ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาชิกฯ-สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 9: | แถว 9: | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลรับเสด็จใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในนามของสถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนในโอกาสพิเศษนี้ เป็นครั้งแรกและครั้งพิเศษในประวัติศาสตร์ของสถาบันการดนตรีและศิลปะซึ่งมีอายุร่วม ๑๕๐ ปี ที่ได้เฉลิมพระเกียรติพระประมุขแห่งมิตรประเทศของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย ทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีของประเทศพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันสำคัญต่อการเมืองโลก มีประวัติความเป็นมาทางวัฒนธรรมที่เฟื่องฟูด้วยงานศิลปะอันวิจิตรงดงาม และนำเสนอสิ่งที่ชวนหลงใหลและน่าสนใจด้านการดนตรีและศิลปะการฟ้อนรำแก่ชาวโลก ทั้งสองพระองค์ทางศึกษาการดนตรีในยุโรปจนเชี่ยวชาญ ทรงเป็นนักดนตรีมืออาชีพที่ทรงได้ทั้งประเภทเครื่องเป่าและเปียนโน ทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์เพลง นักวิจารณ์แห่งกรุงเวียนนายกย่องว่าพระราชนิพนธ์ด้านดนตรีแห่งพระองค์นำให้หวนระลึกถึงยุคสมัยแห่งความเฟื่องฟูของอุปรากรแห่งกรุงเวียนนา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้นเล่าก็ทรงเป็นนักเปียนโนที่ทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลรับเสด็จใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในนามของสถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนในโอกาสพิเศษนี้ เป็นครั้งแรกและครั้งพิเศษในประวัติศาสตร์ของสถาบันการดนตรีและศิลปะซึ่งมีอายุร่วม ๑๕๐ ปี ที่ได้เฉลิมพระเกียรติพระประมุขแห่งมิตรประเทศของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย ทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีของประเทศพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันสำคัญต่อการเมืองโลก มีประวัติความเป็นมาทางวัฒนธรรมที่เฟื่องฟูด้วยงานศิลปะอันวิจิตรงดงาม และนำเสนอสิ่งที่ชวนหลงใหลและน่าสนใจด้านการดนตรีและศิลปะการฟ้อนรำแก่ชาวโลก ทั้งสองพระองค์ทางศึกษาการดนตรีในยุโรปจนเชี่ยวชาญ ทรงเป็นนักดนตรีมืออาชีพที่ทรงได้ทั้งประเภทเครื่องเป่าและเปียนโน ทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์เพลง นักวิจารณ์แห่งกรุงเวียนนายกย่องว่าพระราชนิพนธ์ด้านดนตรีแห่งพระองค์นำให้หวนระลึกถึงยุคสมัยแห่งความเฟื่องฟูของอุปรากรแห่งกรุงเวียนนา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้นเล่าก็ทรงเป็นนักเปียนโนที่ทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง | ||
</div> | </div> | ||
− | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px"> | + | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ในช่วงเวลาที่ประเทศในยุโรปกลางยังมีเยาวชนไม่ถึงหนึ่งในสามที่เล่นเครื่องดนตรีเป็น และแทบจะหาคนรุ่นใหม่มาสืบสานศิลปะการดนตรีประเภทวงออเคสตราได้ยาก อีกทั้งการเล่นดนตรีตามบ้านก็ซบเซา และโรงเรียนทีให้การศึกษาทั่วไปไม่อาจจัดสอนวิชาดนตรีอย่างสม่ำเสมอได้ ในช่วงเวลานั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงแสดงให้พสกนิกรของพระองค์และชาวโลกเห็นประจักษ์ว่า การเล่นดนตรีอย่างจริงจังนั้นช่วยให้ประชาชนทุกชนชั้นมีความสุขและลืมสภาวะจำเจในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าสถานะทางสังคมจะเป็นเช่นไร เหนือสิ่งใด ปวงข้าพระพุทธเจ้าตระหนักได้จากพระราชจริยวัตรว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของประชาชนชาวไทย และชาวโลกในด้านการศึกษาดนตรี และแม้ว่าจะเป็นพื้นฐานการดนตรีของโลกตะวันตก แต่ก็ไม่ได้ทรงปฏิเสธรากฐานการดนตรีของไทย ทรงแสดงให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตระหนักว่า สนพระราชหฤทัยที่จะกระชับความสัมพันธ์ด้านดนตรีอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศออสเตรีย มีพระราชประสงค์จะให้สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งนี้เป็นต้นแบบและแหล่งข้อมูลสำหรับวิทยาลัยดนตรีในลักษณะเดียวกันในประเทศของพระองค์ และมีพระราชประสงค์ที่จะเชิญบัณฑิตผู้มีพรสวรรค์จากวิทยาลัยแห่งนี้ รวมทั้งจะพระราชทานการสนับสนุนในด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบันในทุกรูปแบบอีกด้วย ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ณ ที่นี้ ต่างทราบดีว่า เป้าหมายหลักประการหนึ่งของสภาดนตรีของโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกในยุคสมัยใหม่ พระราชปณิธานจึงเป็นเสมือนเสาหลักสำคัญของการสร้างสายสัมพันธ์ดังกล่าว ปวงข้าพระพุทธเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ในพระราชจริยวัตรอันโดดเด่นที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมืองและวัฒนธรรมเช่นนี้ |
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
− | |||
</div> | </div> | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:37, 23 มกราคม 2551
คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย
กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์
และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์
ณ สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา
วันจันทร์ ที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลรับเสด็จใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในนามของสถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนในโอกาสพิเศษนี้ เป็นครั้งแรกและครั้งพิเศษในประวัติศาสตร์ของสถาบันการดนตรีและศิลปะซึ่งมีอายุร่วม ๑๕๐ ปี ที่ได้เฉลิมพระเกียรติพระประมุขแห่งมิตรประเทศของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถแห่งประเทศไทย ทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีของประเทศพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันสำคัญต่อการเมืองโลก มีประวัติความเป็นมาทางวัฒนธรรมที่เฟื่องฟูด้วยงานศิลปะอันวิจิตรงดงาม และนำเสนอสิ่งที่ชวนหลงใหลและน่าสนใจด้านการดนตรีและศิลปะการฟ้อนรำแก่ชาวโลก ทั้งสองพระองค์ทางศึกษาการดนตรีในยุโรปจนเชี่ยวชาญ ทรงเป็นนักดนตรีมืออาชีพที่ทรงได้ทั้งประเภทเครื่องเป่าและเปียนโน ทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์เพลง นักวิจารณ์แห่งกรุงเวียนนายกย่องว่าพระราชนิพนธ์ด้านดนตรีแห่งพระองค์นำให้หวนระลึกถึงยุคสมัยแห่งความเฟื่องฟูของอุปรากรแห่งกรุงเวียนนา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้นเล่าก็ทรงเป็นนักเปียนโนที่ทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง
ในช่วงเวลาที่ประเทศในยุโรปกลางยังมีเยาวชนไม่ถึงหนึ่งในสามที่เล่นเครื่องดนตรีเป็น และแทบจะหาคนรุ่นใหม่มาสืบสานศิลปะการดนตรีประเภทวงออเคสตราได้ยาก อีกทั้งการเล่นดนตรีตามบ้านก็ซบเซา และโรงเรียนทีให้การศึกษาทั่วไปไม่อาจจัดสอนวิชาดนตรีอย่างสม่ำเสมอได้ ในช่วงเวลานั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงแสดงให้พสกนิกรของพระองค์และชาวโลกเห็นประจักษ์ว่า การเล่นดนตรีอย่างจริงจังนั้นช่วยให้ประชาชนทุกชนชั้นมีความสุขและลืมสภาวะจำเจในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าสถานะทางสังคมจะเป็นเช่นไร เหนือสิ่งใด ปวงข้าพระพุทธเจ้าตระหนักได้จากพระราชจริยวัตรว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของประชาชนชาวไทย และชาวโลกในด้านการศึกษาดนตรี และแม้ว่าจะเป็นพื้นฐานการดนตรีของโลกตะวันตก แต่ก็ไม่ได้ทรงปฏิเสธรากฐานการดนตรีของไทย ทรงแสดงให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตระหนักว่า สนพระราชหฤทัยที่จะกระชับความสัมพันธ์ด้านดนตรีอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศออสเตรีย มีพระราชประสงค์จะให้สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งนี้เป็นต้นแบบและแหล่งข้อมูลสำหรับวิทยาลัยดนตรีในลักษณะเดียวกันในประเทศของพระองค์ และมีพระราชประสงค์ที่จะเชิญบัณฑิตผู้มีพรสวรรค์จากวิทยาลัยแห่งนี้ รวมทั้งจะพระราชทานการสนับสนุนในด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบันในทุกรูปแบบอีกด้วย ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ณ ที่นี้ ต่างทราบดีว่า เป้าหมายหลักประการหนึ่งของสภาดนตรีของโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกในยุคสมัยใหม่ พระราชปณิธานจึงเป็นเสมือนเสาหลักสำคัญของการสร้างสายสัมพันธ์ดังกล่าว ปวงข้าพระพุทธเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ในพระราชจริยวัตรอันโดดเด่นที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมืองและวัฒนธรรมเช่นนี้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ ณ สถาบันการดนตรีและศิลปะกรุงเวียนนา
เมื่อวันจันทร์ ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๐๗
ของสถาบันการดนตรีและศิลปะกรุงเวียนนา
หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ | บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ | บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ | บัญชีรางวัลฯ | พระราชกรณียกิจ |