ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝายชะลอความชุ่มชื้น-การสร้าง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (→*'''การสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ''') |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (→'''* การสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ''') |
||
แถว 51: | แถว 51: | ||
[[ภาพ:ฝาย-08.jpg|center]] | [[ภาพ:ฝาย-08.jpg|center]] | ||
− | ===''' | + | *==='''การสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ'''=== |
<div class="kindent">เมื่อเลือกทำเลที่จะสร้างฝายต้นน้ำได้เรียบร้อยจนพร้อมที่จะเริ่มงานออกแบบ และทำการก่อสร้างต่อไปได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ควรจะต้องทำการสำรวจรายละเอียดสำหรับใช้ประกอบการออกแบบและประมาณราคางาน รายละเอียดภูมิประเทศที่สำคัญได้แก่ ระดับแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ต้นน้ำตามแนวฝายและบริเวณที่จะสร้างฝาย ซึ่งควรจะทำการสำรวจแล้วเขียนแผ่นที่แสดงด้วย ในแผนที่ดังกล่าวควรจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวและรูปร่างของทางน้ำในบริเวณที่จะสร้างฝายให้ชัดเจน วิธีการสำรวจและการจัดทำแผนที่สามารถดำเนินการได้ดังนี้</div> | <div class="kindent">เมื่อเลือกทำเลที่จะสร้างฝายต้นน้ำได้เรียบร้อยจนพร้อมที่จะเริ่มงานออกแบบ และทำการก่อสร้างต่อไปได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ควรจะต้องทำการสำรวจรายละเอียดสำหรับใช้ประกอบการออกแบบและประมาณราคางาน รายละเอียดภูมิประเทศที่สำคัญได้แก่ ระดับแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ต้นน้ำตามแนวฝายและบริเวณที่จะสร้างฝาย ซึ่งควรจะทำการสำรวจแล้วเขียนแผ่นที่แสดงด้วย ในแผนที่ดังกล่าวควรจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวและรูปร่างของทางน้ำในบริเวณที่จะสร้างฝายให้ชัดเจน วิธีการสำรวจและการจัดทำแผนที่สามารถดำเนินการได้ดังนี้</div> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:42, 9 เมษายน 2551
เนื้อหา
ฝายต้นน้ำ
ประโยชน์ของฝายต้นน้ำ
- ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า เนื่องจากการกระจายความชุ่มชื้นมากขึ้น สร้างระบบการควบคุมไฟป่า ด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break)
- ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้นและแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
- ช่วยกับเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
- ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางด้านชีวภาพให้แก่พื้นที่
- ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย
รูปแบบและลักษณะของฝายต้นน้ำ
๑. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วยเป็นการก่อสร้างแบบง่ายๆ ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณฝายได้เป็นอย่างดี วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย นอกจากแรงงานเท่านั้น
๒. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลาง และตอนล่างลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้เป็นบางส่วน
๓. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวรส่วนมากจะดำเนินการบริเวณตอนปลายของลำห้วย หรือร่องน้ำจะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบอื่นๆ
ขั้นตอนการสร้างฝายต้นน้ำ
- การเลือกที่สร้างฝายต้นน้ำ
๑ ที่สร้างฝาย ควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็นแหล่งกักเก็บน้ำบริเวณด้านหน้าฝายได้พอสมควร
๒ บริเวณที่สร้างฝาย ควรมีตลิ่งของลำน้ำทางด้านข้างของตัวฝายสูงมากพอที่จะไม่ทำให้น้ำไหลท่วมและกัดเซาะเป็นร่องน้ำได้
๓ ควรสร้างในบริเวณลำห้วยที่มีความลาดชันต่ำและแคบ เพื่อจะได้เป็นฝายในขนาดที่ไม่เล็กเกินไป อีกทั้งยังสามารถเก็บกักน้ำและตะกอนได้มากพอควร สำหรับลำห้วยที่มีความลาดชันสูงก็ควรสร้างฝายให้ถี่ขึ้น
๔ ควรสำรวจสภาพพื้นที่ วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติและรูปแบบฝายที่เหมาะสมกับภูมิประเทศมากที่สุด เช่น ควรพิจารณาสร้างฝานต้นน้ำแบบท้องถิ่นเบื้องต้นในตอนบนของพื้นที่ป่าหรือลำห้วยสาขา สำหรับตอนกลางหรือตอนล่างของพื้นที่ซึ่งเป็นลำห้วยหลัก ก็ควรจะกำหนดเป็นฝายแบบกึ่งถาวรหรือฝายแบบถาวร
๕ ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอที่จะไม่เกิดการพังทลายเสียหายกรณีฝนตกหนักและกระแสน้ำไหลแรง จากประสบการณ์พบว่า การเลือกทำเลที่สร้างฝายบริเวณที่ผ่านโค้งของลำห้วยมาเล็กน้อย หรือบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่หรือกอไผ่อยู่บริเวณริมห้วยจะเสริมให้ฝายมีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น ไม่เกิดการพัลทลายได้ง่าย
๖ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือฝายต้นน้ำมิได้มีหน้าที่เป็นฝายทดน้ำเพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ดังนั้น จุดที่จะสร้างฝายต้นน้ำจึงควรเป็นลำห้วยที่มิได้มีน้ำไหลตลอดปี สภาพป่ามีความแห้งแล้ง ซึ่งจะต้องฟื้นฟูให้เกิดความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ต่อไป
๗ การเลือกจุดที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำ ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากฝาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการอนุรักษ์ต้นน้ำ ด้านการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ ด้านนิเวศวิทยา ตลอดจนด้านชุมชน นอกจากนี้การกำหนดพื้นที่จะก่อสร้างต้องขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ความจำเป็น และความเหมาะสมอื่นๆ อีกด้วย
- ===การสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศ===
๑ เครื่องมือสำรวจที่จำเป็นได้แก่ โซ่หรือเทปสำหรับวัดระยะทาง กล้องส่องระดับหรือกล้องส่งระดับมือ ไม้แสดงระยะสำหรับใช้ส่องระดับ และเข็มทิศ
๒ การสำรวจบริเวณที่สร้างฝาย จะเริ่มด้วยการสร้างหมุดหลักฐานสองหมุดไว้ที่สองฟากของลำน้ำ พร้อมทั้งกำหนดค่าระดับสมมุติที่หมุดหนึ่ง หาค่าระดับ แนว และระยะของอีกหมุดหนึ่ง เพื่อใช้ในการสำรวจต่อไปเช่นกัน
ในการสำรวจฝายต้นน้ำ ฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้นนั้นอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนแผนที่บริเวณที่ก่อสร้างหรือระดับ อาจใช้การเดินสำรวจลำห้วยหรือร่องน้ำโดยราษฎรแล้วทำแผนที่ลำห้วยบริเวณร่องน้ำ (Mapping) แบบง่ายๆ แล้วกำหนดจุดที่จะสร้างฝาย เพื่อให้ทราบตำแหน่งของตัวฝาย ความกว้างและความสูงของฝาย เนื่องจากฝายรูปแบบนี้จะก่อสร้างแบบง่ายๆ ใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ จึงไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องการออกแบบมากนัก จะเน้นเฉพาะการก่อสร้างให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงเป็นหลัก สำหรับรูปแบบฝายที่ค่อนข้างถาวรและฝายแบบถาวร ซึ่งจะต้องนำผลการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศไปประกอบการคำนวณออกแบบ
หลังจากที่ได้มีการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทสบริเวณที่จะก่อสร้างฝายต้นน้ำแล้ว ควรทำการศึกษาสภาพฐานรากของท้องลำห้วยหรือร่องน้ำว่าตัวฝายอยู่บนฐานรากลักษณะใด การออกแบบโดยทั่วไปจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของตัวฝาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานให้มากที่สุด โดยเฉพาะฝายต้นน้ำแบบท้องถิ่น เบื้องต้นถึงแม้จะไม่มีการออกแบบตามหลักวิชาการ ก็ควรจะมีการกำหนดวิธีการก่อสร้างให้สามารถใช้งานได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้การออกแบบฝายจึงต้องมีการดำเนินงานอย่างละเอียดรอบคอบ ให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานได้มากที่สุดและมีความประหยัดเป็นหลักเสมอ
การออกแบบเพื่อกำหนดขนาดของฝาย ไม่มีการกำหนดขนาดที่แน่นอน แต่ให้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
๑ พื้นที่รับน้ำของแต่ละห้วย/ฝาย
๒ ความลาดชันของพื้นที่
๓ สภาพของต้นน้ำและการชะล้างพังทลายของดิน
๔ ปริมาณน้ำฝน
๕ ความกว้างลึกของลำห้วย
๖ แหล่งวัสดุตามธรรมชาติ
๗ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง
การประมาณราคา
การขยายผลตามแนวพระราชดำเริ
อุปกรณ์ที่ใช้ทำฝายที่สำคัญๆ ประกอบด้วย ไม้ท่อนหรือไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๖ นิ้ว ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ นิ้ว ทราย หิน กิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ วิธีการดำเนินการโดยสำรวจ และคัดพื้นที่ตอกหลัก ไม้ท่อนหรือไม้ไผ่ขวางลำห้วย ระยะห่างประมาณ ๑๕-๒๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓-๔ เมตร นำไม้ไผ่ผ่าครึ่งนำมาวางด้านหน้าหลักไม้ไผ่ท่อนที่ตอกลงไป ตั้งแต่ด้านหลังของตัวฝายขึ้นไปเรื่อยถึงหน้าฝาย นำเศษไม้ ใบไม้ ทราย หรือวัสดุที่หาได้ในบริเวณนั้นมาใส่ตามช่องระหว่างไม้ไผ่ผ่าตั้งแต่หลังฝายถึงหน้าฝาย