ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค-โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา"

แถว 17: แถว 17:
 
'''พันธุ์พืชพระราชทาน'''
 
'''พันธุ์พืชพระราชทาน'''
 
<div class="kindent">พุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรต้นยางนาขนาดใหญ่เรียงรายอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน มีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนานี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากราษฎรจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน นำไปสู่พระราชดำริทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลและนำไปปลูกในบริเวณแปลงทดลองในสวนจิตรลดาจำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ และทรงให้นำพันธุ์ไม้นานาชนิดจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา อันเป็นแนวทางหนึ่งของพระราชดำริฟื้นฟูแหล่งน้ำของประเทศ ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ประสานกับกรมทางหลวงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการอนุรักษ์ต้นยางนาที่พระองค์มีพระราชดำริไว้บริเวณถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ช่วงอำเภอท่ายาง - อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นต้นยางนาอายุประมาณ ๒๐๐ ปี</div>
 
<div class="kindent">พุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรต้นยางนาขนาดใหญ่เรียงรายอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน มีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนานี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากราษฎรจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน นำไปสู่พระราชดำริทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลและนำไปปลูกในบริเวณแปลงทดลองในสวนจิตรลดาจำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ และทรงให้นำพันธุ์ไม้นานาชนิดจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา อันเป็นแนวทางหนึ่งของพระราชดำริฟื้นฟูแหล่งน้ำของประเทศ ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ประสานกับกรมทางหลวงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการอนุรักษ์ต้นยางนาที่พระองค์มีพระราชดำริไว้บริเวณถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ช่วงอำเภอท่ายาง - อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นต้นยางนาอายุประมาณ ๒๐๐ ปี</div>
</div></div>
+
 
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่:โครงการ]]
+
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่:โครงการ]]</div>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:03, 29 กันยายน 2552

 
จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประจักษ์ชัดถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร ทรงมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเกษตรของไทยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้ง ”โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา” ขึ้นโดยทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้องตรงจุดด้วยพระองค์เองเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร พระมหากรุณาธิคุณแก่เกษตรกรทั้งหลายเหล่านี้ในเวลาต่อมาได้ขยายเป็นโครงการหลวงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ทวีมากขึ้นตามกาลเวลา และล้วนแต่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ

พันธุ์ปลาพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษา ทดลองเพื่อพัฒนาแหล่งอาหารปลาในชนบทตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เริ่มจากโครงการประมงพระราชทานในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมประมงใช้บ่อน้ำในบริเวณสวนจิตรลดาเป็นที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาพระราชทานแก่ประชาชน ทั้งปลาพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็วและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศเพื่อทดแทนกับปลาน้ำจืดตามธรรมชาติที่นับวันมีแต่จะลดลง

ปลาหมอเทศ

เป็นพันธุ์ปลาที่กรมประมงได้มาจากกรมประมงเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานลูกปลาหมอเทศที่ทรงเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ไว้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ปลาหมอเทศจึงเป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยในยุคหนึ่งว่าเป็นปลาพันธุ์พระราชทาน พุทธศักราช ๒๕๐๘ เจ้าฟ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายลูกปลาตระกูลเดียวกับปลาหมอเทศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำนวน ๕๐ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลี้ยงในบ่อปลาภายในสวนจิตรลดา โดยเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็วเช่นเดียวกับปลาหมอเทศได้พระราชทานนามว่า “ปลานิล” ปีถัดมาได้พระราชทานพันธุ์ปลานิลจำนวน ๑๐,๐๐๐ ตัว แก่กรมประมงให้นำไปแจกจ่ายตามสถานีประมงจังหวัดต่างๆ เพื่อนำไปเลี้ยงและแจกจ่ายแก่ประชาชน

คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติคราวละจำนวนมากๆ ทั้งปลานิลและปลาน้ำจืดอื่นๆ เพี่อให้เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมูลค่า เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนทั่วไป สมดังพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนได้มีอาหารโปรตีนบริโภคกันอย่างทั่วถึง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพประมงของประชาชนอย่างมหาศาลในปัจจุบัน

พันธุ์พืชพระราชทาน

พุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรต้นยางนาขนาดใหญ่เรียงรายอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน มีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนานี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากราษฎรจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน นำไปสู่พระราชดำริทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลและนำไปปลูกในบริเวณแปลงทดลองในสวนจิตรลดาจำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ และทรงให้นำพันธุ์ไม้นานาชนิดจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา อันเป็นแนวทางหนึ่งของพระราชดำริฟื้นฟูแหล่งน้ำของประเทศ ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ประสานกับกรมทางหลวงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการอนุรักษ์ต้นยางนาที่พระองค์มีพระราชดำริไว้บริเวณถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ช่วงอำเภอท่ายาง - อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นต้นยางนาอายุประมาณ ๒๐๐ ปี