ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธมามกะ"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 32: | แถว 32: | ||
เรื่องที่สำคัญที่สุดในการคุ้มครองพระพุทธศาสนาให้พ้นภัยและทำนุบำรุงให้เข้มแข็ง คือ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหลักชัยในการอุปถัมภ์เผยแพร่ศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงอุปถัมภ์[[การสังคายนาพระไตรปิฎก]] ด้วยเป็นเครื่องมือประกาศถึงความเป็นศูนย์กลางของความมั่นคงทางพุทธศาสนาของไทยที่สำคัญยิ่ง | เรื่องที่สำคัญที่สุดในการคุ้มครองพระพุทธศาสนาให้พ้นภัยและทำนุบำรุงให้เข้มแข็ง คือ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหลักชัยในการอุปถัมภ์เผยแพร่ศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงอุปถัมภ์[[การสังคายนาพระไตรปิฎก]] ด้วยเป็นเครื่องมือประกาศถึงความเป็นศูนย์กลางของความมั่นคงทางพุทธศาสนาของไทยที่สำคัญยิ่ง | ||
+ | |||
+ | '''พุทธศาสนา: ประโยชน์เพื่อการศึกษา''' | ||
+ | |||
+ | ในการสร้างจิตสำนึกในเรื่องพุทธศาสนา จำเป็นยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อปลูกต้นไม้แห่งธรรมให้สามารถหยั่งรากลึกลงในใจของผู้คนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์หนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก เพื่อให้เยาวชนได้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา แจกจ่ายในงานพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี และ | ||
+ | ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้าอนาถาขึ้นในวัด และอาราธนาพระสงฆ์มาเป็นครูอบรมศีลธรรมแก่เด็กและช่วยสอนวิชาสามัญที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ด้วยการ | ||
+ | พระราชทานทุนทรัพย์สร้างอาคารเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนวัดสันติการามและโรงเรียนวัดป่าไก่ จังหวัดราชบุรี และโรงเรียนนันทบุรีวิทยา จังหวัดน่าน เป็นต้น | ||
</div> | </div> | ||
+ | |||
+ | {{ดูเพิ่มเติม|[[การสังคายนาพระไตรปิฎก]]}} | ||
+ | |||
+ | |||
[[หมวดหมู่:ในฐานะพระมหากษัตริย์]] | [[หมวดหมู่:ในฐานะพระมหากษัตริย์]] | ||
</div> | </div> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:42, 5 ตุลาคม 2552
พุทธมามกะ: ข้าแห่งพระพุทธศาสนา
ตลอดเวลากว่า ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระองค์เป็นพุทธมามกะอย่างเคร่งครัด ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้การเกื้อกูลแก่นานาศาสนาที่ประชาชนชาวไทยนับถือและศรัทธามาโดยตลอด
การบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาในฐานะพุทธมามกะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างถึงพร้อมด้วยพระราชฐานะของพุทธมามกะหลายประการ อาทิ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ทั้งพระกฐินหลวง พระกฐิน หลวงพระราชทาน พระกฐินต้น ซึ่งทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ด้วยมีพระราชประสงค์จะทรงอนุเคราะห์พระภิกษุให้ได้รับประโยชน์ในทางพระวินัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รื้อฟื้นพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารคขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ
ทรงอุปถัมภ์คณะสงฆ์ให้มั่นคง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมภ์คณะสงฆ์ด้วยการส่งเสริมและเอาพระราชหฤทัยใส่พระภิกษุผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ไม่ว่าจะเป็นการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช การสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรวมถึงการพระราชทานสมณศักดิ์และพัดยศตามระเบียบแบบแผน และประเพณีในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่พระสงฆ์ที่ได้ประกอบคุณความดีเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา หรือการพระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์การอุปสมบทนาคหลวงเพื่อเพิ่มจำนวนพระภิกษุ อันให้เป็นกำลังค้ำจุนรากฐานแห่งพระพุทธศาสนาให้มั่นคงเข้มแข็ง
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในพระราชหฤทัยดีว่า พระพุทธศาสนาจะแข็งแกร่งและก้าวไกลได้ ก็ต่อเมื่อมีการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าให้ขจรขจายออกไปสู่ทุกดินแดน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งเปรียญ โดยทรงอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้จัดการศึกษาถึงระดับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ จัดการศึกษาถึงระดับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต รวมถึงได้มีการตราพระราชบัญญัติ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พุทธศักราช ๒๕๒๗ บัญญัติให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาเปรียญธรรมเก้าประโยค (ป.ธ.๙) ศาสนศาสตรบัณฑิตและพุทธศาสตรบัณฑิตมีวิทยฐานะเทียบเท่าชั้นปริญญาตรี
ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
เรื่องที่สำคัญที่สุดในการคุ้มครองพระพุทธศาสนาให้พ้นภัยและทำนุบำรุงให้เข้มแข็ง คือ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหลักชัยในการอุปถัมภ์เผยแพร่ศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎก ด้วยเป็นเครื่องมือประกาศถึงความเป็นศูนย์กลางของความมั่นคงทางพุทธศาสนาของไทยที่สำคัญยิ่ง
พุทธศาสนา: ประโยชน์เพื่อการศึกษา
ในการสร้างจิตสำนึกในเรื่องพุทธศาสนา จำเป็นยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อปลูกต้นไม้แห่งธรรมให้สามารถหยั่งรากลึกลงในใจของผู้คนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์หนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก เพื่อให้เยาวชนได้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา แจกจ่ายในงานพระราชพิธี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้าอนาถาขึ้นในวัด และอาราธนาพระสงฆ์มาเป็นครูอบรมศีลธรรมแก่เด็กและช่วยสอนวิชาสามัญที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ด้วยการ พระราชทานทุนทรัพย์สร้างอาคารเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนวัดสันติการามและโรงเรียนวัดป่าไก่ จังหวัดราชบุรี และโรงเรียนนันทบุรีวิทยา จังหวัดน่าน เป็นต้น
ดูเพิ่มเติม | การสังคายนาพระไตรปิฎก |
---|