(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ผู้ทรงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักพัฒนาบนพื้นฐานของความยั่งยืน แนวทางการพัฒนาประเทศของพระองค์ เริ่มจากพื้นฐานลำดับแรกคือ เพื่อปากท้องของประชาชน ต่อมาคือเพื่อความมั่นคงของสังคม และสุดท้ายคือ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงมีแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่า ดิน น้ำ โดยทรงมุ่งรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อให้ “คน” และ “ธรรมชาติ” อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยและเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อย่างยั่งยืน
สนพระราชหฤทัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่ทรงพระเยาว์
ความสนพระราชหฤทัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีขึ้นตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์ ขณะทรงศึกษา ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเรียนรู้ถึงหลักความสัมพันธ์ของธรรมชาติและ
ความสมดุลของระบบนิเวศ หากขาดสิ่งใดไปก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมา ดังพระราชดำรัสที่ว่า
“...จำได้ว่าเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่งซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดิน แล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่าไม้อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็วทำให้ไหลตามน้ำไปไปทำให้เสียหาย ดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมดไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้เกิดน้ำท่วม นี่น่ะ เรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ...”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณะกรรมการสโมสรไลออนส์สากล ภาค ๓๑๐ (ประเทศไทยและประเทศลาว) ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๒๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นในแนวพระราชดำริการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ธำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทรงใช้หลักการพลิกฟื้นคืนชีวิตด้วยวิถีแห่งธรรมชาติผสมผสานกับ
หลักวิชาการตามแนววิทยาศาสตร์ เพื่อให้จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดังประสงค์
หมวดหมู่ย่อย
หมวดหมู่นี้มีหมวดหมู่ย่อยเดียวต่อไปนี้
หน้าในหมวดหมู่ "ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"
3 หน้าต่อไปนี้อยู่ในหมวดหมู่นี้ จากทั้งหมด 3 หน้า