ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำปุ๋ยหมักจากขยะโดยการฝังกลบในกล่องคอนกรีต"

แถว 27: แถว 27:
  
 
==='''ลักษณะการหมักทำปุ๋ยจากขยะในกล่องและบ่อคอนกรีต โดยการฝังกลบประยุกต์'''===
 
==='''ลักษณะการหมักทำปุ๋ยจากขยะในกล่องและบ่อคอนกรีต โดยการฝังกลบประยุกต์'''===
<div class="kindetn">จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาของโครงการฯ ได้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีการทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตหรือการฝังกลบประยุกต์ เป็น 2 รูปแบบ คือ
+
<div class="kindent">จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาของโครงการฯ ได้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีการทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตหรือการฝังกลบประยุกต์ เป็น 2 รูปแบบ คือ
  
 
1) การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้กล่องคอนกรีต
 
1) การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้กล่องคอนกรีต
 +
 
2) การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้บ่อคอนกรีตชนิดกลม
 
2) การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้บ่อคอนกรีตชนิดกลม
  
แต่ละรูปแบบอาศัยหลักการธรรมชาติช่วยธรรมชาติเหมือนกัน และเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนและตามครัวเรือน ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีการบรรจุขยะลงกล่องหรือบ่อคอนกรีตในการหมักที่ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่ขั้นตอนในช่วงขณะการหมักเท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดและรูปแบบของกล่องและบ่อคอนกรีตตามภาพที่ 1 และภาพที่ 2</div>
+
แต่ละรูปแบบอาศัยหลักการธรรมชาติช่วยธรรมชาติเหมือนกัน และเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนและตามครัวเรือน ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีการบรรจุขยะลงกล่องหรือบ่อคอนกรีตในการหมักที่ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่ขั้นตอนในช่วงขณะการหมักเท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดและรูปแบบของกล่องและบ่อคอนกรีตตามภาพที่ 1 และภาพที่ 2
 +
</div>
  
 
<center>
 
<center>
แถว 93: แถว 95:
  
 
<div class="kindent">สำหรับขยะมูลฝอยที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำขยะมาหมักทำปุ๋ยก็คือ ขยะเน่าเสียง่ายนั่นเอง การเตรียมขยะในการหมักถ้าสามารถทำการบดย่อยมูลฝอยเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงจะเป็นการเสริมสร้างให้กระบวนการหมักได้ผลดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น</div>
 
<div class="kindent">สำหรับขยะมูลฝอยที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำขยะมาหมักทำปุ๋ยก็คือ ขยะเน่าเสียง่ายนั่นเอง การเตรียมขยะในการหมักถ้าสามารถทำการบดย่อยมูลฝอยเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงจะเป็นการเสริมสร้างให้กระบวนการหมักได้ผลดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น</div>
 +
 +
 +
==='''หลักในการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องหรือบ่อคอนกรีตแบบฝังกลบประยุกต์'''===
 +
<div class="kindent">1) การบรรจุขยะใส่กล่องหรือบ่อคอนกรีตเป็นชั้นๆ </div>
 +
<center>
 +
 +
[[ภาพ:หลักการในการหมักปุ๋ย1.jpg]]
 +
 +
 +
ลักษณะการใส่ขยะและดินแดงหรือดินธรรมดาในการทำปุ๋ยหมักในกล่องคอนกรีตแบบชุมชน เพื่อการหมักทำปุ๋ยจากขยะแบบฝังกลบประยุกต์
 +
 +
 +
 +
[[ภาพ:หลักการในการหมักปุ๋ย2.jpg]]
 +
 +
 +
ลักษณะการใส่ขยะและดินแดงหรือดินธรรมดาในการทำปุ๋ยหมักในบ่อคอนกรีตแบบครัวเรือน เพื่อการหมักทำปุ๋ยจากขยะแบบฝังกลบประยุกต์
 +
</center>
 +
 +
<div class="kindent">2) ใช้ดินแดง หรือดินธรรมดา (ถ้าในพื้นที่ไม่มีดินแดง เพราะดินแดงจะให้ประสิทธิภาพเป็นตัวช่วยในกระบวนการหมักที่ดีกว่าดินธรรมดา) ใส่ทับหน้าชั้นขยะโดยเกลี่ยให้คลุมทั่วพื้นที่ผิวของกล่องคอนกรีต และทำการอัดขยะในกล่องหมักให้แน่นขึ้นเล็กน้อย หรือใช้แรงงานคนย่ำ
 +
 +
3) รดน้ำเพิ่มความชื้น โดยการรดน้ำทุก 7 วัน จนกระทั่งครบกำหนด 90 วัน
 +
 +
4) ทิ้งไว้โดยไม่ต้องกลับกองขยะเป็นระยะเวลา 90 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักจากขยะ
 +
 +
5) บ่มขยะเพื่อให้ปุ๋ยที่ได้จากการหมัก (ปล่อยให้แห้ง) 15 วัน มีความชื้นลดลง
 +
</div>
  
  
 
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]
 
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:09, 11 สิงหาคม 2551

คู่มือ

เทคโนโลยีการกำจัดขยะตามแนวพระราชดำริ

การทำปุ๋ยหมักจากขยะโดยการฝังกลบในกล่องคอนกรีต


ปก-วิธีฝังกลบ.jpg


การกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยีการหมักทำปุ๋ยโดยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตแบบฝังกลบประยุกต์


หลัการแหละเหุตผล

ปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอยเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการการแก้ไขอย่างเหมาะสม เนื่องจากปริมาณขยะที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งขยะมูลฝอยที่เกิดจากแหล่งที่พักอาศัย อุตสาหกรรม สถานประกอบการ โรงพยาบาล และอื่นๆ อีกมากมาย ขยะเหล่านี้มีทั้งส่วนที่ย่อยสลายได้ง่าย ย่อยสลายยาก ขยะที่มีสารพิษเป็นอันตราย และขยะที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ด้วย ซึ่งขยะบางส่วนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และไม่สามารถนำมาใช้ได้ ขยะแต่ละชนิดแต่ละประเภทต้องได้รับการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม ประมาณครึ่งหนึ่งของขยะที่เกิดจากชุมชนเป็นขยะอินทรีย์ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก อันได้แก่ พวกเศษอาหาร เศษใบไม้ เป็นต้น ขยะเหล่านี้จะเน่าเสียได้ง่าย (ย่อยสลายง่าย) เพราะมีจุลินทรีย์ต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทั้งยังมีน้ำและความชื้นของขยะสูงเป็นตัวช่วยเร่งในการย่อยสลายที่ดี และจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ตามธรรมชาตินี้เอง จึงเป็นสิ่งที่นำมาสู่เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่เหมาะสม การใช้วิธีการฝังกลบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมักประสบกับปัญหาเรื่องพื้นที่ที่ใช้ในการกลบ กลิ่นเหม็นจากกองขยะ น้ำชะขยะ การยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนยากแก่การนำขยะที่ฝังกลบแล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมากจากรพระราชดำริ จึงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการขยะชุมชนด้วยการทำปุ๋ยหมักโดยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตเปิดฝาแบบฝังกลบประยุกต์ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสามารถกระทำได้ในพื้นที่และชุมชนขนาดเล็กได้ ลดภาระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการด้านขยะ และนำขยะมูลฝอยชุมชนมาหมักทำปุ๋ยนำมาใช้ประโยชน์ภายในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยให้กับหน่วยงาน และประชาชนผู้สนใจนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างแพร่หลาย
  2. เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอยชุมชนด้วยเทคโนโลยีการหมักทำปุ๋ยแบบฝังกลบประยุกต์
  3. เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำไปปฏิบัติ ประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายในการนำไปใช้ประโยชน์
ลักษณะของบ่อเทียบ.jpg

ลักษณะการหมักทำปุ๋ยจากขยะในกล่องและบ่อคอนกรีต โดยการฝังกลบประยุกต์

จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาของโครงการฯ ได้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีการทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตหรือการฝังกลบประยุกต์ เป็น 2 รูปแบบ คือ

1) การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้กล่องคอนกรีต

2) การหมักปุ๋ย โดยวิธีการฝังกลบประยุกต์ด้วยการใช้บ่อคอนกรีตชนิดกลม

แต่ละรูปแบบอาศัยหลักการธรรมชาติช่วยธรรมชาติเหมือนกัน และเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนและตามครัวเรือน ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีการบรรจุขยะลงกล่องหรือบ่อคอนกรีตในการหมักที่ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่ขั้นตอนในช่วงขณะการหมักเท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดและรูปแบบของกล่องและบ่อคอนกรีตตามภาพที่ 1 และภาพที่ 2

ลักษณะของบ่อ1.jpg

ภาพที่ 1 ลักษณะของกล่องคอนกรีตที่ใช้ในการฝังกลบประยุกต์เพื่อทำปุ๋ยหมักจากขยะสำหรับชุมชน

ลักษณะของบ่อ2.jpg

ภาพที่ 2 ลักษณะของบ่อคอนกรีตที่ใช้ในการฝังกลบประยุกต์เพื่อทำปุ๋ยหมักจากขยะแบบปิดฝา

จำนวนกล่องหรือบ่อคอนกรีตเท่าไรจึงจะพอในการหมัก

การกำหนดจำนวนของกล่องหรือบ่อคอนกรีตที่จะนำมาใช้ในการหมักปุ๋ยจากขยะนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนคน เพราะถ้าจำนวนคนมาก ขยะแต่ละวันก็จะมาก คนน้อยขยะแต่ละวันก็จะน้อย โดยทั่วไปคนในเขตชุมชนจะทิ้งขยะประมาณ 1 กินโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งจะเป็นขยะที่ย่อยสลายง่าย ดังนั้นจึงมีขยะที่นำไปใช้หมักได้เพียง 0.5 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน กล่องหรือบ่อคอนกรีตที่ใช้ในการหมักสามารถรองรับขยะได้ดังนี้ คือ

1) กล่องคอนกรีต ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะได้สูงสุดเท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2,000 กิโลกรัม

2) บ่อคอนกรีต ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 1.5 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะได้สูงสุด 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 300 กิโลกรัม</dvi>


จะต้องเตรียมการอย่างไร

1) ต้องเลือกและเตรียมพื้นที่

การเลือกพื้นที่ที่จะใช้ในการตั้งกล่องหรือบ่อคอนกรีตเพื่อทำปุ๋ยหมักจากขยะด้วยการฝังกลบประยุกต์ จึงสมควรเลือกหรือหาพื้นที่ที่จะไม่ให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็น และการซึมของน้ำชะขยะ ควรเลือกดังนี้คือ

(1) ควรให้อยู่ห่างจากชุมชนพอสมควร แต่ต้องไม่มากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความลำบากและยุ่งยากในการขนย้ายขยะ ไม่ควรเกินกว่า 500 เมตร

(2) ควรเลือกพื้นที่ที่มีทิศทางลมพัดผ่านชุมชนน้อยที่สุด และควรปลูกต้นไม้ล้อมรอบพื้นที่ดำเนินการ

(3) ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หนองและบึง

(4) มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจำนวนของกล่องหรือบ่อคอนกรีตที่ต้องใช้


2) วัสดุอุปกรณ์

(1) กล่องคอนกรีตขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร หรือบ่อคอนกรีตชนิดกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 1.5 เมตร

(2) ขยะสดที่ผ่านการคัดแยกแล้ว

(3) ดินแดง หรือดินธรรมดาทั่วไป (ย่อยให้มีขนาดเล็ก)

(4) ทรายละเอียด

(5) ถ่านไม้

(6) น้ำ บัวรดน้ำ

(7) รองเท้ายางทรงสูง (คลุมถึงส่วนหน้าแข้ง)


3) การแยกและเตรียมขยะมูลฝอย

ก่อนถึงขั้นตอนการนำขยะมาหมักทำปุ๋ยนั้น จะต้องทำการแยกและเตรียมขยะมูลฝอยชุมชนที่รวบรวมมาทั้งหมด โดยการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ออกไปก่อน ซึ่งจะแบ่งขยะเหล่านั้นออกเป็น 3 พวก และรวบรวมเป็น 3 ถังขยะด้วยกันคือ

การแยกและเตรียมขยะ.jpg
สำหรับขยะมูลฝอยที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำขยะมาหมักทำปุ๋ยก็คือ ขยะเน่าเสียง่ายนั่นเอง การเตรียมขยะในการหมักถ้าสามารถทำการบดย่อยมูลฝอยเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงจะเป็นการเสริมสร้างให้กระบวนการหมักได้ผลดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น


หลักในการหมักปุ๋ยจากขยะในกล่องหรือบ่อคอนกรีตแบบฝังกลบประยุกต์

1) การบรรจุขยะใส่กล่องหรือบ่อคอนกรีตเป็นชั้นๆ

หลักการในการหมักปุ๋ย1.jpg


ลักษณะการใส่ขยะและดินแดงหรือดินธรรมดาในการทำปุ๋ยหมักในกล่องคอนกรีตแบบชุมชน เพื่อการหมักทำปุ๋ยจากขยะแบบฝังกลบประยุกต์


หลักการในการหมักปุ๋ย2.jpg


ลักษณะการใส่ขยะและดินแดงหรือดินธรรมดาในการทำปุ๋ยหมักในบ่อคอนกรีตแบบครัวเรือน เพื่อการหมักทำปุ๋ยจากขยะแบบฝังกลบประยุกต์

2) ใช้ดินแดง หรือดินธรรมดา (ถ้าในพื้นที่ไม่มีดินแดง เพราะดินแดงจะให้ประสิทธิภาพเป็นตัวช่วยในกระบวนการหมักที่ดีกว่าดินธรรมดา) ใส่ทับหน้าชั้นขยะโดยเกลี่ยให้คลุมทั่วพื้นที่ผิวของกล่องคอนกรีต และทำการอัดขยะในกล่องหมักให้แน่นขึ้นเล็กน้อย หรือใช้แรงงานคนย่ำ

3) รดน้ำเพิ่มความชื้น โดยการรดน้ำทุก 7 วัน จนกระทั่งครบกำหนด 90 วัน

4) ทิ้งไว้โดยไม่ต้องกลับกองขยะเป็นระยะเวลา 90 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักจากขยะ

5) บ่มขยะเพื่อให้ปุ๋ยที่ได้จากการหมัก (ปล่อยให้แห้ง) 15 วัน มีความชื้นลดลง