ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำฝนจากเมฆเย็น"

(New page: <div id="rain"> <center>'''การทำฝนจากเมฆเย็น''' พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้มี...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:20, 1 เมษายน 2551

การทำฝนจากเมฆเย็น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้มีการวิจัยและพัฒนาการทำฝนจากเมฆเย็น


เนื่องจากการวิจัยพัฒนาและปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นเท่านั้น เนื่องจากเครื่องบินที่ได้รับจัดสรรให้ใช้เป็นเครื่องบินที่ไม่มีระบบปรับความดันอากาศ ไม่ปลอดภัยที่จะบินขึ้นสูงกว่าระดับ 10,000 ฟุต แต่ในการปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นนั้น ยอดเมฆสามารถเจริญขึ้นถึง 25,000 ฟุต หรือมากกว่านั้น ฉะนั้น กลุ่มเมฆนั้นจึงเป็นเมฆผสม (Mixed Cloud) ของเมฆอุ่น (Warm Cloud) และเมฆเย็น (Cold Cloud) ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับฐานเมฆจนถึงประมาณ 18,000 ฟุต เป็นส่วนของเมฆอุ่น (Warm Cloud) มีอุณหภูมิในเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป มีอุณหภูมิในเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสเป็นส่วนของเมฆเย็น (Cold Cloud)

ได้พระราชทานแนวคิดแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เมื่อ พ.ศ. 2515 ให้หาลู่ทางวิจัยและประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินแบบที่ไม่มีระบบปรับความดันต่อจากระดับบิน 10,000 ฟุต ให้สูงเข้าไปในส่วนของเมฆเย็นดังกล่าว ให้เกิดฝนตกจากเมฆเย็นลงมาสมทบกับเมฆอุ่นเพื่อให้ปริมาณน้ำฝนในก้อนเมฆนั้นเพิ่มมากขึ้น ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบกเริ่มลงมือทำการวิจัยประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินและจรวดจากทางพื้นดิน แต่หยุดกิจกรรมนี้เมื่อ พ.ศ.2516 เนื่องจากฝ่ายกรมสรรพาวุธทหารบกติดภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ


สำนักฝนหลวง.jpg
ข้อมูลจาก สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ห้ามนำข้อมูลของเว็บไซต์นี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร