสะดวกราบรื่นขึ้น อาทิ การจัดตั้งเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ และการที่รัฐบาลและเอกชนต่างประเทศให้ความช่วยเหลือสนับสนุนประเทศไทยในเวลาต่อมา

หลังจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการดังกล่าวนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในทำนองนี้มาก่อนแล้วเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ ๒๕๐๑ และ ๒๕๐๒ พร้อมๆ กับทรงเลือกสรรพวิทยาการที่ก้าวหน้าแขนงต่างๆ ที่ได้จาก การเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรในต่างประเทศมาผสมผสานกับการศึกษาค้นคว้าทดลองด้วยพระองค์เองและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทรงริเริ่มจัดตั้งโครงการส่วนพระองค์ในสวนจิตรลดาเพื่อศึกษา ค้นคว้า และทดลอง หาแนวทางบรรเทาความทุกข์ยากให้แก่ราษฎร จนเมื่อได้ผลดีแล้วจึงทรงขยายออกเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนมากมาย เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาชนบทอันจะสร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่ราษฎรเป็นสำคัญ