การคมนาคม
เนื้อหา
พุทธศักราช ๒๔๙๕ ถนนพระราชดำริสายแรก
หากมองย้อนกลับไปในช่วงต้นรัชกาล เราจะเห็นภาพเส้นทางเกวียนจำนวนเส้นทางระหว่างเมืองและชุมชนก็มีน้อยหรือถนนที่มีฝุ่นฟุ้งตลบ ทางที่คดเคี้ยวเป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องใช้เวลานานในการเดินทาง ทำให้ประชาชนในชนบทติดต่อชุมชนเมืองอย่างยากลำบาก อีกทั้งบริการของรัฐก็เข้าไปไม่ถึง ได้พระราชทานพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟก็เช่นเดียวกัน แม้จะขึ้นอยู่กับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอยู่ห่างไกลความเจริญไม่ถึง ๒๐ กิโลเมตร แต่ก็ยังไม่มีถนนจากหมู่บ้านสู่ตลาดหัวหิน ประชาชนได้รับความลำบากในการเดินทางติดต่อกับภายนอกอย่างมาก
เช้าวันหนึ่ง รถยนต์พระที่นั่งบุกเข้าไปถึง "บ้านห้วยมงคล" แล้วไปตกติดหล่ม ลุงรวย งามขำ เกษตรกรพร้อมเพื่อนบ้านได้เข้ามาช่วยเหลือโดยไม่ทราบว่าเจ้าของรถที่ขับมาติดหล่มอยู่นั้นเป็นใคร ภายหลังเมื่อเจ้าของรถลงมา จึงนึกได้ถึงคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านว่า "พระเจ้าอยู่หัว" กับ "สมเด็จพระราชินี" จะเสด็จพระราชดำเนินมาที่หัวหิน
ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ได้รับสั่งถามถึงปัญหาของหมู่บ้าน และทรงทราบว่าสิ่งที่ชาวบ้านห้วยมงคลต้องการมากที่สุดคือ "ถนน" ดังนั้นต่อมาอีกไม่นาน โครงการพระราชดำริเพื่อก่อสร้าง "ถนนห้วยมงคล" จึงได้เกิดขึ้น นับเป็นถนนพระราชดำริสายแรกที่ทอดไปสู่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั่วประเทศ
พุทธศักราช ๒๕๑๔ การแก้ปัญหาคมนาคมในมหานคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริด้านการแก้ปัญหาการจราจรเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ โดยในครั้งนั้น มีรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการสร้างถนนวงแหวนขึ้นแทนการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ที่รัฐบาลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง เนื่องในโอกาสที่ทรงครองราชย์ครบ ๒๕ ปี
เกี่ยวกับปัญหาเสร้างทางจราจร ในกรุงเทพฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาว่าประเด็นหนึ่งเกิดจากการที่กรุงเทพฯ มิได้มีแผนผังเมืองที่จริงจัง ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๗ ความตอนหนึ่งว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องเผชิญอยู่กับปัญหาการจราจรทุกวันได้เป็นอย่างดี ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่เอกอัครราชทูตและกงศุลใหญ่ที่ประจำการในต่างประเทศ เนื่องในโอกาสเข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๘ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความตอนหนึ่งว่า
การที่ทรงทราบว่าการจราจรในกรุงเทพมหานครคับคั่งนั้น ทรงอธิบายว่า
พระราชดำริ...เชื่อมต่อถนน
หลังจากทรงศึกษาปัญหาการจราจรในกรุงเทพอย่างต่อเนื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งนำไปสู่การก่อสร้างถนน และปรับปรุงเส้นทางสัญจรหลายสาย ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก โครงการถนนเลียบทางรถไฟสายใต้จากสถานีบางกอกน้อยถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายผิวจราจรถนนราชดำเนินหน้ากรมประชาสัมพันธ์ โครงการขยายสะพานผ่านฟ้าลีสาศ โครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนิน โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างสะพานพระราม ๙กับถนนเทียมร่วมมิตร โครงการก่อสร้างถนนสายที่ ๑ เชื่อระหว่างถนนพระราม ๙ กับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างถนนพระราม ๙ กับถนนประชาอุทิศ โครงการก่อสร้างสพะพานคนเดินข้ามถนนรัชดาภิเษก โครงการทางยกระดับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โครงการสะพานพระราม ๘ หนึ่งในโครงการจตุรทิศ โครงการพัฒนาอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อเพิ่มพื้นที่การจรจร โครงการก่อสร้างถนนเลียบบึงมักกะสัน จากถนนศรีอยุธยาถึงอโศกดินแดง และโครงการขยายถนนศรีอยุธยาข้างสวนจิตรลดา
โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายผิวจราจร ถนนราชดำเนิน บริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ โครงการขยายสะพานผ่านฟ้าลีสาศ โครงการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก
ทางเชื่อมจตุรทิศ
ก่อนเกิดการคมนาคมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีจะได้รับความสะดวกดังปัจจุบัน ฝั่งธนบรีมีถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อสายเดียวที่เป็นถนนสายหลักเชื่อกรุงเทพฯมหานครฝั่งตะวันตกเข้ากับฝั่งตะวันออก คือ เชื่อมต่อระหว่างสะพานกรุงเทพกับสะพานพระราม ๗ ถนนจรัญสนิทวงศ์จึงเป็นเส้นคมนาคมสู่ย่านชุมชนสำคัญหลายจุด ได้แก่ ท่าพระ บางขุนนนท์และบางพลัด รวมทั้งได้ใช้เป็นเเส้นทางไปสู่ถนนเพชรเกษมหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๕ ซึ่งเป็นเส้นทางสู่จังหวัดในภาคตะวันตกและภาคใต ได้แก่นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ ด้วยระยะต่อมา แม้ว่ารัฐจะเพิ่มเส้นทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ สายธนบุรี-ปากท่อ อันเป็นเส้นทางหลักไปจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ แล้ว แต่ปริมาณการจราจรก็ยังคงหนาแน่นไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความคับคั่งบนถนนเพชรเกษม และถนนธนบุรี-ปากท่อ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อโครงข่ายถนนในเมืองด้วย
ระบบการจัดการการจราจรของโครงการจตุรทิศแนวตะวันออก-ตะวันตก จึงเป็นการเตรียมเส้นทางจราจรรองรับการขยายตัวของประชากร ประกอบด้วย ถนนยกระดับเชื่อมต่อโครงการคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีที่แยกอรุณอัมรินทร์ ผ่านบางยี่ขัน แล้วสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามแนวถนนวิสุทธิกษัตริย์ คือ สะพานพระราม ๘ เพื่อเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริด้านฝั่งพระนคร ได้แก่ถนนเลียบบึงมักกะสัน ซึ่งลัดผ่านถนนอโศก-ดินแดงไปยังถนนพระราม ๙ กับถนนเทียนร่วมมิตร ผ่ายแยกประชาอุทิศไปด้านหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเชื่อมกับถนนศรีนครินทร์เข้าสู่ถนนกรุงเทพกรีฑา
ดังนั้นเมื่อมีการสร้างทางยกระดับทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีและสะพานพระราม ๘ เส้นทางทั้งสองนี้จึงช่วยบรรเทาการจราจรติดขัดลงได้ ทำให้ชาวกรุงเทพมหานครสามารถสัญจรข้ามจากฝั่งพระนคร มายังฝั่งธนบุรีได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัส ถึงความเป็นมาเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ณ พระตำหนักจิตรลดรโหฐาน ความว่า
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตอุตสาหกรรมของจังหวัดสมุทรปราการอีกแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ สะพาน ที่ปลายถนนปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง โดยเมื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้วจะบรรจบกับถนนพระราม ๓ ซึ่งจะช่วยระบายปริมาณรถที่มาจากถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ย่านสีลม และสาทรได้มากขึ้น
มิใช่เพียงการสร้างถนนระบายผิวการจราจรเท่านั้น หากแต่ยังทรงมองไปยังบุคลากรผู้มีหน้าที่จัดการด้านการจราจรด้วย โดยเฉพาะพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๔ ล้านบาท และในส่วนของสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนีอีก ๔ ล้านบาท ให้แก่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อสิงหาคม ๒๕๓๖ เพื่อนำไปซื้อจักรยานยนต์สำหรับใช้ปฏิบัติหน้าที่และอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จำนวน ๑๐๐ คัน พร้อมทั้งได้พระราชทานเงินอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้ในการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จำนวน ๑๕๐ นาย ที่จัดตั้งเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในจุดต่างๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์จราจรติดขัดขึ้น รวมทั้งใช้เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าน้ำมันรถจักรยานยนต์ที่ใช้ปฏิบัติงาน
จากพระราชดำริที่พระราชทานการแก้ปัญหาด้านการจราจรในกรุงเทพมหานครทำให้ชาวกรุงเทพมหานคร ได้มีถนนรัชดาภิเษกที่เป็นถนนวงแหวนเชื่อมการจราจรฝั่งกรุงเทพเข้ากับฝั่งธนบุรี ซึ่งแก้ปัญหาการจราจรติดขัดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่วนหนึ่ง
**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ