ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส-เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร"

แถว 1: แถว 1:
 +
<div id="bg_g1t">&nbsp;</div>
 +
<div id="bg_g1">
 +
<center><h1>พระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร</h1></center>
 
<div class="kindent">ตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยอุตสาหะ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในทุกพื้นที่ที่ทุรกันดาร ทุกพื้นที่ที่ห่างไกล แม้ที่นั้นจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งแม้แต่ประชาชนคนธรรมดายังไม่เคยได้ยินชื่อและไม่คิดที่จะเดินทางไป หากแต่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดินไทยนี้ กลับเสด็จพระราชดำเนินไปหาราษฎรในหมู่บ้านที่เล็กที่สุด เนื่องเพราะประชาชนที่นั่นได้รับความเดือดร้อน ความช่วยเหลือที่พระองค์ได้พระราชทานล้วนแล้วแต่ตรงตามความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ เพราะพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประสบด้วยพระองค์เอง ทรงสังเกตการณ์และทรงรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิอันเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ของเหล่าพสกนิกรทั้งหลาย จนมีคำกล่าวที่ว่า '''“ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยย่างพระบาทไปถึง”''' ทั้งนี้เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
 
<div class="kindent">ตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยอุตสาหะ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในทุกพื้นที่ที่ทุรกันดาร ทุกพื้นที่ที่ห่างไกล แม้ที่นั้นจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งแม้แต่ประชาชนคนธรรมดายังไม่เคยได้ยินชื่อและไม่คิดที่จะเดินทางไป หากแต่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดินไทยนี้ กลับเสด็จพระราชดำเนินไปหาราษฎรในหมู่บ้านที่เล็กที่สุด เนื่องเพราะประชาชนที่นั่นได้รับความเดือดร้อน ความช่วยเหลือที่พระองค์ได้พระราชทานล้วนแล้วแต่ตรงตามความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ เพราะพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประสบด้วยพระองค์เอง ทรงสังเกตการณ์และทรงรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิอันเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ของเหล่าพสกนิกรทั้งหลาย จนมีคำกล่าวที่ว่า '''“ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยย่างพระบาทไปถึง”''' ทั้งนี้เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
 
</div>
 
</div>
แถว 8: แถว 11:
 
การประกอบพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงไว้เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ทรงมีประสบการณ์และทรงเล็งเห็นปัญหาของสภาพบ้านเมืองและของพสกนิกรอย่างถ่องแท้
 
การประกอบพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงไว้เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ทรงมีประสบการณ์และทรงเล็งเห็นปัญหาของสภาพบ้านเมืองและของพสกนิกรอย่างถ่องแท้
  
เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ การเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้นำมาซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก และต่อเนื่องยาวนานมาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของวังไกลกังวล รถยนต์พระที่นั่งเกิดตกหล่มที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชาวบ้านมาช่วยยกรถที่ตกหล่มจำนวนมาก หลังจากนั้น พระองค์มีพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้านและทรงพบว่าความทุกข์ยากของราษฎรในพื้นที่นี้ คือ ความทุรกันดารของเส้นทาง จนทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ทันเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร หรือแม้แต่นำคนไข้ไปพบแพทย์ได้อย่างทันการ ทั้งที่หมู่บ้านห่างจากอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระมหากรุณาให้ดำเนินการสร้าง[[ถนนห้วยมงคล]]ให้แก่ราษฎร ซึ่งนับเป็นถนนแห่งพระเมตตาสายแรกที่ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้แก่ราษฎรตั้งแต่นั้นมา และนำมาซึ่งโครงการก่อสร้างถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมายหลายสายที่พระราชทานแก่พสกนิกรทั่วประเทศ
+
เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ การเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้นำมาซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก และต่อเนื่องยาวนานมาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของวังไกลกังวล รถยนต์พระที่นั่งเกิดตกหล่มที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชาวบ้านมาช่วยยกรถที่ตกหล่มจำนวนมาก หลังจากนั้น พระองค์มีพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้านและทรงพบว่าความทุกข์ยากของราษฎรในพื้นที่นี้ คือ ความทุรกันดารของเส้นทาง จนทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ทันเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร หรือแม้แต่นำคนไข้ไปพบแพทย์ได้อย่างทันการ ทั้งที่หมู่บ้านห่างจากอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระมหากรุณาให้ดำเนินการสร้าง[[การคมนาคม|ถนนห้วยมงคล]]ให้แก่ราษฎร ซึ่งนับเป็นถนนแห่งพระเมตตาสายแรกที่ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้แก่ราษฎรตั้งแต่นั้นมา และนำมาซึ่งโครงการก่อสร้างถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมายหลายสายที่พระราชทานแก่พสกนิกรทั่วประเทศ
 
</div>
 
</div>
  
แถว 19: แถว 22:
 
ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ มีราษฎรมาคอยเฝ้ารับเสด็จเรียงรายสองข้างทางอย่างเนืองแน่น บางกลุ่มเดินทางรอนแรมมาจากพื้นที่ห่างไกลด้วยความยากลำบากเพราะการคมนาคมยังไม่สะดวก แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดเพียงใดก็ตาม แต่ก็อดทนรอเพื่อจะได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยความจงรักภักดีอย่างเปี่ยมล้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รถยนต์พระที่นั่งหยุดรับของที่ราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นระยะๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินก้นถุงแก่ราษฎรเหล่านั้นและมีพระราชปฏิสันถารไต่ถามทุกข์สุขของราษฎร การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรอย่างใกล้ชิด ทำให้ทรงมีโอกาสศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ บ้านเมือง ความเป็นอยู่ และการดำรงชีพของประชาชน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างลึกซึ้ง หลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเยือนต่างประเทศ ทรงนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ จากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ทรงเริ่มต้นจากการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ คือ [[โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา]] และขยายออกไปยังพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนินไปบ่อยครั้ง เช่น อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น เพชรบุรีและราชบุรี เป็นต้น โดยมีพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง
 
ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ มีราษฎรมาคอยเฝ้ารับเสด็จเรียงรายสองข้างทางอย่างเนืองแน่น บางกลุ่มเดินทางรอนแรมมาจากพื้นที่ห่างไกลด้วยความยากลำบากเพราะการคมนาคมยังไม่สะดวก แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดเพียงใดก็ตาม แต่ก็อดทนรอเพื่อจะได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยความจงรักภักดีอย่างเปี่ยมล้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รถยนต์พระที่นั่งหยุดรับของที่ราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นระยะๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินก้นถุงแก่ราษฎรเหล่านั้นและมีพระราชปฏิสันถารไต่ถามทุกข์สุขของราษฎร การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรอย่างใกล้ชิด ทำให้ทรงมีโอกาสศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ บ้านเมือง ความเป็นอยู่ และการดำรงชีพของประชาชน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างลึกซึ้ง หลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเยือนต่างประเทศ ทรงนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ จากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ทรงเริ่มต้นจากการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ คือ [[โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา]] และขยายออกไปยังพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนินไปบ่อยครั้ง เช่น อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น เพชรบุรีและราชบุรี เป็นต้น โดยมีพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง
 
</div>
 
</div>
 +
 +
 +
'''๓. พระตำหนักประจำภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นฐานการทรงงานและเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรอย่างทั่วถึง'''
 +
<div class="kindent">ที่ประทับระยะแรกๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร เป็นสถานที่ที่หน่วยราชการในพื้นที่จัดถวาย ซึ่งอยู่ในเขตโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือที่ทำการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เมื่อมีการสร้างพระตำหนักประจำภูมิภาคต่างๆ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเหล่านั้นในแต่ละภาคตามลำดับตั้งแต่ต้นปี ดังนี้ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส และพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร อนึ่ง บางปีจะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจะได้ทรงมีโอกาสเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
 +
</div>
 +
 +
ตาราง ก พระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฎร
  
 
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]
 
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:16, 29 กันยายน 2552

 

พระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร

ตลอดช่วงระยะเวลาแห่งการครองราชย์ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยอุตสาหะ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในทุกพื้นที่ที่ทุรกันดาร ทุกพื้นที่ที่ห่างไกล แม้ที่นั้นจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งแม้แต่ประชาชนคนธรรมดายังไม่เคยได้ยินชื่อและไม่คิดที่จะเดินทางไป หากแต่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดินไทยนี้ กลับเสด็จพระราชดำเนินไปหาราษฎรในหมู่บ้านที่เล็กที่สุด เนื่องเพราะประชาชนที่นั่นได้รับความเดือดร้อน ความช่วยเหลือที่พระองค์ได้พระราชทานล้วนแล้วแต่ตรงตามความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ เพราะพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประสบด้วยพระองค์เอง ทรงสังเกตการณ์และทรงรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิอันเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ของเหล่าพสกนิกรทั้งหลาย จนมีคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยย่างพระบาทไปถึง” ทั้งนี้เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยทุกคน


๑. เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรสมดังพระราชปณิธาน

การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นช่วงเวลาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่พสกนิกรชาวไทยได้รับความบอบช้ำทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพจิตใจ พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงประชากอปรกับพระราชจริยวัตรที่งดงาม พระองค์จึงทรงเป็นดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ เป็นหลักยึดมั่น และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ และเมื่อเสด็จนิวัตเพื่อประทับในประเทศไทยเป็นการถาวรในพุทธศักราช ๒๔๙๔ เป็นต้นมา ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะดำเนินพระราชภารกิจดังพระราชปณิธานที่ว่า ”เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

การประกอบพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงไว้เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ทรงมีประสบการณ์และทรงเล็งเห็นปัญหาของสภาพบ้านเมืองและของพสกนิกรอย่างถ่องแท้

เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ การเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้นำมาซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก และต่อเนื่องยาวนานมาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของวังไกลกังวล รถยนต์พระที่นั่งเกิดตกหล่มที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชาวบ้านมาช่วยยกรถที่ตกหล่มจำนวนมาก หลังจากนั้น พระองค์มีพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้านและทรงพบว่าความทุกข์ยากของราษฎรในพื้นที่นี้ คือ ความทุรกันดารของเส้นทาง จนทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ทันเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร หรือแม้แต่นำคนไข้ไปพบแพทย์ได้อย่างทันการ ทั้งที่หมู่บ้านห่างจากอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระมหากรุณาให้ดำเนินการสร้างถนนห้วยมงคลให้แก่ราษฎร ซึ่งนับเป็นถนนแห่งพระเมตตาสายแรกที่ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้แก่ราษฎรตั้งแต่นั้นมา และนำมาซึ่งโครงการก่อสร้างถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมายหลายสายที่พระราชทานแก่พสกนิกรทั่วประเทศ


๒. เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรปัญหาของพสกนิกรทั่วประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรทั่วประเทศก่อน แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ กล่าวคือ ปีละประมาณ ๗ เดือน เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมในหลายภูมิภาค ด้วยพระราชพาหนะต่างๆ เช่น เครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ เฮลิคอปเตอร์ เรือยนต์ เรือพาย หรือแม้แต่การทรงลาในบางพื้นที่ และบางครั้งทรงขับรถจิ๊ปพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง โดยก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรจะทรงศึกษาสถานการณ์ล่วงหน้าทุกครั้ง ทรงพิจารณาสภาพเส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ พื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ และภูมิประเทศต่างๆ ตลอดจนความยุ่งยากอันเป็นปัญหาที่ราษฎรในพื้นที่ประสบอยู่ทุกครั้ง

ในเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ ของพื้นที่ภาคกลาง และในเดือนพฤศจิกายนได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศ อากาศร้อนจัดและหนาวจัด ถนนหนทางขรุขระทุรกันดาร ราษฎรส่วนใหญ่ยากจนมาก หากความลำบากนั้นก็มิได้ทำให้พระองค์ทรงย่อท้อ แต่ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรเป็นล้นพ้น ดังที่ปรากฏในภาพพระราชกรณียกิจที่ตราตรึงและซาบซึ้งอยู่ในดวงใจของราษฎรทั่วประเทศทุกยุคสมัยนั่นก็คือ ภาพที่ทรงน้อมพระองค์พร้อมแย้มพระโอษฐ์รับดอกบัวที่เหี่ยวโรยจากแม่เฒ่าชาวนครพนม วัย ๑๐๒ ปี จากนั้น ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ภาคเหนือ และในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรภาคใต้ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศ

ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ มีราษฎรมาคอยเฝ้ารับเสด็จเรียงรายสองข้างทางอย่างเนืองแน่น บางกลุ่มเดินทางรอนแรมมาจากพื้นที่ห่างไกลด้วยความยากลำบากเพราะการคมนาคมยังไม่สะดวก แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดเพียงใดก็ตาม แต่ก็อดทนรอเพื่อจะได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยความจงรักภักดีอย่างเปี่ยมล้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รถยนต์พระที่นั่งหยุดรับของที่ราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นระยะๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินก้นถุงแก่ราษฎรเหล่านั้นและมีพระราชปฏิสันถารไต่ถามทุกข์สุขของราษฎร การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรอย่างใกล้ชิด ทำให้ทรงมีโอกาสศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ บ้านเมือง ความเป็นอยู่ และการดำรงชีพของประชาชน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างลึกซึ้ง หลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเยือนต่างประเทศ ทรงนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ จากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ทรงเริ่มต้นจากการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ คือ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และขยายออกไปยังพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนินไปบ่อยครั้ง เช่น อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น เพชรบุรีและราชบุรี เป็นต้น โดยมีพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง


๓. พระตำหนักประจำภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นฐานการทรงงานและเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรอย่างทั่วถึง

ที่ประทับระยะแรกๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร เป็นสถานที่ที่หน่วยราชการในพื้นที่จัดถวาย ซึ่งอยู่ในเขตโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือที่ทำการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ เมื่อมีการสร้างพระตำหนักประจำภูมิภาคต่างๆ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเหล่านั้นในแต่ละภาคตามลำดับตั้งแต่ต้นปี ดังนี้ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส และพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร อนึ่ง บางปีจะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจะได้ทรงมีโอกาสเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

ตาราง ก พระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฎร