ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแพทย์"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (→<div style="color:red">'''พุทธศักราช ๒๔๙๖ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หน่วยแรก'''</div>) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (→<div style="color:red">'''พุทธศักราช ๒๔๙๖ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หน่วยแรก'''</div>) |
||
แถว 26: | แถว 26: | ||
<br />นับเป็นเรือบรรเทาทุกข์และรักษาพยาบาลทางน้ำลำแรกและลำเดียวในโลก ที่ยังคงให้บริการประชาชนอยู่จนถึงทุกวันนี้</div> | <br />นับเป็นเรือบรรเทาทุกข์และรักษาพยาบาลทางน้ำลำแรกและลำเดียวในโลก ที่ยังคงให้บริการประชาชนอยู่จนถึงทุกวันนี้</div> | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงให้ความสำคัญกับการสาธารณสุขในระยะยาวด้วย โดยทรงสนับสนุนด้านการศึกษาค้นคว้า<br />และการวิจัย ทั้งทรงให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านสาธารณสุข และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "ทุนอานันทมหิดล" <br />ขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๘</div> | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงให้ความสำคัญกับการสาธารณสุขในระยะยาวด้วย โดยทรงสนับสนุนด้านการศึกษาค้นคว้า<br />และการวิจัย ทั้งทรงให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านสาธารณสุข และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "ทุนอานันทมหิดล" <br />ขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๘</div> | ||
− | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็น'''มูลนิธิอานันทมหิดล''' เพื่อการพิจารณาคัดเลือกบัณฑิตแพทย์ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีคุณธรรม<br />ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในต่างประเทศ ปัจจุบันมูลนิธิอานันทมหิดลได้ขยายการให้การสนับสนุนการศึกษาในระดับสูง<br />ครอบคลุม ๘ สาขาวิชา ในจำนวนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ๒ สาขา คือ แผนกแพทยศาสตร์ และแผนกทันตแพทยศาสตร์</div> | + | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็น<span style="color:darkblue">'''มูลนิธิอานันทมหิดล'''</div> เพื่อการพิจารณาคัดเลือกบัณฑิตแพทย์ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีคุณธรรม<br />ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในต่างประเทศ ปัจจุบันมูลนิธิอานันทมหิดลได้ขยายการให้การสนับสนุนการศึกษาในระดับสูง<br />ครอบคลุม ๘ สาขาวิชา ในจำนวนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ๒ สาขา คือ แผนกแพทยศาสตร์ และแผนกทันตแพทยศาสตร์</div> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:37, 3 มีนาคม 2551
เนื้อหา
พุทธศักราช ๒๔๙๖ จุดเริ่มต้นมาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
พุทธศักราช ๒๔๙๖ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หน่วยแรก
เมื่อปี ๒๔๙๖ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านปากทวาร ตำบลหินเหล็กไฟ
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงพบว่าราษฎรที่มาเข้าเฝ้าฯ เป็นไข้จับสั่นและโรคอื่นๆ เป็นจำนวนมาก จึงมี พระราชปรารภว่าในท้องที่ห่างไกลที่แพทย์และพยาบาลเข้าไปไม่ถึงนั้น ราษฎรต้องถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ทั้งๆ ที่โรค ที่เป็นสามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก ดังนั้นจึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยานพาหนะ และเวชภัณฑ์ ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปรักษาประชาชนในท้องถิ่นธุรกันดาร เริ่มจาก จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกชื่อว่า "หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน" ต่อมาเมื่อปี ๒๔๙๙ ให้จัดตั้งขึ้นอีก ๒ แห่ง คือ ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่จังหวัดยะลาเพื่อดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยในพื้นที่ทางภาคใต้
นับเป็นเรือบรรเทาทุกข์และรักษาพยาบาลทางน้ำลำแรกและลำเดียวในโลก ที่ยังคงให้บริการประชาชนอยู่จนถึงทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงให้ความสำคัญกับการสาธารณสุขในระยะยาวด้วย โดยทรงสนับสนุนด้านการศึกษาค้นคว้า
และการวิจัย ทั้งทรงให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านสาธารณสุข และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "ทุนอานันทมหิดล" ขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๘ ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็นมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อการพิจารณาคัดเลือกบัณฑิตแพทย์ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมและมีคุณธรรมไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในต่างประเทศ ปัจจุบันมูลนิธิอานันทมหิดลได้ขยายการให้การสนับสนุนการศึกษาในระดับสูง ครอบคลุม ๘ สาขาวิชา ในจำนวนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ๒ สาขา คือ แผนกแพทยศาสตร์ และแผนกทันตแพทยศาสตร์
โทรศัพท์ 222-0859, 224-3288 โทรสาร 226-2909, 224-9858 รายละเอียดเกี่ยวกับการพระราชทานทุน และการดำเนินงานของมูลนิธิฯ สอบถามได้ที่ สำนักงานประสานงานของมูลนิธิอานันทมหิดล ตั้งอยู่ที่ สำนักงานเลขาธิการองคมนตรี ศาลาลูกขุนใน พระบรมมหาราชวัง โทรศัพท์ 623-5833-4 โทรสาร 623-5835
|
พุทธศักราช ๒๔๙๘ โรคเรื้อนระบาด
เมื่อปี ๒๔๙๘ มีการแพร่ระบาดของโรคเรื้อนเกิดขึ้นอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดทำโครงการควบคุมโรคดังกล่าวขึ้น ซึ่งตามโครงการดังกล่าวต้องใช้เวลาถึง ๑๒ ปี เพื่อหยุดการระบาดของโรคนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าเป็นเวลาที่นานเกินไป จึงทรงให้เร่งรัดโครงการให้เหลือ ๘ ปี และทรงรับโครงการควบคุมโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุขไว้เป็นโครงการในพระราชดำริ รวมทั้งให้จัดตั้ง "สถาบันราชประชาสมาสัย" ขึ้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้การบำบัดฟื้นฟู และค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อน รวมทั้งฝึกอาชีพให้ผู้ป่วยด้วย และได้พระราชทานเงินทุนอานันทมหิดล สร้างอาคาร ๔ หลัง ในบริเวณสถานพยาบาลพระประแดง เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาอบรมเจ้าหน้าที่ในการบำบัดโรคเรื้อน โดยเริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๓ ปัจจุบันตามรายงานสถานการณ์โรคเรื้อนของสถาบันราชประชาสมาสัย เมื่อปี ๒๕๔๘ ปรากฎว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อนมาขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๕๖๐ คน ซึ่งในอดีตจะมีผู้ป่วยโรคนี้ ๕๐ คนต่อประชากร ๑๐,๐๐๐ คน
พุทธศักราช ๒๕๑๐ โรคอหิวาตกโรคระบาด
**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ