ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศ-เศรษฐกิจพอเพียง-ทางเลือกในการพัฒนา"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (→3. ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 150: | แถว 150: | ||
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย | 4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย | ||
</div> | </div> | ||
+ | |||
+ | |||
+ | =='''4. เศรษฐกิจพอเพียงกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ'''== | ||
+ | <div class="kindent">จากหลักการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งให้ความสำคัญกับการ “พึ่งพาตนเอง” ในระดับครอบครัวและในระดับชุมชนเป็นลำดับแรกก่อน เมื่อเกิดความมั่นคง และเข้มแข็งแล้วจึงขยายไปสู่ภายนอก โดยเน้นรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนสภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชนนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยรวม ดังจะเห็นได้ว่ารูปแบบการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ นั้น ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน กล่าวคือการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยึดถือหลักสำคัญในการพัฒนาคือ “การพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามลำดับความจำเป็น” “เรียบง่ายและประหยัด” เป็นไปตาม “ภูมิศาสตร์” และ “ภูมิสังคม” หรือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสังคมวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึง “การส่งเสริมความรู้และเทคนิคทางวิชาการที่เหมาะสม” ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างกรณีของ “[[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]]” ที่ได้น้อมนำเอาหลักการดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด | ||
+ | |||
+ | เนื่องด้วยทรงตระหนักดีว่า ราษฎรในชนบทส่วนใหญ่ขาดความรู้ ขาดเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในเรื่องการทำมาหากิน ประกอบกับภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากปัญหาเฉพาะที่แตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น การสร้าง “ตัวอย่างความสำเร็จ” ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยทางกายภาพของแต่ละพื้นที่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะส่งเสริมให้ราษฎรศึกษา และนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาการเกษตรของตนเอง โดยการดำเนินงานของศูนย์ฯ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ ด้วยการจำลองสภาพโดยรวมทางกายภาพของภูมิภาค ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ฯ ว่า</div> | ||
+ | |||
+ | <div class="kgreen">“…วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาก็คือ การพัฒนาที่ทำกินของราษฎรให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการพัฒนาที่ดิน พัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนฟื้นฟูป่าและ ใช้หลักวิชาการเกษตรในการวางแผนการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ โดยใช้เงินจากการบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นทุนในการพัฒนา ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จะเป็นฟาร์มตัวอย่างที่เกษตรกรทั่วไปและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนา สามารถเยี่ยมชม ชมการสาธิตเกี่ยวกับการเกษตรกรรมเพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ บริเวณโครงการให้มีความเจริญขึ้น เมื่อราษฎรเริ่มมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็อาจพิจารณาจัดตั้งโรงสีข้าวสำหรับหมู่บ้านแต่ละกลุ่ม ตลอดจนจัดตั้งธนาคารข้าวของแต่ละหมู่บ้านเพื่อฝึกให้รู้จักพึ่งตนเองได้ในที่สุด…”</div> | ||
+ | |||
+ | <div class="kindent">โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แห่งแรกคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 จนถึงปัจจุบันมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้งสิ้น 6 แห่ง คือ | ||
+ | |||
+ | 1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
+ | 2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
+ | 3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
+ | 4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
+ | 5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
+ | 6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||
+ | </div> | ||
+ | |||
+ | '''* ลักษณะสำคัญของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ''' | ||
+ | '''1. “ตัวอย่างความสำเร็จ”''' | ||
+ | |||
+ | “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ นี้มีหลักอยู่ว่า ทำไปแล้วถ้าได้ผลดีก็จดเอาไว้กลายเป็นตำราซึ่งเป็นหลักของตำราทั้งหลายที่ต้องมาจากประสบการณ์ อันนี้เป็นประโยชน์ของศูนย์ศึกษาการ | ||
+ | พัฒนาฯ อย่างหนึ่งที่ว่า ไม่ใช่สถานทดลอง แต่ว่าเป็นการทดลองแบบที่เรียกกันเอง หรือแบบไม่เป็นทางการ” | ||
+ | |||
+ | ในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเป็นการดำเนินงานที่มุ่งศึกษา ทดลองหาแนวทางในการพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ด้วยวิธีการที่เรียบง่าย และแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม | ||
+ | และประหยัด สำหรับผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็น “ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ” ที่เกษตรกรและประชาชนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ส่วนผลการทดลองที่ไม่ประสบผล | ||
+ | สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ในแง่ที่เป็นข้อพึงระวังสำหรับการนำไปใช้ในการปฏิบัติหรือปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางอื่นที่เหมาะสมต่อไป ตามที่ได้มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า | ||
+ | |||
+ | <div class="kgreen">“…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ นี้ ถ้าทำอะไรล้มเหลวไม่ถือว่าเป็นสิ่งต้องลงโทษ แต่ว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ทำอย่างนั้นไม่เกิดผลหรือจะเป็นผลเสียหายก็เป็นได้ เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว | ||
+ | อาจจะทำต่อก็ได้ เป็นการแสดงว่าทำอย่างนี้ไม่ถูก ก็เป็นตำราเหมือนกัน ทำอะไรไม่ถูกให้รู้ว่าไม่ถูก…"</div> | ||
+ | |||
+ | '''2. “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”''' | ||
+ | การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นการจำลองเอาสภาพทางกายภาพ อันได้แก่ ภูมิศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ รวมไปถึงสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อศึกษาทำความเข้าใจจาก | ||
+ | สภาพความเป็นจริง เพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและสังคมของภูมิภาคนั้น ตลอดจนภูมิปัญญาพื้นบ้านต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานของศูนย์มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เสมือนเป็น | ||
+ | พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต | ||
+ | |||
+ | '''3. “ระบบบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว”''' | ||
+ | เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนและความยุ่งยากในการติดต่อกับหน่วยราชการ โดยให้ประชาชนสามารถรับบริการต่าง ๆ ทางการเกษตรของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้ในที่เดียว หรือที่เรียกว่า “One | ||
+ | Stop Service” เนื่องจากภายในศูนย์ฯ ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่จากกรมชลประทาน กรมที่ดิน กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ ความตอนหนึ่งว่า | ||
+ | |||
+ | <div class="kgreen">“…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นศูนย์ศึกษาที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกอง ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความ | ||
+ | ว่า ประชาชนซึ่งจะต้องการสิ่งทั้งหลาย ก็สามารถจะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะได้รับความอนุเคราะห์แก่ประชาชนก็มาอยู่พร้อมในที่เดียวกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายความถึงว่า สำคัญปลายทางคือ | ||
+ | ประชาชนจะได้รับประโยชน์…”</div> | ||
+ | |||
+ | '''4. “รูปแบบใหม่ของการบริหารจัดการ”''' | ||
+ | เนื่องจากโครงการพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น น้ำ ที่ดินทำกิน พันธุ์พืช ปศุสัตว์ การประมง ตลอดจนกระทั่งการตลาด ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องมี | ||
+ | ลักษณะเป็น “องค์รวม” ซึ่งการประสานในระบบราชการแบบเดิมไม่สามารถเอื้อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการได้ ดังนั้น การดำเนินงานของศูนย์ฯ จึงเป็นการรวมเอาเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ของ | ||
+ | ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลมาทำงานร่วมกัน โดยมีสำนักงาน กปร. และสำนักเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการทำงานตามแนวราบ ที่ยึด | ||
+ | ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง | ||
+ | |||
+ | |||
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:47, 13 พฤษภาคม 2551
สิงหาคม 2547
เนื้อหา
ความนำ : ทิศทางการพัฒนาประเทศก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ในการเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไทยได้เปิดประเทศไปสู่ระบบการค้าเสรีและกลไกของตลาดโลกมีการเคลื่อนย้ายทุนเข้า-ออกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งในรูปแบบของการลงทุนระยะยาว เช่น การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ และการลงทุนระยะสั้น เช่น การลงทุนในตลาดหุ้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และเปลี่ยนมือในระยะสั้นโดยปั่นราคาให้สูงขึ้นเพื่อทำกำไร ในขณะเดียวกันการบังคับใช้กฎระเบียบทางการเงิน การคลังของประเทศก็ผ่อนคลายลงไปมาก เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน โดยในช่วงเวลาปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 นี้เองที่เป็นช่วง เศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นเต็มรูปแบบ
ในช่วงปี 2539 ประเทศไทยประสบปัญหาการส่งออกชะลอตัว ส่งผลให้มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในเวลาต่อมา จนเกิดสภาพฟองสบู่แตก และกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ในระหว่างนั้นค่าเงินบาทตกลงถึงร้อยละ 40 ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึงประมาณ 3.8 ล้านล้านบาท จากการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัว จากภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลนี้เอง ทำให้ไทยต้องทำข้อตกลง กับกองทุนฟื้นฟูระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟเข้ามาปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งหมายความรวมถึงการถูกจำกัดอิสรภาพในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศหลายประการ
กล่าวได้ว่า การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลากว่าเกือบครึ่งศตวรรษนี้ ได้สร้างความเจริญทางวัตถุอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลและขาดการพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ทำให้การพัฒนาในส่วนอื่นไม่สามารถก้าวทันความเจริญทางวัตถุ เช่น การศึกษา การพัฒนาระบบประชาธิปไตย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น อันเป็นที่มาของบทสรุปของการพัฒนาที่ว่า “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน”
1. เศรษฐกิจพอเพียง : แนวพระราชดำริ และหลักการที่สำคัญ
(พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน “ทางสายกลาง” โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำเอาวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
จากข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1) ทางสายกลาง
2) ความพอเพียง พอประมาณ และมีเหตุผล
3) การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
2. เศรษฐกิจพอเพียง : การประยุกต์ใช้
ในระดับปัจเจกบุคคล แต่ละบุคคลจะต้องมีสติในการดำรงชีวิต ตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี คือ ดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว อย่างพอมีพอกิน โดยไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น และแบ่งปันส่วนที่เหลือไปยังสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชน
ในระดับชุมชน จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาชุมชนได้อย่างเหมาะสม โดยยึดหลักความประหยัดและเรียบง่าย สามารถทำได้เองหาได้ในท้องถิ่น รู้จักประยุกต์ใช้ในสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากนัก
ในระดับประเทศ จะต้องสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นองค์รวม เพื่อความสมดุลโดยจะต้องพิจารณาในส่วนของทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากร ในการส่งเสริมการค้า การผลิตจะต้องมีการพิจารณาศักยภาพภายในประเทศว่า ควรจะต้องส่งเสริมการผลิตสินค้าชนิดใด โดยจะต้องผลิตให้ได้พอเพียงกับความต้องการภายในประเทศเสียก่อน แล้วค่อยส่งไปขายต่างประเทศ ในการบริหารจัดการควรให้เกิดความเสี่ยงต่ำ คือไม่ลงทุนจนเกินตัว เพราะจะส่งผลให้เกิดการก่อหนี้จนเกินขีดความสามารถในการจัดการ จะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ มุ่งพัฒนาทุนทางสังคม เช่น ระบบการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศ โดยคำนึงถึงความประหยัดและเรียบง่าย ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ดังพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
ภายหลังจากทรงทดลองปฏิบัติเพื่อจะได้นำแนวความคิด “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 จากนั้นจึงได้มีพระราชดำรัส เรื่อง “ทฤษฎีใหม่” ในฐานะที่เป็นภาคปฏิบัติทางเกษตรกรรมอย่างเป็นรูปธรรมของ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาเผยแพร่แก่ผู้บริหารประเทศระดับสูงและพสกนิกรของพระองค์ และได้พระราชทานอย่างต่อเนื่องเหมือน เป็นการย้ำเตือนว่า เศรษฐกิจฟองสบู่ที่ประเทศไทยกำลังนิยมยินดีกันระหว่างปี พ.ศ.2536-2539 เป็นสิ่งทไม่จีรังยั่งยืนและจะก่อให้เกิดผลเสียแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะความโลภเห็นแก่ตัวและการเอา เปรียบของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
แต่กระแสพระราชดำรัสดังกล่าวก็ยังมิได้รับการสนองตอบด้วยดีนัก จนกระทั่งเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 ที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปเริ่มตระหนักถึงความสำคัญต่อพระราชดำรัสที่ผ่านมา แม้กระนั้นก็ยังมีความสับสนและไม่เข้าใจ เนื่องจากคุ้นเคยกับความคิดซึ่งใช้ในตะวันตกที่อธิบายคำว่า “Self-Sufficient Economy” ในความหมายเช่นเดียวกับการปิดประเทศไม่ค้าขายกับใครแต่อย่างใด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนะ ให้เพิ่มสัดส่วนเศรษฐกิจพอเพียง จากที่ทรงเห็นว่าจากเดิมไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เลย เนื่องจากประเทศเน้นการผลิตเพื่อการค้าทั้งหมด แล้วปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิต เพื่อการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเองส่วนหนึ่งอันเป็นความหมายที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ความตอนหนึ่งว่า
ถึงแม้จะเริ่มมีความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงตามความหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่บางส่วนก็ไปยึดพื้นที่การเกษตร แทนที่จะยึดสัดส่วนของกิจกรรมระหว่างเศรษฐกิจค้าขายและเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นเหตุให้ทรงขยายความเข้าใจใหม่ในปี พ.ศ.2541 โดยอธิบายในสองความหมายคือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมากและต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือความหมายที่นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่ว ไปอาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นคือ ความพอประมาณและความมีเหตุผล
ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวทางหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือ สระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดไม่แน่นอน หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
3.1 ทฤษฎีใหม่ : เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในทุกภูมิภาคของประเทศ ทรงพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ผลิตอาหารให้แก่ ประเทศและโลกโดยส่วนรวม ยังคงมีฐานะยากจนแร้นแค้นเพราะประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำมาหากิน อันเนื่องมาจากที่ดินทำกินขาดความสมบูรณ์หรือขาดแคลนน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน แนวพระราชดำริเกี่ยวกับ “ทฤษฎีใหม่” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง มีความมั่นคงในเรื่อง การดำรงชีพ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัวและชุมชนตามสมควรแก่อัตภาพ ทั้งนี้ หลักการของทฤษฎีใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 “พึ่งตนเอง”
การที่เกษตรกรจะสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้นั้น จะต้องแบ่งพื้นที่ทำกินของเกษตรกร ซึ่งเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยครอบครองเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนแรก ร้อยละ 30 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ขุดเป็นสระกักเก็บน้ำขนาดความลึกประมาณ 4 เมตร ไว้ใช้ในการเพาะปลูก
ส่วนที่สอง ร้อยละ 60 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 10 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร แบ่งออกเป็นร้อยละ 30 ส่วนที่หนึ่ง ทำนาข้าว และร้อยละ 30 ส่วนที่สอง ปลูกพืชไร่หรือพืชสวน ตามแต่สภาพพื้นที่ และภาวะตลาด
ส่วนที่สาม ร้อยละ 10 หรือเนื้อที่เฉลี่ย 2 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและใช้สอย ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์
การจัดแบ่งสัดส่วนที่ดินออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ เพื่อให้มีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน โดยยึดหลักว่า การทำนา 5 ไร่ของครอบครัวหนึ่ง ๆ จะมีข้าวบริโภคได้พอเพียงตลอดทั้งปี และหากเมื่อเหลือจากการบริโภคแล้ว จึงจำหน่ายออกสู่ตลาดเพื่อเก็บเป็นเงินทุนต่อไป
ขั้นที่ 2 “รวมกลุ่ม” เมื่อมีความมั่นคงเข้มแข็งในระดับครัวเรือนแล้ว เกษตรกรในชุมชนต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อการผลิตและการตลาด เพื่อจะได้สามารถพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมทั้งเกษตร แบบผสมผสาน หัตถกรรม การแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจ ค้าขาย การท่องเที่ยว เป็นต้น เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งพอสมควรก็จะสามารถพัฒนาระบบสวัสดิการ การศึกษา สาธารณสุขเพื่อชุมชนเติบโตอย่าง มีเสถียรภาพต่อไป
ขั้นที่ 3 “สู่ภายนอก” เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นที่ 3 คือ การสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพกับภายนอกและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนจะต้องมีความสามัคคี สร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่ตลอดไป3.2 ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจพอเพียงในรูปเกษตรทฤษฎีใหม่ประสบผลสำเร็จ
1. เกษตรกรควรมีความขยันหมั่นเพียร ความตั้งใจ มีที่ดินเป็นของตนเอง และมีทุนในการดำเนินงานบ้างพอสมควร
2. เกษตรกรควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ มีความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพการเกษตรพอสมควร เต็มใจและพร้อมรับวิทยาการใหม่ ๆ
3. ทฤษฎีใหม่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน การประสานงานกันทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเกษตรกรเองในด้านต่าง ๆ เช่น งบประมาณการดำเนินงานตามขั้นตอนและการตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
4. การจัดสรรพื้นที่ทางการเกษตร ควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่
5. การดำเนินงาน โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มสนับสนุนให้ประชาชนรวมกลุ่มดำเนินกิจการร่วมกัน และก่อให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มก่อน แล้วจึงขยายออกไปนอกกลุ่มภายหลัง
3.3 อุปสรรคของการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในรูปของทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติ
1. การสร้างความเข้าใจให้แก่บุคคล ทั้งตัวเกษตรกรเองและผู้อื่น ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าถึงหลักการ แนวความคิด สาระสำคัญของทฤษฎีใหม่ ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันสังเกตได้ว่า ข่าวสารข้อมูลมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเฉพาะตัวเกษตรกรเอง ยังมีบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์หลักของทฤษฎีใหม่ที่แท้จริง
2. การที่เกษตรกรมีที่พักอาศัยและผืนนาที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่คนละที่ อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการทำการเกษตรให้ได้ผลดี
3. เกษตรกรบางส่วนมีความเข้าใจว่า การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่เน้นที่การค้ามิใช่การบริโภคเพียงพอเป็นอันดับแรก จึงทำให้การทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ผิดหลักการ จึงควรสร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกร เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ควรผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนก่อน แล้วจึงนำส่วนเกินออกขายภายนอกได้
4. เกษตรกรบางรายมีแรงงานในครอบครัวไม่เพียงพอในการทำกิจกรรม หรืออาจมีอายุมากซึ่งเป็นข้อจำกัดที่จะทำการเกษตรในระยะยาวตามลักษณะเกษตรยั่งยืนต่อไป
5. การที่เกษตรกรไม่เข้าใจทฤษฎีใหม่อย่างเพียงพอ ทำให้มีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อได้รับปัจจัยการผลิตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ก็ทอดทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ไม่นำไปเพาะปลูก กรณีนี้จะทำให้ประเทศชาติเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์
3.4 ประโยชน์ของการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในรูปของทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติ
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปีทฤษฎีใหม่น้ำก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
4. เศรษฐกิจพอเพียงกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
* ลักษณะสำคัญของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ 1. “ตัวอย่างความสำเร็จ”
“ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ นี้มีหลักอยู่ว่า ทำไปแล้วถ้าได้ผลดีก็จดเอาไว้กลายเป็นตำราซึ่งเป็นหลักของตำราทั้งหลายที่ต้องมาจากประสบการณ์ อันนี้เป็นประโยชน์ของศูนย์ศึกษาการ พัฒนาฯ อย่างหนึ่งที่ว่า ไม่ใช่สถานทดลอง แต่ว่าเป็นการทดลองแบบที่เรียกกันเอง หรือแบบไม่เป็นทางการ”
ในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเป็นการดำเนินงานที่มุ่งศึกษา ทดลองหาแนวทางในการพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ด้วยวิธีการที่เรียบง่าย และแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และประหยัด สำหรับผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็น “ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ” ที่เกษตรกรและประชาชนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ส่วนผลการทดลองที่ไม่ประสบผล สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ในแง่ที่เป็นข้อพึงระวังสำหรับการนำไปใช้ในการปฏิบัติหรือปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางอื่นที่เหมาะสมต่อไป ตามที่ได้มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
2. “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นการจำลองเอาสภาพทางกายภาพ อันได้แก่ ภูมิศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ รวมไปถึงสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อศึกษาทำความเข้าใจจาก สภาพความเป็นจริง เพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและสังคมของภูมิภาคนั้น ตลอดจนภูมิปัญญาพื้นบ้านต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานของศูนย์มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เสมือนเป็น พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
3. “ระบบบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว” เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนและความยุ่งยากในการติดต่อกับหน่วยราชการ โดยให้ประชาชนสามารถรับบริการต่าง ๆ ทางการเกษตรของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้ในที่เดียว หรือที่เรียกว่า “One Stop Service” เนื่องจากภายในศูนย์ฯ ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่จากกรมชลประทาน กรมที่ดิน กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ ความตอนหนึ่งว่า
ว่า ประชาชนซึ่งจะต้องการสิ่งทั้งหลาย ก็สามารถจะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะได้รับความอนุเคราะห์แก่ประชาชนก็มาอยู่พร้อมในที่เดียวกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายความถึงว่า สำคัญปลายทางคือ
ประชาชนจะได้รับประโยชน์…”4. “รูปแบบใหม่ของการบริหารจัดการ” เนื่องจากโครงการพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น น้ำ ที่ดินทำกิน พันธุ์พืช ปศุสัตว์ การประมง ตลอดจนกระทั่งการตลาด ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องมี ลักษณะเป็น “องค์รวม” ซึ่งการประสานในระบบราชการแบบเดิมไม่สามารถเอื้อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการได้ ดังนั้น การดำเนินงานของศูนย์ฯ จึงเป็นการรวมเอาเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ของ ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลมาทำงานร่วมกัน โดยมีสำนักงาน กปร. และสำนักเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการทำงานตามแนวราบ ที่ยึด ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง