ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริญญาฯ-มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ"

แถว 6: แถว 6:
  
  
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">อยู่ระหว่างการจัดทำ
+
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">สภามหาวิทยาลัยกริฟฟิธมีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช  พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย  ด้วยตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณอันโดดเด่นในฐานะพระประมุขของประเทศไทย</div>
</div>
 
</div>
 
  
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ระเบียบข้อ ๑๑.๒ ของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ  เกี่ยวกับปริญญา  ได้บัญญัติไว้ส่วนหนึ่งว่า</div>
  
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">สภามหาวิทยาลัยสามารถจะยกย่องให้เกียรติบุคคลใดก็ตาม  ที่สภาเห็นว่าประกอบคุณงามความดีและอุทิศตนอย่างเด่นชัดเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือมหาวิทยาลัย  หรือด้านวิชาการ  โดยการมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยแก่ชุคคลผู้นั้น</div>
  
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ในการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาครั้งนี้  สภามหาวิทยาลัยกริฟฟิธตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันโดดเด่นเพื่อการพัฒนาประเทซไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิริยอุตสาหะในการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวไทยโดยทรงดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมายหลายโครงการ</div>
  
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">
+
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี  แห่งรัชสมัยที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นแน่วแน่ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองและพัฒนาภูมิปัญญาของราษฎร  ระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ท้าทายอย่างใหญ่หลวง  แต่นับว่าประเทศไทยโชคดีเป็นอย่างมากที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุทิศพระองค์  ทรงพระปรีชาสามารถ  และทรงตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม  ความเป็นผู้นำที่ชาญฉลาดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น หลักประกันความอยู่รอดของประชาชนชาวไทย ในฐานะชาติที่มีความเป็นปึกแผ่นเป็นหนึ่งเดียว</div>
</div>
 
  
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ  ในฐานะดังกล่าวทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามสิทธิในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๓ ประการ  ได้แก่  สิทธิที่จะพระราชทานคำแนะนำ  สิทธิที่จะพระราชทานคำปรึกษา  และสิทธิที่จะทรงสนับสนุนและพระราชทานกำลังใจ  ในการทางใช้สิทธิทั้ง ๓ ประการนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริอันนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยอย่างชาญฉลาด  ความเป็นรัฐบุรุษของพระองค์ได้ทำให้ความรุนแรงของสถานการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นหลายครั้งบรรเทาลง และนำความสงบสุขมาสู่กลุ่มที่ขัดแย้งกัน</div>
  
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมหัวเมืองเป็นครั้งแรก  อันได้แก่จังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งถือว่าเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ  นับเป็นครั้งแรกของการเสด็จพระราชดำเนินไปทางเยือน  ซึ่งต่อมาได้ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเสด็จพระราชดำเนินไปทุกภูมิภาคของประเทศ  เพื่อทรงรับฟังปัญหาของเหล่าพสกนิกร และทรงพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อให้สามาถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฟังประชาชน และตั้งพระราชหฤทัยทรงงานเพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่พสกนิกรเหล่านั้น  ปัจจุบันนี้ถือเป็นพระราชกิจประจำว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงใช้เวลานับวัน  นับสัปดาห์  หรือแม้แต่นับเดือน  นอกเขตกรุงเทพมหานคร  เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกภูมิภาคของประเทศ</div>
  
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">โครงการต่างๆ ประมาณ ๒,๖๐๐ โครงการ  ที่ได้รับการวางแผนงานเป็นพิเศษเพื่อปรับปรุงสภาพชีวิตของประชาชน  จึงได้เริ่มดำเนินการด้วยการเอาพระราชหฤทัยใส่และการพระราชทานคำแนะนำ  ทรงวางแบบอย่างสำหรับประชาชนชาวไทยว่า  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจะต้องควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตสำหรับประชาชน  โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย</div>
  
<br>
+
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศพระองค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา  นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒  เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้ง  “มูลนิธิอานันทมหิดล”  เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช รัชการที่ ๘  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานความช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์แก่บัณฑิตที่มีผลการศึกษายอดเยี่ยม ให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศในสาขาวิชาอันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ  อีกทั้งยังพระราชทานรางวัลและ ทุนการศึกษามากมายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้ที่สมควรได้รับรางวัล  ในการพระราชทานความช่วยเหลือแก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาส  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างโรงเรียน และพระราชทานโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กเหล่านี้  ก่อนหน้านั้นเป็นเรื่องที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับพวกเขา</div>
 +
 
 +
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสถาบันอุดมศึกษา ของเครือรัฐออสเตรเลีย  การที่ทรงยึดมั่นอย่างแน่นแฟ้นในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทยเป็นจุดมุ่งหมายที่มหาวิทยาลัยกริฟฟิธมีส่วนร่วม และให้ความสำคัญอย่างที่สุด</div>
  
<p  align="right" style="margin-right: 20%;">ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ</p>
 
  
 +
<br>
  
 
----
 
----
แถว 41: แถว 46:
  
 
[[หมวดหมู่:ปริญญาฯ]]
 
[[หมวดหมู่:ปริญญาฯ]]
[[Category: ระหว่างทำ]]
 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:45, 29 กุมภาพันธ์ 2551

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ เครือรัฐออสเตรเลีย

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๑


สภามหาวิทยาลัยกริฟฟิธมีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย ด้วยตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณอันโดดเด่นในฐานะพระประมุขของประเทศไทย
ระเบียบข้อ ๑๑.๒ ของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ เกี่ยวกับปริญญา ได้บัญญัติไว้ส่วนหนึ่งว่า
สภามหาวิทยาลัยสามารถจะยกย่องให้เกียรติบุคคลใดก็ตาม ที่สภาเห็นว่าประกอบคุณงามความดีและอุทิศตนอย่างเด่นชัดเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือมหาวิทยาลัย หรือด้านวิชาการ โดยการมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยแก่ชุคคลผู้นั้น
ในการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยกริฟฟิธตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันโดดเด่นเพื่อการพัฒนาประเทซไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิริยอุตสาหะในการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวไทยโดยทรงดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมายหลายโครงการ
ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี แห่งรัชสมัยที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นแน่วแน่ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองและพัฒนาภูมิปัญญาของราษฎร ระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ท้าทายอย่างใหญ่หลวง แต่นับว่าประเทศไทยโชคดีเป็นอย่างมากที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุทิศพระองค์ ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ความเป็นผู้นำที่ชาญฉลาดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น หลักประกันความอยู่รอดของประชาชนชาวไทย ในฐานะชาติที่มีความเป็นปึกแผ่นเป็นหนึ่งเดียว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ในฐานะดังกล่าวทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามสิทธิในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๓ ประการ ได้แก่ สิทธิที่จะพระราชทานคำแนะนำ สิทธิที่จะพระราชทานคำปรึกษา และสิทธิที่จะทรงสนับสนุนและพระราชทานกำลังใจ ในการทางใช้สิทธิทั้ง ๓ ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริอันนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยอย่างชาญฉลาด ความเป็นรัฐบุรุษของพระองค์ได้ทำให้ความรุนแรงของสถานการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นหลายครั้งบรรเทาลง และนำความสงบสุขมาสู่กลุ่มที่ขัดแย้งกัน
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมหัวเมืองเป็นครั้งแรก อันได้แก่จังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ นับเป็นครั้งแรกของการเสด็จพระราชดำเนินไปทางเยือน ซึ่งต่อมาได้ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเสด็จพระราชดำเนินไปทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อทรงรับฟังปัญหาของเหล่าพสกนิกร และทรงพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อให้สามาถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฟังประชาชน และตั้งพระราชหฤทัยทรงงานเพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่พสกนิกรเหล่านั้น ปัจจุบันนี้ถือเป็นพระราชกิจประจำว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงใช้เวลานับวัน นับสัปดาห์ หรือแม้แต่นับเดือน นอกเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการต่างๆ ประมาณ ๒,๖๐๐ โครงการ ที่ได้รับการวางแผนงานเป็นพิเศษเพื่อปรับปรุงสภาพชีวิตของประชาชน จึงได้เริ่มดำเนินการด้วยการเอาพระราชหฤทัยใส่และการพระราชทานคำแนะนำ ทรงวางแบบอย่างสำหรับประชาชนชาวไทยว่า การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจะต้องควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตสำหรับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศพระองค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้ง “มูลนิธิอานันทมหิดล” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช รัชการที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานความช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์แก่บัณฑิตที่มีผลการศึกษายอดเยี่ยม ให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศในสาขาวิชาอันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ อีกทั้งยังพระราชทานรางวัลและ ทุนการศึกษามากมายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้ที่สมควรได้รับรางวัล ในการพระราชทานความช่วยเหลือแก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างโรงเรียน และพระราชทานโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กเหล่านี้ ก่อนหน้านั้นเป็นเรื่องที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับพวกเขา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสถาบันอุดมศึกษา ของเครือรัฐออสเตรเลีย การที่ทรงยึดมั่นอย่างแน่นแฟ้นในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทยเป็นจุดมุ่งหมายที่มหาวิทยาลัยกริฟฟิธมีส่วนร่วม และให้ความสำคัญอย่างที่สุด





มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ.jpg
นายจอห์น เอ็ม. มาครอสสัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ เครือรัฐออสเตรเลีย
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๑


มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ2.jpg
ฉลองพระองค์ครุยที่มหาวิทยาลัยกรฟิฟธทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย



Dot orange2.gif หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ Dot orange2.gif บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ Dot orange2.gif บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ Dot orange2.gif บัญชีรางวัลฯ Dot orange2.gif พระราชกรณียกิจ