ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังงานทดแทน-สรุปการทดสอบ"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 33: | แถว 33: | ||
*[[พลังงานทดแทน|ความหมาย, แก๊สโซฮอล์, แกลบอัดแท่ง ]] | *[[พลังงานทดแทน|ความหมาย, แก๊สโซฮอล์, แกลบอัดแท่ง ]] | ||
− | *[[พลังงานทดแทน-น้ำมันปาล์ม]] | + | *[[พลังงานทดแทน-น้ำมันปาล์ม|โครงการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์]] |
---- | ---- |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:56, 1 ตุลาคม 2552
สรุปการทดสอบพลังงานทดแทน
- โครงการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร
โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการใช้น้ำมันปาล์มสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงแทนน้ำมันดีเซล และเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๒๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรโครงการดังกล่าว ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๖ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดทำโครงการวิจัยเพื่อนำไขน้ำมันปาล์มจากบ่อบำบัดน้ำเสียมาผลิตเป็นไบโอดีเซล (เมทิลเอสเตอร์) เพื่อหาวิธีลดต้นทุนในการผลิตน้ำมันทดแทนน้ำมันดีเซล โดยจะทำการจัดสร้างอุปกรณ์การผลิตเมทิลเอสเตอร์แบบแบทซ์ขนาด ๒๐ ลิตรต่อกะ สำหรับวัตถุดิบใช้ไขน้ำมันปาล์มจากบ่อน้ำเสียซึ่งกลายสภาพเป็นกรดไขมันบางส่วนแล้ว
หน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริ ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดทำโครงการ รวม ๓ โครงการ
- โครงการศึกษาการนำน้ำมันปาล์มมาทดแทนน้ำมันดีเซลเพื่อใช้ในเครื่องจักรกลการเกษตรที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการนี้มีวัตถุประสงคืเพื่อทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซลในสถานะต่างๆ
- โครงการปรับปรุงโรงงานต้นแบบสกัดน้ำมันปาล์มที่นิคมสหกรณ์อ่าวลึก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานและบริหารงานในเชิงธุรกิจให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ รวมทั้งสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเกรด A ได้วันละ ๖-๘ ตัน และสามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบเกรด B จากเมล็ดและเส้นใยปาล์มได้วันละ ๑-๑.๕ ตัน
- โครงการวิจัยการผลิตเมทิลเอสเตอร์จากไขน้ำมันในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อผลิตเมทิลเอสเตอร์ โดยการนำไขน้ำมันปาล์มที่เกิดขึ้นตามบ่อบำบัดน้ำเสีย (waste) ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ (โรงงานที่ใช้วิธีอบไอน้ำในการสกัดน้ำมันปาล์ม) ซึ่งเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาทำเป็นน้ำมันเมทิลเอสเตอร์ เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งมีราคาแพง
สำหรับโครงการทดสอบการใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซลในเครื่องจักรกลเกษตรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดำเนินการโดยใช้วิธีการทดสอบหลายวิธีด้วยกันนั้น มีผลสรุป ดังนี้
- น้ำมันปาล์มดิบ จากการทดสอบเครื่องยนต์โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบ เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๕๐๐ ชั่วโมง จะเกิดการสึกหรอของแหวนอัดของลูกสูบ และเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยมีต้นทุนวัตถุดิบน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ ๑๐-๒๐ บาท ต่อลิตร (ขึ้นกับฤดูกาลและราคาน้ำมันของท้องตลาด)
- น้ำมันปาล์มโอลิอิน (น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์) จากการทดสอบเครื่องยนต์ โดยใช้น้ำมันปาล์มโอลิอินสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๒,๐๐๐ ชั่วโมง จึงจะเกิดการสึกหรอของแหวนอัดรองลูกสูบ และเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยมีต้นทุนวัตถุดิบน้ำมันปาล์มโอลิอิน ราคา ๑๐ บาทต่อลิตร
- เมทิลเอสเตอร์ ไบโอดีเซลประเภทหนึ่งที่ได้จากการทำปฏิกริยาระหว่างน้ำมันจากพืชและหรือไขมันสัตว์กับเมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล) จากการทดสอบเครื่องยนต์โดยใช้เมทิลเอสเตอร์ เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องถึง ๓,๐๐๐ ชั่วโมง จะเกิดการสึกหรอของแหวนอัดของลูกสูบ และเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบ ๑๐-๒๐ บาทต่อลิตร และค่าแอลกอฮอล์ ๔ บาทต่อลิตร
- น้ำมันปาล์มดิบที่ลดความหนืด (de-gum และ de-acid) จากการทดสอบเครื่องยนต์ โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบที่ de-gum และ de-acid เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๑,๒๐๐ ชั่วโมง และจะเกิดปัญหาอย่างเดียวกันคือการสึกหรอของแหวนอัดของลูกสูบและเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับน้ำมันปาล์มดิบ ๑๐-๒๐ บาทต่อลิตรและกรรมวิธีการ de-gum และ de-acid ราคา ๓ บาทต่อลิตร
อย่างไรก็ตามในแต่ละวิธีการทดสอบสามารถนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลได้ เพราะจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้ดีกว่าน้ำมันการใช้น้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันไบโอดีเซลเพียงอย่างเดียว
ผลจากการศึกษาทดสอบ สามารถสรุปได้ว่าการใช้เมทิลเอสเตอร์ทดสอบเครื่องยนต์จะสามารถใช้งานได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามการผลิตเมทิลเอสเตอร์ตามวิธีการดังกล่าวยังมีราคาสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบ (ตามฤดูกาลและราคาท้องตลาด) และค่าแอลกอฮอล์ ส่วนไบโอดีเซลประเภทอื่นๆ ก็มีต้นทุนการผลิตสูงเช่นกัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการวิจัยเพื่อนำไขน้ำมันปาล์มจากบ่อบำบัดน้ำเสียมาผลิตไบโอดีเซล (เมทิลเอสเตอร์) เพื่อหาวิธีลดต้นทุนการผลิตน้ำมันทดแทนน้ำมันดีเซลต่อไป
สำหรับประโยชน์ในการใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์นั้นจะช่วยเพิ่มกำลังแรงบิดให้กับเครื่องยนต์ เพิ่มการหล่อลื่น ทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานได้นานทั้งยังช่วยลดมลพิษไอเสียของเครื่องยนต์ ประการสำคัญได้ช่วยประหยัดเงินตราในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลบางส่วนด้วย
ขณะเดียวกันเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไปพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพราะต้นปาล์มสามารถปลูกทดแทนได้ เป็นพลังงานหมุนเวีย แต่น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลังงานสิ้นเปลือง
ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ดูเพิ่มเติม | แก๊สชีวภาพ / แก๊สโซฮอล์ / ดีโซฮอล์ / เอทานอล / โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา / สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย / ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง |
---|