ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย"

(สร้างหน้าใหม่: <center>'''ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำ...)
 
(ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์)
แถว 6: แถว 6:
 
แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง
 
แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง
  
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ความว่า "หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด" และให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นในพื้นที่ดำเนินการประมาณ 8,700 ไร่ ให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้านป่าไม้เอนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสมควบคู่กับการอนุรักษ์และปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ โดยเน้นการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินงานในรูปแบบ "ป่าไม้หมู่บ้าน" คือให้ราษฎรดำเนินการเองเป็นเจ้าของเอง ปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้เอง ระยะแรกให้หน่วยงานราชการเข้าไปสาธิตและแนะนำให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้า ซึ่งได้เพาะกล้าไม้ ทั้งไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ พร้อมทั้งได้ศึกษาการป้องกันไฟป่าแบบ "ระบบป่าเปียก" ต่อมาได้มีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อการปรับบำรุงดิน เพราะหญ้าแฝกเปรียบเสมือน กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าสามารถดักตะกอนดินทำให้เกิดหน้าดินและความชื้นในดินด้วย
+
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ความว่า "หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด" และให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นในพื้นที่ดำเนินการประมาณ 8,700 ไร่ ให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้านป่าไม้เอนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสมควบคู่กับการอนุรักษ์และปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ โดยเน้นการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินงานในรูปแบบ "ป่าไม้หมู่บ้าน" คือให้ราษฎรดำเนินการเองเป็นเจ้าของเอง ปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้เอง ระยะแรกให้หน่วยงานราชการเข้าไปสาธิตและแนะนำให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้า ซึ่งได้เพาะกล้าไม้ ทั้งไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ พร้อมทั้งได้ศึกษาการป้องกันไฟป่าแบบ "ระบบป่าเปียก" ต่อมาได้มีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อการปรับบำรุงดิน เพราะหญ้าแฝกเปรียบเสมือน กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าสามารถดักตะกอนดินทำให้เกิดหน้าดินและความชื้นในดินด้วย
  
นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังมีการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพในด้านต่างๆ เช่น เกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพป่าไม้และป่าไม้เศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทราย ซึ่งเป็นสัตว์พื้นเพดั้งเดิมและนำไปปล่อยให้ใช้ชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
+
นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังมีการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพในด้านต่างๆ เช่น เกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพป่าไม้และป่าไม้เศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทราย ซึ่งเป็นสัตว์พื้นเพดั้งเดิมและนำไปปล่อยให้ใช้ชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
 
  </div>
 
  </div>
 
  
 
=='''การดำเนินงานภายในศูนย์'''==
 
=='''การดำเนินงานภายในศูนย์'''==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:14, 22 เมษายน 2551

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี

ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์

แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง

แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ความว่า "หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด" และให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นในพื้นที่ดำเนินการประมาณ 8,700 ไร่ ให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้านป่าไม้เอนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสมควบคู่กับการอนุรักษ์และปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ โดยเน้นการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินงานในรูปแบบ "ป่าไม้หมู่บ้าน" คือให้ราษฎรดำเนินการเองเป็นเจ้าของเอง ปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้เอง ระยะแรกให้หน่วยงานราชการเข้าไปสาธิตและแนะนำให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้า ซึ่งได้เพาะกล้าไม้ ทั้งไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ พร้อมทั้งได้ศึกษาการป้องกันไฟป่าแบบ "ระบบป่าเปียก" ต่อมาได้มีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อการปรับบำรุงดิน เพราะหญ้าแฝกเปรียบเสมือน กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าสามารถดักตะกอนดินทำให้เกิดหน้าดินและความชื้นในดินด้วย

นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังมีการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพในด้านต่างๆ เช่น เกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรในระบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพป่าไม้และป่าไม้เศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทราย ซึ่งเป็นสัตว์พื้นเพดั้งเดิมและนำไปปล่อยให้ใช้ชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติดังเช่นอดีตที่ผ่านมา

การดำเนินงานภายในศูนย์

เพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ บรรลุผลเป็นรูปธรรม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จึงได้พิจารณากำหนดงานเป็น 5 แผนงานดังนี้

แผนงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ

       * งานอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ 
       ๑. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 
       ๒. โครงการฟื้นฟูสภาพป่าไม้อนุรักษ์และป่าไม้เศรษฐกิจ 
       ๓. โครงการปรับเปลี่ยนพันธุ์ไม้ในแปลงป่าปลูกเดิม 
       ๔. โครงการเพาะกล้าไม้ 
       ๕. โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า 
       ๖. โครงการจัดการควบคุมไฟป่า 
       ๗. โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
       ๘. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน 
       ๙. โครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศน์

* งานอนุรักษ์ดินและน้ำ

       ๑. โครงการฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินและอนุรักษ์ดินและน้ำ 

แผนงานศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

* งานศึกษาและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

       ๑. โครงการศึกษาการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์เพื่อการอนุรักษ์ 
       ๒. โครงการศึกษาทดลองการใช้พลังงานธรรมชาติ 
       ๓. โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 
       ๔. โครงการศึกษาและสำรวจทรัพยากรป่าไม้

* งานศึกษาและพัฒนาด้านความเป็นอยู่พื้นฐานและการประกอบอาชีพ

       ๑. โครงการศึกษาทดลองการใช้ประโยชน์จากต้นมะม่วงหิมพานต์ 
       ๒. โครงการศึกษาทดลองการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมอาชีพ 
       ๓. โครงการศึกษาทดลองรูปแบบการเกษตรแบบยั่งยืน 
       ๔. โครงการศึกษาทดลองด้านพืชเพื่อส่งเสริมอาชีพ 

แผนงานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ

       * งานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสภาพแวดล้อม 
       ๑. โครงการขยายผลการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก 
       ๒. โครงการถ่ายทอดข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน
       •งานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านความเป็นอยู่พื้นฐาน และการประกอบอาชีพ 
       ๑. โครงการถ่ายทอดและขยายผลเทคโนโลยีการเกษตร

แผนงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

       * ด้านเศรษฐกิจ 
       ๑. โครงการส่งเสริมเกษตรกรเพาะชำกล้าไม้หายาก 
       ๒. โครงการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงโคนม 
       ๓. โครงการส่งเสริมอาชีพการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 
       ๔. โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน 
       ๕. โครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร 
       6. โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
       

* ด้านสังคม

       ๑. โครงการพัฒนาเยาวชนและสตรี 
       ๒. โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 
       ๓. โครงการสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 
       ๔. โครงการพัฒนาสุขภาพอนามัย 
       ๕. โครงการด้านการศึกษา
       

* ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

       ๑. โครงการจัดหาน้ำและบริการจัดการน้ำ 
       ๒. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

แผนงานบริหารโครงการ

       * งานอำนวยการ 
       ๑. โครงการบริหารจัดการ 
       ๒. โครงการจัดการและจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 
       ๓. โครงการสำรวจข้อมูลดินและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน 
       ๔. โครงการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่ดินและรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดิน 
       ๕. โครงการรักษาความปลอดภัย
       

* งานประชาสัมพันธ์

       ๑. โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 
       ๒. โครงการพัฒนาและจัดการแหล่งท่องเที่ยว


พื้นที่ดำเนินงาน

๑. พื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จำนวน 22,600 ไร่

๒. พื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของระบบนิเวศน์ ได้แก่ พื้นที่บริเวณเขาสามพระยา พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และบริเวณเขาหุบสบู่-หนองก้าง จำนวน 19,700 ไร่

๓. พื้นที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน 340 ไร่

๔. หมู่บ้านเป้าหมายในการศึกษา พัฒนา ขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเป็นหมู่บ้านภายในศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยทราย ฯ จำนวน 2 หมู่บ้าน และเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จำนวน 16 หมู่บ้าน

๕. ศูนย์สาขา โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี่


หน่วยงานที่รับผิดชอบ

โครงการห้วยทราย.jpg
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • กรมปศุสัตว์
  • สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • กรมป่าไม้
  • กรมประมง
  • สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • กรมชลประทาน
  • กรมที่ดิน
  • สภากาชาดไทย
  • กรมพัฒนาที่ดิน
  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กรมวิชาการเกษตร
  • กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรมการพัฒนาชุมชน
  • กรมอาชีวศึกษา
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรมส่งเสริมการเกษตร
  • กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท
  • กรมการปกครอง
  • สำนักงานการประถมศึกษา


ที่ตั้ง-ติดต่อ

แผนที่ห้วยทราย.gif
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯตามเส้นทางถนนสายเพชรเกษม ประมาณ 220 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,356.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,973,075 ไร่

โทรศัพท์ 0-3259-3252-3 โทรสาร 0-3259-3252