ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝนหลวง-พระบรมราโชบาย"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (New page: <div id="rain"> <center>'''พระบรมราโชบายถึงกลยุทธการพัฒนาโครงการพระราชดำริฝนหลวง''...) |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:59, 31 มีนาคม 2551
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีว่าการและปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะฑูตและคณะผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ที่ปรึกษาและนักวิทยาศาสตร์ สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2529 ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในวโรกาสนี้ ทรงมีพระราชกระแสฯ ทางวิชาการฝนหลวง ประสบการณ์และความสำเร็จ รวมทั้งพระราชทานข้อแนะนำทางเทคนิคอย่างถี่ถ้วนเป็นเวลานานถึงสามชั่วโมง ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ได้ร่วมสรุปสาระสำคัญไว้ดังนี้
- ทรงเน้นทั้งความจำเป็นในการพัฒนาการและการดำเนินการปรับปรุงวิธีการทำฝนในแนวทางของการออกแบบ การปฏิบัติการและการติดตามประเมินผลที่มีลักษณะเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่องานศึกษารูปแบบของก้อนเมฆและการปฏิบัติการทำฝนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
- ทรงย้ำถึงบทบาทของการดัดแปรสภาพอากาศ (การทำฝน) ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการจัดการ แหล่งน้ำและทรัพยากรน้ำ ได้แก่ การเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่แหล่งเก็บกักน้ำต่างๆ การบรรเทาปัญหามลภาวะ และการเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อการบริโภค เป็นต้น
- ทรงเน้นว่า ความร่วมมือประสานงานอย่างเต็มที่ระหว่างหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ที่จะเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้
ยังความปลื้มปิติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นล้นพ้นโดยเฉพาะ คณะผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ต่างทราบซึ้งในพระปรีชาสามารถ ว่าทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องวิทยาศาสตร์บรรยากาศ การดัดแปรสภาพอากาศ อุตุนิยมวิทยา และฝนหลวงโดยแท้จริง ได้น้อมเกล้าฯ รับพระราชกระแสฯ ไปประกอบใน รายงานผลการประมวลฝนหลวงในสหราชอาณาจักรไทย ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จทำให้เกิดความร่วมมือ ไทย-สหรัฐฯ ในโครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ในที่สุด
ข้อมูลจาก สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ห้ามนำข้อมูลของเว็บไซต์นี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร