ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรงสร้างพระเพื่อรวมศูนย์แห่งรักและศรัทธา"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
<div id="bg_g8"> | <div id="bg_g8"> | ||
<center><h1>ทรงสร้างพระเพื่อรวมศูนย์แห่งรักและศรัทธา</h1></center> | <center><h1>ทรงสร้างพระเพื่อรวมศูนย์แห่งรักและศรัทธา</h1></center> | ||
− | <div style="display:block; width: | + | <div style="display:block; width:250px; float:right; border:thin solid #00AEEF">[[ภาพ:051009-ศาสนาพุทธ-05.jpg|center|100px]]<br />พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงออกแบบพระผงพิมพ์จิตรลดา เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๓ กระเบียด ๑ อนุกระเบียด สูง ๑ นิ้ว ๑ กระเบียด องค์พระเป็นปางสมาธิ ประทับอยู่บนอาสนะบัว ๒ ชั้น</div><div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระ ทั้งพระพุทธรูปและพระพิมพ์ในหลายวาระ ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนาของพระองค์ นอกจากนี้ ยังทรงมุ่งหมายเพื่อให้เป็นศูนย์รวมใจและเป็นสื่อเพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ถ่ายทอดถึงกันได้ระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชนอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระผงพิมพ์จิตรลดาขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ มวลสารที่ทรงนำมาสร้างพระผงประกอบไปด้วยเส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรีในพระราชพิธีฉัตรมงคล สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง วัตถุจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพนับถือจากแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร |
ด้วยเหตุนี้ พระผงพิมพ์จิตรลดาจึงเป็นเสมือนศูนย์รวมพลังแห่งความรัก พลังแห่งความศรัทธาที่หล่อหลอมขึ้นจากดวงจิตอันบริสุทธิ์ของประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ | ด้วยเหตุนี้ พระผงพิมพ์จิตรลดาจึงเป็นเสมือนศูนย์รวมพลังแห่งความรัก พลังแห่งความศรัทธาที่หล่อหลอมขึ้นจากดวงจิตอันบริสุทธิ์ของประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ | ||
แถว 20: | แถว 20: | ||
ขอท่านทั้งหลายจงรับพระพุทธนวราชบพิตรไว้เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับจังหวัดและสำหรับตัว เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจในการที่จะกระทำความดี และขอให้ระลึกไว้เสมอเป็นนิตย์ว่า ในการประกอบการงานทั้งปวงนั้น ทุกคนต้องมีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร ต้องรู้จักคิด พิจารณาด้วยปัญญาและความรอบคอบ ประกอบด้วยความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ยึดมั่นในความสามัคคีและความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ร่วมกันเป็นจุดประสงค์สำคัญ..."</span> | ขอท่านทั้งหลายจงรับพระพุทธนวราชบพิตรไว้เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับจังหวัดและสำหรับตัว เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจในการที่จะกระทำความดี และขอให้ระลึกไว้เสมอเป็นนิตย์ว่า ในการประกอบการงานทั้งปวงนั้น ทุกคนต้องมีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร ต้องรู้จักคิด พิจารณาด้วยปัญญาและความรอบคอบ ประกอบด้วยความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ยึดมั่นในความสามัคคีและความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ร่วมกันเป็นจุดประสงค์สำคัญ..."</span> | ||
</center> | </center> | ||
+ | พระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อพระพุทธรูปขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๙ ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรนั้นได้ทรงบรรจุพระผงพิมพ์จิตรลดา ๑ องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ หลังจากนั้นได้พระราชทานให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด คราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร | ||
[[หมวดหมู่:ในฐานะพระมหากษัตริย์]] | [[หมวดหมู่:ในฐานะพระมหากษัตริย์]] | ||
</div> | </div> |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:00, 6 ตุลาคม 2552
ทรงสร้างพระเพื่อรวมศูนย์แห่งรักและศรัทธา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงออกแบบพระผงพิมพ์จิตรลดา เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๓ กระเบียด ๑ อนุกระเบียด สูง ๑ นิ้ว ๑ กระเบียด องค์พระเป็นปางสมาธิ ประทับอยู่บนอาสนะบัว ๒ ชั้น
ด้วยเหตุนี้ พระผงพิมพ์จิตรลดาจึงเป็นเสมือนศูนย์รวมพลังแห่งความรัก พลังแห่งความศรัทธาที่หล่อหลอมขึ้นจากดวงจิตอันบริสุทธิ์ของประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผสมมวลสารและทรงกดพิมพ์สร้างด้วยพระองค์เอง โดยผู้ที่จะได้รับพระราชทานพระผงพิมพ์จิตรลดานั้นจะต้องกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานจากพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวด้วยตนเองและเมื่อได้รับพระราชทานแล้วต้องนำทองไปปิดที่หลังพระแล้วจึงนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอพระราชทานใบกำกับ พระผงพิมพ์จิตรลดา ซึ่งแสดงชื่อนามสกุลผู้ที่ได้รับพระราชทาน วันที่รับพระราชทาน และหมายเลขกำกับพระทุกองค์ ทรงมุ่งหมายให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานมีความประพฤติที่ดี เพื่อเป็นกำลังของแผ่นดิน และเพื่อให้บังเกิดความสามัคคีรวมกำลังกันรักษาแผ่นดิน
"...ข้าพเจ้ามาเยี่ยมท่านครั้งนี้ ได้นำพระพุทธนวราชบพิตรมามอบให้ด้วย พระพุทธนวราชบพิตรนี้ ข้าพเจ้าสร้างขึ้นสำหรับมอบให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่บัวฐานข้าพเจ้าบรรจุพระพิมพ์ไว้องค์หนึ่ง เป็นพระซึ่งทำด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ที่ได้มาจากทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร มีผงศักดิ์สิทธิ์จากปูชนียสถานและปูชนียวัตถุของจังหวัด น่าน เช่น ผงจากองค์พระธาตุแช่แห้ง และผงทองจากองค์พระเจ้าทองทิพย์ เป็นต้น รวมอยู่ด้วย ข้าพเจ้าถือว่าพระพุทธนวราชบพิตร นอกจากจะเป็นเครื่องหมายแทนคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพสูงสุดแล้ว ยังเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติไทยและคนไทยอีกด้วย จึงได้บรรจุพระพิมพ์ซึ่งทำด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด และนำมามอบให้แก่ท่านเอง
ขอท่านทั้งหลายจงรับพระพุทธนวราชบพิตรไว้เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับจังหวัดและสำหรับตัว เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจในการที่จะกระทำความดี และขอให้ระลึกไว้เสมอเป็นนิตย์ว่า ในการประกอบการงานทั้งปวงนั้น ทุกคนต้องมีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร ต้องรู้จักคิด พิจารณาด้วยปัญญาและความรอบคอบ ประกอบด้วยความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ยึดมั่นในความสามัคคีและความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ร่วมกันเป็นจุดประสงค์สำคัญ..."
พระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อพระพุทธรูปขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๙ ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรนั้นได้ทรงบรรจุพระผงพิมพ์จิตรลดา ๑ องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ หลังจากนั้นได้พระราชทานให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด คราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร