ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกองค์อัครศิลปิน"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 10: | แถว 10: | ||
<h3>พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพ</h3> | <h3>พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพ</h3> | ||
− | <div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินผู้มีศิลปะในจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการถ่ายภาพและงานจิตรกรรม ด้วยทรงได้รับถ่ายทอดพระปรีชาสามารถนี้จากสมเด็จพระบรมราชชนนี ตั้งแต่พระชนมพรรษา ๘ พรรษา ทรงเริ่มถ่ายภาพเป็นครั้งแรกเมื่อตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ สถานที่ต่างๆ ในฐานะ ”พระอนุชา” จึงทรงเสมือนช่างภาพส่วนพระองค์ | + | [[ภาพ:061009-ถ่ายรูป.jpg|left|150px]]<div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินผู้มีศิลปะในจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการถ่ายภาพและงานจิตรกรรม ด้วยทรงได้รับถ่ายทอดพระปรีชาสามารถนี้จากสมเด็จพระบรมราชชนนี ตั้งแต่พระชนมพรรษา ๘ พรรษา ทรงเริ่มถ่ายภาพเป็นครั้งแรกเมื่อตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ สถานที่ต่างๆ ในฐานะ ”พระอนุชา” จึงทรงเสมือนช่างภาพส่วนพระองค์ |
ความสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพของพระองค์เป็นไปอย่างลึกซึ้ง เพราะทรงให้ความสำคัญเสมือนเป็น “อาชีพ” พระองค์ได้พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อลงพิมพ์ในนิตยสาร “สแตนดาร์ด” ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรไชยากร แม้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ | ความสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพของพระองค์เป็นไปอย่างลึกซึ้ง เพราะทรงให้ความสำคัญเสมือนเป็น “อาชีพ” พระองค์ได้พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อลงพิมพ์ในนิตยสาร “สแตนดาร์ด” ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรไชยากร แม้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ | ||
แถว 25: | แถว 25: | ||
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่คณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อสมทบทุน “โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์” ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ | พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่คณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อสมทบทุน “โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์” ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ | ||
− | <div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสนพระราชหฤทัยด้านการดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แม้ว่าจะมีพระปรีชาสามารถทรงดนตรีได้เกือบทุกชนิด ประกอบด้วย เปียโน กีตาร์ ฟลุต ไวโอลิน เครื่องเป่าทั้งชนิดเครื่องทองเหลืองและเครื่องลมไม้ แต่ที่ทรงโปรดปรานมากเป็นพิเศษคือ แซ็กโซโฟน คลาริเนต และทรัมเป็ต ซึ่งพระองค์ยังทรงเครื่องดนตรีประเภทนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน | + | [[ภาพ:061009-ดนตรี1.jpg|left|200px]]<div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสนพระราชหฤทัยด้านการดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แม้ว่าจะมีพระปรีชาสามารถทรงดนตรีได้เกือบทุกชนิด ประกอบด้วย เปียโน กีตาร์ ฟลุต ไวโอลิน เครื่องเป่าทั้งชนิดเครื่องทองเหลืองและเครื่องลมไม้ แต่ที่ทรงโปรดปรานมากเป็นพิเศษคือ แซ็กโซโฟน คลาริเนต และทรัมเป็ต ซึ่งพระองค์ยังทรงเครื่องดนตรีประเภทนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน |
พระปรีชาสามารถด้านศิลปะที่มีอยู่เปี่ยมล้น ทำให้ทรงศึกษาตามทฤษฎีแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทรงพัฒนาการทรงดนตรีได้ก้าวไกลเหลือคณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถในดนตรีแจ๊ส ซึ่งนอกจากจะทรงเป็นนักดนตรีผู้รักการเล่นดนตรีด้วยความปราดเปรื่องแล้ว ยังทรงเป็นผู้ถ่ายทอดในฐานะของ “ครู” ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วยดังจะเห็นได้จากทรงฝึกหัดดนตรีให้กับแพทย์และราชองครักษ์ผู้ถวายการอภิบาล จนเกิดเป็นวงดนตรี “สหาย | พระปรีชาสามารถด้านศิลปะที่มีอยู่เปี่ยมล้น ทำให้ทรงศึกษาตามทฤษฎีแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทรงพัฒนาการทรงดนตรีได้ก้าวไกลเหลือคณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถในดนตรีแจ๊ส ซึ่งนอกจากจะทรงเป็นนักดนตรีผู้รักการเล่นดนตรีด้วยความปราดเปรื่องแล้ว ยังทรงเป็นผู้ถ่ายทอดในฐานะของ “ครู” ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วยดังจะเห็นได้จากทรงฝึกหัดดนตรีให้กับแพทย์และราชองครักษ์ผู้ถวายการอภิบาล จนเกิดเป็นวงดนตรี “สหาย | ||
แถว 49: | แถว 49: | ||
'''ร่วมบรรเลง ร่วมประสานใจ''' | '''ร่วมบรรเลง ร่วมประสานใจ''' | ||
− | ดนตรีคือสื่อเชื่อมใจ เชื่อมสายสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดที่จะร่วมทรงดนตรีกับบุคคลต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น “วงลายคราม” “วง อ.ส. วันศุกร์” และ “วงสหายพัฒนา” มีพระราชดำริให้กรมศิลปากรจัดทำประชุมโน้ตดนตรีไทยและพระราชทานทุนในการจัดพิมพ์ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นการบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากล เป็นการเผยแพร่วิชาดนตรีไทยไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง | + | [[ภาพ:061009-ดนตรี2.jpg|right|150px]]ดนตรีคือสื่อเชื่อมใจ เชื่อมสายสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดที่จะร่วมทรงดนตรีกับบุคคลต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น “วงลายคราม” “วง อ.ส. วันศุกร์” และ “วงสหายพัฒนา” มีพระราชดำริให้กรมศิลปากรจัดทำประชุมโน้ตดนตรีไทยและพระราชทานทุนในการจัดพิมพ์ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นการบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากล เป็นการเผยแพร่วิชาดนตรีไทยไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง |
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศเพื่อทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศช่วงพุทธศักราช ๒๕๐๕ - ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในหลายโอกาส ด้วยพระปรีชาสามารถเป็นเลิศด้านการดนตรีเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปสาธารณรัฐออสเตรีย ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย[[สมาชิกฯ-สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา|ประกาศนียบัตรให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข ๒๓ จากสถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา]] (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งกรุงเวียนนา) เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ | เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศเพื่อทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศช่วงพุทธศักราช ๒๕๐๕ - ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในหลายโอกาส ด้วยพระปรีชาสามารถเป็นเลิศด้านการดนตรีเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปสาธารณรัฐออสเตรีย ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย[[สมาชิกฯ-สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา|ประกาศนียบัตรให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข ๒๓ จากสถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา]] (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งกรุงเวียนนา) เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ | ||
แถว 56: | แถว 56: | ||
<h3>แต้มเติมใจให้เต็ม ด้วยเส้นและสี</h3> | <h3>แต้มเติมใจให้เต็ม ด้วยเส้นและสี</h3> | ||
<div class="kindent">พระปรีชาสามารถด้านจิตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉายชัดตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เพียงทรงศึกษาด้วยพระองค์เองก็ทรงเข้าใจ และสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถในภาพวาดฝีพระหัตถ์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ ทรงมุ่งมั่นกับการวาดภาพมากยิ่งขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว และทรงโปรดปรานที่จะวาดภาพหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นภาพเหมือน ภาพที่แสดงออกซึ่งความรู้สึกที่รุนแรงแบบเอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism) ภาพแบบคิวบิสม์ (Cubism) ภาพแบบนามธรรม (Abstract) และภาพแบบกึ่งนามธรรม (Semi-abstract) เทคนิคที่ทรงใช้มากในการเขียนภาพคือ เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๒ -๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวาดภาพไว้เป็นจำนวนมากถึง ๑๖๗ ภาพ | <div class="kindent">พระปรีชาสามารถด้านจิตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉายชัดตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เพียงทรงศึกษาด้วยพระองค์เองก็ทรงเข้าใจ และสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถในภาพวาดฝีพระหัตถ์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ ทรงมุ่งมั่นกับการวาดภาพมากยิ่งขึ้นภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว และทรงโปรดปรานที่จะวาดภาพหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นภาพเหมือน ภาพที่แสดงออกซึ่งความรู้สึกที่รุนแรงแบบเอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism) ภาพแบบคิวบิสม์ (Cubism) ภาพแบบนามธรรม (Abstract) และภาพแบบกึ่งนามธรรม (Semi-abstract) เทคนิคที่ทรงใช้มากในการเขียนภาพคือ เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๒ -๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวาดภาพไว้เป็นจำนวนมากถึง ๑๖๗ ภาพ | ||
+ | |||
+ | [[ภาพ:061009-วาดรูป.jpg|center]] | ||
หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ศิลปินสมัครเล่นที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททรงให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ว่า | หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ศิลปินสมัครเล่นที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททรงให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ว่า | ||
แถว 64: | แถว 66: | ||
</div> | </div> | ||
<h3>ปั้นรูปงาม ปั้นความตั้งใจ</h3> | <h3>ปั้นรูปงาม ปั้นความตั้งใจ</h3> | ||
− | <div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสนพระราชหฤทัยและมีพระปรีชาสามารถในงานด้านประติมากรรมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าศิลปกรรมแขนงอื่น แม้ว่าจะทรงมีผลงานฝีพระหัตถ์ไม่มากเท่างานจิตรกรรม แต่พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ ในการปั้น หล่อและขึ้นแม่พิมพ์ด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปั้นหล่อพระพุทธรูป มีพระราชดำริให้สร้างพระผงพิมพ์จิตรลดาขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แกะแม่พิมพ์ด้วยหินลับมีดโกน หล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ แล้วทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้งจากรูปหล่อปูนปลาสเตอร์ ทรงบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามวิธีส่วนพระองค์สำเร็จเป็นองค์พระพิมพ์ ทรงมุ่งหมายให้ผู้ที่ได้รับพระราชทาน “ให้ทำดีเหมือนกับการปิดทองหลังองค์พระพิมพ์” | + | [[ภาพ:061009-งานปั้น.jpg|left]]<div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสนพระราชหฤทัยและมีพระปรีชาสามารถในงานด้านประติมากรรมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าศิลปกรรมแขนงอื่น แม้ว่าจะทรงมีผลงานฝีพระหัตถ์ไม่มากเท่างานจิตรกรรม แต่พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ ในการปั้น หล่อและขึ้นแม่พิมพ์ด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปั้นหล่อพระพุทธรูป มีพระราชดำริให้สร้างพระผงพิมพ์จิตรลดาขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แกะแม่พิมพ์ด้วยหินลับมีดโกน หล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ แล้วทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้งจากรูปหล่อปูนปลาสเตอร์ ทรงบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามวิธีส่วนพระองค์สำเร็จเป็นองค์พระพิมพ์ ทรงมุ่งหมายให้ผู้ที่ได้รับพระราชทาน “ให้ทำดีเหมือนกับการปิดทองหลังองค์พระพิมพ์” |
ทรงเปิดโอกาสให้ผู้สนใจงาน ประติมากรรมเข้าชมการทำงานอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้ที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายไพฑูรย์เมืองสมบูรณ์ ผู้ปั้น “พระพุทธนวราชบพิตร” ดำเนินการในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ให้ผู้สนใจได้เข้าชมเพื่อเกิดความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของไทย | ทรงเปิดโอกาสให้ผู้สนใจงาน ประติมากรรมเข้าชมการทำงานอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้ที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายไพฑูรย์เมืองสมบูรณ์ ผู้ปั้น “พระพุทธนวราชบพิตร” ดำเนินการในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ให้ผู้สนใจได้เข้าชมเพื่อเกิดความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของไทย | ||
</div> | </div> | ||
+ | <div style="clear:both"></div> | ||
<h3>สื่อภาษา สื่อพระอักษร สื่อสอนใจ</h3> | <h3>สื่อภาษา สื่อพระอักษร สื่อสอนใจ</h3> | ||
+ | |||
+ | [[ภาพ:061009-หนังสือ.jpg|center]] | ||
<div class="kindent">กว่า ๖๐ ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระเมตตาแก่พสกนิกรของพระองค์ด้วยภาษาและวรรณกรรม ทุกตัวอักษรที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ล้วนเปี่ยมไปด้วยแง่คิดสอนใจ รวมถึงความหมายของความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร การเตือนใจให้พสกนิกรของพระองค์ได้มีสติ “รู้ตื่น” “รู้เบิกบาน” หลายครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะชี้แนะและสื่อ “สาร” ถึงพสกนิกรของพระองค์ผ่านทางพระราชนิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็น “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” พุทธศักราช ๒๕๑๙ “ติโต” พุทธศักราช ๒๕๓๗ และ ”พระมหาชนก” พุทธศักราช ๒๕๓๙ ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่มีสารัตถะในการบำเพ็ญเพียรทำความดี ด้วยวิริยอุตสาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยให้เป็นของขวัญพระราชทานแก่พสกนิกรของพระองค์เนื่องใน | <div class="kindent">กว่า ๖๐ ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระเมตตาแก่พสกนิกรของพระองค์ด้วยภาษาและวรรณกรรม ทุกตัวอักษรที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ล้วนเปี่ยมไปด้วยแง่คิดสอนใจ รวมถึงความหมายของความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร การเตือนใจให้พสกนิกรของพระองค์ได้มีสติ “รู้ตื่น” “รู้เบิกบาน” หลายครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะชี้แนะและสื่อ “สาร” ถึงพสกนิกรของพระองค์ผ่านทางพระราชนิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็น “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” พุทธศักราช ๒๕๑๙ “ติโต” พุทธศักราช ๒๕๓๗ และ ”พระมหาชนก” พุทธศักราช ๒๕๓๙ ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่มีสารัตถะในการบำเพ็ญเพียรทำความดี ด้วยวิริยอุตสาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยให้เป็นของขวัญพระราชทานแก่พสกนิกรของพระองค์เนื่องใน | ||
โอกาสกาญจนาภิเษก ด้วยความรักและเป็นผลงานวรรณกรรมที่ทรงโปรดปรานมากเรื่องหนึ่ง ดังพระราชดำรัสในโอกาสที่รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษนำคณะกรรมการดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือพระราช | โอกาสกาญจนาภิเษก ด้วยความรักและเป็นผลงานวรรณกรรมที่ทรงโปรดปรานมากเรื่องหนึ่ง ดังพระราชดำรัสในโอกาสที่รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษนำคณะกรรมการดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือพระราช | ||
แถว 77: | แถว 82: | ||
<span style="display:block; width:90%; color:#00AEEF; text-align:left">“...หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรับรองได้ว่า เป็นหนังสือที่ไม่มีที่เทียม. ต้องอวดเสียหน่อยว่าไม่มีที่เทียม แล้วก็ท่านผู้ที่เป็นศิลปิน ผู้ที่เป็นกรรมการ และผู้ที่สนับสนุนย่อมจะทราบดีว่างานที่เราทำนั้นคุ้มแค่ไหน...ฉะนั้นในที่นี้จะต้องขอบใจท่านทั้งหลายทุกคนที่มาชุมนุมกันในที่นี้ เพื่อที่จะรับรู้ว่าหนังสือนี้มีขึ้นแล้ว. ที่ต้องขอบใจเพราะว่าหนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้าเอง เป็นสิ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ... และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และเป็นประโยชน์กับประชาชนทั้งไทยและเทศ...”</span></center> | <span style="display:block; width:90%; color:#00AEEF; text-align:left">“...หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรับรองได้ว่า เป็นหนังสือที่ไม่มีที่เทียม. ต้องอวดเสียหน่อยว่าไม่มีที่เทียม แล้วก็ท่านผู้ที่เป็นศิลปิน ผู้ที่เป็นกรรมการ และผู้ที่สนับสนุนย่อมจะทราบดีว่างานที่เราทำนั้นคุ้มแค่ไหน...ฉะนั้นในที่นี้จะต้องขอบใจท่านทั้งหลายทุกคนที่มาชุมนุมกันในที่นี้ เพื่อที่จะรับรู้ว่าหนังสือนี้มีขึ้นแล้ว. ที่ต้องขอบใจเพราะว่าหนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้าเอง เป็นสิ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ... และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน และเป็นประโยชน์กับประชาชนทั้งไทยและเทศ...”</span></center> | ||
− | + | <div style="clear:both"></div> | |
<h3>พระปรีชาสามารถด้านสถาปัตยกรรม</h3> | <h3>พระปรีชาสามารถด้านสถาปัตยกรรม</h3> | ||
<div class="kindent">แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมิได้ทรงงานด้านสถาปัตยกรรมด้วยพระองค์เอง แต่ด้วยพระบรมราชวินิจฉัยที่พระราชทานต่อผลงานต่างๆ ได้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงมีต่อศิลปะแขนงนี้ได้เป็นอย่างดียิ่งไม่ว่าจะเป็นพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการก่อสร้างพระอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ศาลสมเด็จพระนเรศวร จังหวัดหนองบัวลำภูศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ ท้องสนามหลวงพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทราและพระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย รวมทั้งสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ เช่น พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสารัตถะสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยในงานสถาปัตยกรรมเหล่านี้คือ ความเรียบง่าย และประหยัด โดยยังคงจารีตประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ | <div class="kindent">แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมิได้ทรงงานด้านสถาปัตยกรรมด้วยพระองค์เอง แต่ด้วยพระบรมราชวินิจฉัยที่พระราชทานต่อผลงานต่างๆ ได้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงมีต่อศิลปะแขนงนี้ได้เป็นอย่างดียิ่งไม่ว่าจะเป็นพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการก่อสร้างพระอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ศาลสมเด็จพระนเรศวร จังหวัดหนองบัวลำภูศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ ท้องสนามหลวงพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทราและพระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย รวมทั้งสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ เช่น พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสารัตถะสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชวินิจฉัยในงานสถาปัตยกรรมเหล่านี้คือ ความเรียบง่าย และประหยัด โดยยังคงจารีตประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:04, 6 ตุลาคม 2552
เอกองค์อัครศิลปิน
พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพ
ความสนพระราชหฤทัยในการถ่ายภาพของพระองค์เป็นไปอย่างลึกซึ้ง เพราะทรงให้ความสำคัญเสมือนเป็น “อาชีพ” พระองค์ได้พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อลงพิมพ์ในนิตยสาร “สแตนดาร์ด” ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรไชยากร แม้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ แล้วก็ยังทรงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ในการถ่ายภาพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดที่จะถ่ายภาพบุคคลที่พระองค์ทรงรักเสมอ นอกจากภาพพระบรมวงศ์แล้ว การถ่ายภาพพสกนิกรในโอกาสต่างๆ เป็นสิ่งที่ทรงโปรดปรานมาก เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่น เป็นต้น ทรงถ่ายภาพ ในขณะที่ประทับอยู่ ในรถยนต์พระที่นั่งที่กำลังแล่น ด้วยพระปรีชาสามารถทำให้ทรงจับภาพได้อย่างสวยสมบูรณ์ ไม่ไหว ไม่ขาด ครบถ้วนด้วยเหตุการณ์และด้วยภาพถ่ายฝีพระหัตถ์นี้เอง ที่ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญเกือบ ๔,๐๐๐ โครงการ หรือแม้แต่คราวที่เสด็จออกจากโรงพยาบาลศิริราชเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ภายหลังที่ทรงหายจากอาการพระประชวร พระองค์ทรงบันทึกภาพพสกนิกรที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ด้วยหมายจะทรงจดจำทุกดวงหน้าไว้ในพระราชหฤทัย
ดนตรี คือ หัวใจและวิญญาณ
“...เพราะว่าการดนตรีนี้เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นศิลปะที่ทำให้เกิดความปิติ ความภูมิใจ ความยินดีความพอใจได้มากที่สุด...”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่คณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ เฝ้าฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อสมทบทุน “โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์” ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
พระปรีชาสามารถด้านศิลปะที่มีอยู่เปี่ยมล้น ทำให้ทรงศึกษาตามทฤษฎีแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทรงพัฒนาการทรงดนตรีได้ก้าวไกลเหลือคณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถในดนตรีแจ๊ส ซึ่งนอกจากจะทรงเป็นนักดนตรีผู้รักการเล่นดนตรีด้วยความปราดเปรื่องแล้ว ยังทรงเป็นผู้ถ่ายทอดในฐานะของ “ครู” ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วยดังจะเห็นได้จากทรงฝึกหัดดนตรีให้กับแพทย์และราชองครักษ์ผู้ถวายการอภิบาล จนเกิดเป็นวงดนตรี “สหาย พัฒนา” ขึ้น ในการนี้มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงเป็นนักดนตรีคนพิเศษในวงอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้มีดนตรีอยู่ในพระราชหฤทัยเสมอ ทั้งยังเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่สิ่งอื่นๆ ได้อย่างมากมาย ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าไว้ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานการพระราชนิพนธ์เพลง เมื่อพระชนมพรรษาเพียง ๑๙ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลง “แสงเทียน” ในจังหวะบลูส์เป็นเพลงแรกและนับจากนั้นได้ก่อเกิดเพลงพระราชนิพนธ์ที่ล้ำค่ายิ่งพระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นทำนองและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีผู้ประพันธ์คำร้องถวายรวมทั้งสิ้น ๔๘ เพลง โดยเป็นเพลงที่พระราชนิพนธ์ทั้งทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษจำนวน ๕ เพลง เป็นเพลงที่พระราชนิพนธ์ทำนองพระราชทานใส่ในคำประพันธ์ที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว ๔ เพลง ทุกเพลงล้วนมีความหมายลึกซึ้งกินใจ มีอารมณ์เพลงที่แตกต่างกันไป ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งบทเพลงชวนเคลิ้มฝันด้วยจินตนาการที่สุกสว่าง เติมเต็มให้เกิดพลัง ก่อเกิดความสดชื่นด้วยบรรยากาศอันเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเพลงแสงเทียน ยามเย็น สายฝน ใกล้รุ่ง ชะตาชีวิต หรือดวงใจกับความรัก ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นระหว่างพุทธศักราช ๒๔๘๙ - ๒๕๐๒ อันเป็นช่วงวัยที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งความสดชื่นผ่องใส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ยิ้มสู้” เพื่อโอบอุ้มจิตใจของประชาชนผู้ทุกข์ยากและผู้ลำบากจากความพิการตาบอดให้เต็มไปด้วยความสุขใจ พร้อมเผชิญโลกนี้ด้วยหัวใจชื่นบาน เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งแผ่เข้าสู่ประเทศไทยอย่างกว้างขวางทำให้เกิดกระแสความคิดใหม่ พระองค์ทรงพยายามรวบรวมใจพสกนิกรให้เป็นหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มนักศึกษาซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวไกล พระองค์จึงทรงผูกใจทุกคนด้วยบทเพลงที่พระราชทานประจำ มหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” สำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพลง “ยูงทอง” สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพลง “เกษตรศาสตร์” สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อบ้านเมืองต้องประสบกับช่วงเวลาแห่งความสับสนและวุ่นวาย เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ และการบ่อนทำลายจากศัตรูภายนอกประเทศระหว่างพุทธศักราช ๒๕๑๔ - ๒๕๑๙ ชาวไทยก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากบทเพลง “ความฝันอันสูงสุด” “เราสู้” และ “เรา-เหล่าราบ ๒๑” เพื่อปลุกปลอบให้เกิดขวัญและกำลังใจ พร้อมฝ่าฟันผองภัยด้วยใจเป็นหนึ่งกระทั่งบ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤต และก้าวไกลสู่ความมั่นคง ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อความมั่นคงเข้มแข็งของประเทศชาติ ทรงว่างเว้นการพระราชนิพนธ์เพลงไปนานนับ ๑๘ ปี แต่พระองค์ก็ยังทรงรักที่จะพระราชนิพนธ์เพลง ดังนั้นเมื่อทรงมีเวลาผ่อนคลาย จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง “รัก” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองใส่ในบทกลอนพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง “เมนูไข่” พระราชทานเป็นของขวัญวันคล้ายวันประสูติเวียนมาครบ ๗๒ พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
บทเพลงที่สร้างความสุขใจให้แก่ชาวไทยอีกบทเพลงหนึ่งคือ เพลง “พรปีใหม่” สะท้อนถึงพระเมตตาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพสกนิกรอยู่ในพระราชหฤทัยของพระองค์เสมอ พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรในวาระแห่งความสุขให้แก่ประชาชนทุกคน ในวาระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตและประทับเป็นการถาวรในประเทศเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๕ เป็นเพลงที่ยังประทับอยู่ในความทรงจำของปวงชนชาวไทยตลอดเวลา และเสมือนได้รับพรในทุกวันขึ้นปีใหม่ตราบปัจจุบัน
ร่วมบรรเลง ร่วมประสานใจ
ดนตรีคือสื่อเชื่อมใจ เชื่อมสายสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดที่จะร่วมทรงดนตรีกับบุคคลต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น “วงลายคราม” “วง อ.ส. วันศุกร์” และ “วงสหายพัฒนา” มีพระราชดำริให้กรมศิลปากรจัดทำประชุมโน้ตดนตรีไทยและพระราชทานทุนในการจัดพิมพ์ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นการบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากล เป็นการเผยแพร่วิชาดนตรีไทยไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวางเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศเพื่อทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศช่วงพุทธศักราช ๒๕๐๕ - ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในหลายโอกาส ด้วยพระปรีชาสามารถเป็นเลิศด้านการดนตรีเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปสาธารณรัฐออสเตรีย ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข ๒๓ จากสถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งกรุงเวียนนา) เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗
แต้มเติมใจให้เต็ม ด้วยเส้นและสี
หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ศิลปินสมัครเล่นที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททรงให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ว่า
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มเขียนภาพเหมือน ซึ่งเหมือนจริงและละเอียดมาก แต่ต่อมาได้ทรงวิวัฒน์เข้ากับภาพของจิตรกรสมัยใหม่ และทรงค้นคว้าหาทางใหม่ๆ แปลกๆ ที่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกของพระองค์ โดยไม่ต้องกังวลกับความเหมือน อันจะมีอิทธิพลบีบบังคับไม่ให้ปล่อยความรู้สึกออกมาได้อย่างอิสระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินโดยแท้ ทรงชื่นชมในงานของศิลปินอื่นเสมอ และดูจะไม่เคยทรงพอพระราชหฤทัยกับภาพเขียนของพระองค์และวิธีการที่ทรงใช้อยู่แล้ว และแม้ว่าโปรดที่จะทรงค้นคว้าหาวิธีใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ ภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ก็ยังคงเค้าลักษณะอันเป็นแบบฉบับของพระองค์เองโดยเฉพาะ ขณะที่ทรงวาดภาพนามธรรมที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ แต่เป็นสาระ ดังเช่นภาพที่พระราชทานชื่อว่า “วัฏฏะ” “โลภะ” “โทสะ” “ยุแหย่” “อ่อนโยน” “บุคลิกซ้อน” ก็ยังทรงเขียนรูปในลักษณะที่สวยงามกระจุ๋มกระจิ๋มได้ดีอีกด้วยทั้งที่ไม่สู้ตรงกับพระราชอัธยาศัยเท่าใดนัก ในฐานะจิตรกรขณะทรงงาน ทรงใส่อารมณ์และความรู้สึกของจิตรกรอย่างเต็มที่ ทรงมีความรู้สึกตรงและรุนแรง ทรงใช้สีสดและเส้นกล้า ส่วนมากโปรดเส้นโค้ง แต่ในบางครั้งบางคราวก็มีข้อดลพระราชหฤทัยให้ทรงใช้เส้นตรงและเส้นแบบฟันเลื่อย”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนศิลปินอยู่เสมอ เพราะไม่เพียงแต่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีเปิดงานศิลปกรรมแห่งชาติเท่านั้น หากแต่ยังทรงร่วมแสดงผลงานฝีพระหัตถ์เพื่อให้พสกนิกรมีโอกาสชื่นชมอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์จำนวนหนึ่งให้องค์กร Soka Gakkai International แห่งประเทศญี่ปุ่น นำไปจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ณ Tokyo Fuji Art Museum กรุงโตเกียว เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้รับความสนใจอย่างยิ่งกระทั่งได้นำไปแสดงต่อที่กรุงโอซาก้าด้วย
ปั้นรูปงาม ปั้นความตั้งใจ
ทรงเปิดโอกาสให้ผู้สนใจงาน ประติมากรรมเข้าชมการทำงานอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้ที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายไพฑูรย์เมืองสมบูรณ์ ผู้ปั้น “พระพุทธนวราชบพิตร” ดำเนินการในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ให้ผู้สนใจได้เข้าชมเพื่อเกิดความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมของไทย
สื่อภาษา สื่อพระอักษร สื่อสอนใจ
โอกาสกาญจนาภิเษก ด้วยความรักและเป็นผลงานวรรณกรรมที่ทรงโปรดปรานมากเรื่องหนึ่ง ดังพระราชดำรัสในโอกาสที่รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษนำคณะกรรมการดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือพระราช นิพนธ์ เรื่อง “พระมหาชนก” เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญทองคำจำลองเหรียญพระมหาชนกขนาดพิเศษ ฟิล์ม ภาพถ่าย รูปเขียนหนังสือ รูปเขียนภาพประกอบเรื่องพระราชนิพนธ์ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙ ความตอนหนึ่งว่า
พระปรีชาสามารถด้านสถาปัตยกรรม
กว่า ๖๐ ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผูกใจพสกนิกรไว้ด้วยความจงรักภักดี ด้วยทรงนำศิลปะมาเป็นสื่อเชื่อมใจ ผ่านทางภาษา อักษร ท่วงทำนองเพลง ผลงานประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ด้วยพระราชหฤทัยด้วยพระหัตถ์ที่ทรงทำให้เห็นขึ้นเป็นแบบอย่าง ทุกสิ่งล้วนเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งรัก ความห่วงใย ความเอื้ออาทรการให้กำลังใจ และการเตือนสติให้ยั้งคิด ทำให้ปวงชนชาวไทยได้สัมผัสถึงพลังอันบริสุทธิ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณอันท่วมท้น และน้อมนำให้ทุกคนในชาติพร้อมใจกันร่วมจรรโลงศิลปกรรมของไทยให้ดำรงอยู่ และพร้อมก้าวไปสู่อารยะอย่างสมบูรณ์