ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสำคัญของทรัพยากรดิน"

(แนวพระราชดำริเพื่อประชาชนในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย)
 
(ไม่แสดง 43 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
 +
<div id="bg_g2t">&nbsp;</div>
 +
<div id="bg_g2">
 
==='''ความสำคัญของทรัพยากรดิน : ดินรากฐานกสิกรรมไทย'''===
 
==='''ความสำคัญของทรัพยากรดิน : ดินรากฐานกสิกรรมไทย'''===
  
<div class="kindent">ถ้าจะเปรียบดินเหมือนกับมนุษย์ตนหนึ่ง มีลำตัว มีแขน มีขา มีหัวใจ ดินก็มีส่วนประกอบสำคัญเปรียบได้กับมนุษย์ มีแร่ธาตุเปรียบได้กับลำตัว มีอากาศเปรียบได้กับแขน มีน้ำเปรียบได้กับขา มีอินทรียวัตถุเปรียบได้กับหัว มีสิ่งมีชีวิตในดินเปรียบได้กับหัวใจที่จะทำให้ดินมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์
+
[[ภาพ:ดิน-01.jpg|left|เปรียบเทียบร่างกายคนกับธรรมชาติ|200px]]<div class="kindent">ถ้าจะเปรียบดินเหมือนกับมนุษย์ตนหนึ่ง มีลำตัว มีแขน มีขา มีหัวใจ ดินก็มีส่วนประกอบสำคัญเปรียบได้กับมนุษย์ มีแร่ธาตุเปรียบได้กับลำตัว มีอากาศเปรียบได้กับแขน มีน้ำเปรียบได้กับขา มีอินทรียวัตถุเปรียบได้กับหัว มีสิ่งมีชีวิตในดินเปรียบได้กับหัวใจที่จะทำให้ดินมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์
  
 
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องการอาหาร ต้องการอากาศ ต้องการน้ำ ไปสร้างสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์ และพืช สิ่งที่ทุกคนมองข้ามคือ สภาวะแวดล้อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
 
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องการอาหาร ต้องการอากาศ ต้องการน้ำ ไปสร้างสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์ และพืช สิ่งที่ทุกคนมองข้ามคือ สภาวะแวดล้อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
แถว 9: แถว 11:
 
ดินในโลกมีมากมายนับหลายหมื่นชนิด สำหรับในประเทศไทยมีดินไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะทางเคมีและกายภาพที่สามารถระบุได้ตามหลักวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป บางชนิดก็มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ทำการเกษตร บางชนิดก็เป็นดินที่มีปัญหาและมีข้อจำกัดต่างๆ ในการนำมาใช้ประโยชน์ ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีประชากรที่ทำมาหากินในภาคเกษตรไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านคน และใช้พื้นที่ทำการเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๒ ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ดังนั้น ปัญหาเรื่องการผลิตและการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินที่ใช้กันมานานจึงเป็นปัญหาที่จะต้องมีการจัดการที่เหมาะสม โดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
 
ดินในโลกมีมากมายนับหลายหมื่นชนิด สำหรับในประเทศไทยมีดินไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะทางเคมีและกายภาพที่สามารถระบุได้ตามหลักวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป บางชนิดก็มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ทำการเกษตร บางชนิดก็เป็นดินที่มีปัญหาและมีข้อจำกัดต่างๆ ในการนำมาใช้ประโยชน์ ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีประชากรที่ทำมาหากินในภาคเกษตรไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านคน และใช้พื้นที่ทำการเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๒ ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ดังนั้น ปัญหาเรื่องการผลิตและการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินที่ใช้กันมานานจึงเป็นปัญหาที่จะต้องมีการจัดการที่เหมาะสม โดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
 
</div>
 
</div>
 
+
<div style="clear:both"></div>
  
 
==='''ปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย'''===
 
==='''ปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย'''===
แถว 22: แถว 24:
  
 
'''๑.๓ ธาตุอาหารพืชถูกทำลาย''' หรืออยู่ในสภาพที่พืชใช้ประโยชน์น้อย เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ป่า ฮิวมัสจะถูกความร้อนทำลายได้ง่าย หรือเมื่อดินเปลี่ยนสภาพไปเป็นกรด (acid) หรือด่าง (alkaline) จะทำให้พืชดูดธาตุอาหารบางชนิดไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
 
'''๑.๓ ธาตุอาหารพืชถูกทำลาย''' หรืออยู่ในสภาพที่พืชใช้ประโยชน์น้อย เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ป่า ฮิวมัสจะถูกความร้อนทำลายได้ง่าย หรือเมื่อดินเปลี่ยนสภาพไปเป็นกรด (acid) หรือด่าง (alkaline) จะทำให้พืชดูดธาตุอาหารบางชนิดไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
</div>
 
  
 
เมื่อดินเสื่อมคุณค่า ก็จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงเสียค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจของประเทศก็จะกระทบกระเทือนไปด้วย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
 
เมื่อดินเสื่อมคุณค่า ก็จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงเสียค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจของประเทศก็จะกระทบกระเทือนไปด้วย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
 +
</div>
  
 
   
 
   
 
'''๒. ดินมีปัญหาพิเศษไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์''' ใช้ปลูกพืชได้ไม่ดีหรือปลูกไม่ได้เลย ได้แก่
 
'''๒. ดินมีปัญหาพิเศษไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์''' ใช้ปลูกพืชได้ไม่ดีหรือปลูกไม่ได้เลย ได้แก่
<div class="kindent">'''๒.๑ ดินทรายจัด (Sandy soil)''' มีทรายปนอยู่หนากว่า ๕๐ เซนติเมตร พบตามที่ดอนในภาคอีสานและชายฝั่งทะเล ทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ไม่เหมาะต่อการปลูกพืช แต่ถ้ามีฝนตกชุกก็พอปลูกพืชที่มีความทนทานได้ เช่น มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง และหญ้าเลี้ยงสัตว์
+
 
 +
[[ภาพ:ดิน-02.jpg|left|ดินแห้งแล้ง|200px]]<div class="kindent">'''๒.๑ ดินทรายจัด (Sandy soil)''' มีทรายปนอยู่หนากว่า ๕๐ เซนติเมตร พบตามที่ดอนในภาคอีสานและชายฝั่งทะเล ทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ไม่เหมาะต่อการปลูกพืช แต่ถ้ามีฝนตกชุกก็พอปลูกพืชที่มีความทนทานได้ เช่น มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง และหญ้าเลี้ยงสัตว์
  
 
'''๒.๒ ดินตื้น (Shallow soil)''' หน้าดินมีเนื้อดินน้อยเนื่องจากมีลูกรักกรวด และหินปูนอยู่ในระดับที่ตื้นกว่า ๕๐ เซนติเมตร พบมากกว่าดินชนิดอื่น คือ มีรวมกันทุกภาคกว่า ๕๐ ล้านไร่ ควรใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อเพิ่มเนื้อที่ป่า
 
'''๒.๒ ดินตื้น (Shallow soil)''' หน้าดินมีเนื้อดินน้อยเนื่องจากมีลูกรักกรวด และหินปูนอยู่ในระดับที่ตื้นกว่า ๕๐ เซนติเมตร พบมากกว่าดินชนิดอื่น คือ มีรวมกันทุกภาคกว่า ๕๐ ล้านไร่ ควรใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อเพิ่มเนื้อที่ป่า
แถว 78: แถว 81:
 
</div>
 
</div>
  
==='''แนวพระราชดำริเพื่อประชาชนในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย'''===
 
  
===<div class="kindent">'''๑) ดินทราย :''' ต้องเพิ่มกันชนให้ดิน===
+
{{ดูเพิ่มเติม|[[การแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน]]}}
  
ดินทราย (Sandy) มีลักษณะโปร่งน้ำและรากพืชผ่านไปได้ง่าย มีอาหารพืชอยู่น้อยในฤดูฝน ต้นไม้ที่ปลูกจะงอกงามดี เพราะมีน้ำบริบูรณ์แต่ฤดูแล้งมีน้ำไม่เพียงพอ ต้นไม้มักเหี่ยวแห้ง ต้นไม้ที่ปลูกใหม่มักจะตาย เพราะร้อนและแห้งจัด วิธีแก้ไขก็ต้องเพิ่มความชื้นและเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่จะทำหน้าที่เสมือนกันชนแก่ดินให้มากขึ้น
+
----
 
+
จากหนังสือ "จอมปราชญ์แห่งดิน" จัดทำโดย [http://www.rdpb.go.th สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)]
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สามารถแก้ไขปัญหา ดินทรายมีแร่ธาตุน้อย อันมีสาเหตุมาจาก '''คน''' ทำลายป่า แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพดและมันสำปะหลัง ซึ่งทำให้ดินจืดและกลายเป็นดินทรายไปในที่สุด ในฤดูแล้งแรงลมจะพัดเอาหน้าดินไปหมด ในฤดูฝนหน้าดินจะถูกชะล้างไปกับกระแสน้ำ
 
</div>
 
 
 
'''วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ'''
 
* สร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน ๑๘ แห่ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำโจน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำหลักของโครงการ เพื่อนำน้ำไปใช้พัฒนาการเกษตรและขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ด้านการชะลอน้ำ ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดินและช่วยฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
 
* ที่ดินบริเวณร่องห้วย เป็นดินไม่มีปัญหา จัดทำแปลงสาธิตการพัฒนาการเกษตรตามแนว '''ทฤษฎีใหม่''' โดยการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแห่งน้ำสำรอง
 
* ที่ดินบริเวณที่มีความลาดชันและเป็นที่ดอน (uplands) ให้ปลูกแฝกตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมแบ่งเนื้อที่เป็นส่วนๆ เพื่อปลูกแฝกสำหรับเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สวนสมุนไพร ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผล และพืชล้มลุกปลอดสารพิษ การปลูกไม้ผลและพืชล้มลุกจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำใช้รดพืชใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำซึ่งส่งมาตามคลองชลประทานขนาดเล็ก
 
 
 
<div class="kindent">หลังจากการดำเนินงานอย่างต่เนื่องเป็นระยะเวลากว่า ๒๐ ปี พื้นที่ดินของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ฯ ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว สามารถปลูกพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินหมดไป สามารถใช้เป็นพื้นที่สาธิตหรือพื้นที่ตัวอย่างของการพัฒนาดินทรายเสื่อมโทรมได้
 
</div>
 
 
 
<div class="kindent">'''๒) ดินเป็นหิน กรวด และแห้งแล้ง :''' ต้องยึดดินและช่วยให้ชื้น
 
 
 
ดินเป็นหิน กรวด มีลักษณะเช่นเดียวกับดินทรายหน้าดินถูกชะล้างจนเกลี้ยงเหลือแต่หินและกรวด ซึ่งพืชไม่สามารถจะเจริญเติบโตได้
 
 
 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณป่าขุนแม่กวง แต่สภาพป่าถูกบุกรุกทำลายไปมาก ทำให้หน้าดินถูกกระแสน้ำและลมพัดพาจนหมด เนื่องจากไม่มีป่าหรือต้นไม้คอยพยุงไว้ วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริมีดังนี้
 
</div>
 
* สร้างอ่างเก็บน้ำและฝายตามร่องห้วยฮ่องไคร้ และห้วยแม่สาย เป็นระยะๆ เพื่อเก็บกักน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ป่าและดิน
 
* เมื่อมีความชุ่มชื้น ป่าเริ่มฟื้นตัว แปรสภาพเป็นป่าสมบูรณ์
 
* มีการปลูกเสริมบ้างตามความจำเป็น เมื่อมีป่าหน้าดินก็ไม่ถูกชะล้างพังทลายอีกต่อไป
 
* บริเวณพื้นที่ลาดชันน้อย ฟื้นฟูดินที่เป็นกรวด ทราย และลูกรัง โดยปลูกพืชที่เหมาะสมและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน และปลูกแฝกตามแนวระดับเพื่อยืดดินและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
 
* พื้นที่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ ทำนา เพื่อเป็นตัวอย่าง
 
* อ่างเก็บน้ำต่างๆ โดยเฉพาะอ่างห้วยฮ่องไคร้มีความจุ ๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโครงการให้เลี้ยงปลา แล้วให้ราษฎรจับไปขายได้ในรูปของสหกรณ์
 
 
 
<div class="kindent">ผลของการพัฒนาในช่วง ๑๖ ปีที่ผ่านมา ป่าในพื้นที่โครงการได้แปรสภาพเป็นป่าเกือบสมบูรณ์ แหล่งต้นน้ำของห้วยฮ่องไคร้ ได้กลับฟื้นคืนสภาพดังเดิม การชะล้างพังทลายของดินหมดไป ดินในพื้นที่หุบเขาที่มีความลาดชันน้อย ได้รับการฟื้นฟูทำการเกษตรควบคู่ไปกับการรักษาป่า และสภาพแวดล้อม ซึ่งราษฎรสามารถนำเอาไปใช้ปฏิบัติได้ในพื้นที่อื่นๆ
 
</div>
 
 
 
<div class="kindent">'''๓) ดินดาน ดินแข็ง และดินลูกรัง :''' ต้องสร้างของดีซ้อนบนของเลว
 
 
 
ดินดาน หรือ ดินแข็ง และดินลูกรัง มีลักษณะเป็นดินเนื้อละเอียด น้ำหนักมาก น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้ยาก ฤดูแล้งจะแห้งแข็งแตกระแหง รากไม้แทรกเข้าไปได้ยาก จึงปลูกพืชได้ไม่ค่อยเจริญเติบโต
 
 
 
'''"...เราจะสร้างของดี ซ้อนบนของเลวนั้นต้องสร้างผิวดินใหม่ขึ้นมา ..."''' พระราชดำรัส ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
 
 
 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดินดาน ดินลูกรัง ตามแนวพระราชดำริ โดยใช้วิธี ดังนี้
 
</div>
 
* สร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำหลัก เพื่อเก็บกักน้ำรักษาความชุ่มชื้น และนำน้ำไปใช้อย่างประหยัดตามความจำเป็น
 
*ฟื้นฟูไม้เศรษฐกิจทางการเกษตร เช่น ไม้ผล และพืชล้มลุก ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ และปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดทเขนานกันหลายๆ แนว เพื่อป้องกันไม่ให้ดินถูกชะล้างพังทลาย ลดปริมาณน้ำไหลบ่าผ่านหน้าดินและรักษาความชุ่มชื้น
 
 
 
<div class="kindent">ผลการดำเนินงานในช่วงเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมาสภาพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ในปัจจุบันได้แปรสภาพเป็นพื้นที่สีเขียวและมีสภาพแวดล้อมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
 
 
 
'''๔) ดินถูกชะล้าง (Soil erosion) :''' ช่วยเหลือด้วยกำแพงที่มีชีวิต
 
 
 
ดินถูกชะล้าง คือ ดินที่อุดมสมบูรณ์ แต่ถูกกระแสน้ำและลมพัดพาเอาหน้าดินที่มีอินทรียวัตถุ อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชไปหมด
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาหน้าดินถูกชะล้างโดยใช้ '''กำแพงที่มีชีวิต''' และพระราชทานพระราชดำริครั้งแรก ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ กับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และเลขาธิการ กปร. '''"...ให้ศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสม..."''' และเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรและทรงปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีพระราชกระแสว่า '''"...ให้ปลูกหญ้าแฝกไว้ด้วยเพราะหญ้าแฝกมีประโยชน์ในการช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย ช่วยรักษาหน้าดิน ช่วยกักเก็บอินทรียวัตถุในดิน ใบอ่อนยังเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย..."'''
 
 
 
'''"...การอนุรักษ์ดินต้องดำเนินควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝกต้องทำให้กว้างขวางเพื่อป้องกันและรักษาหน้าดินไม่ให้สูญหาย ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการในบริเวณที่จะฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสื่อมโทรมต่างๆ..."'''
 
 
 
<div style="text-align:right">พระราชดำริ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๐</div>
 
 
 
'''"...ปลูกหญ้าแฝกเพื่อจะให้ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาเป็นดินที่สมบูรณ์ โดยที่ปลูกหญ้าแฝกและทำคันกั้นไม่ให้ตะกอนเหล่านั้นไหลลงไปในห้วยก็สามารถฟื้นฟูได้อย่างดี ถ้าหากว่าไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้ ดินนั้นจะหมดไปเลยหรือเหลือแต่ดินดานและทราย และดินที่อาจเป็นดินสมบูรณ์ก็ไหลลงไปในห้วยทำให้ห้วยตื้นเขิน เมื่อห้วยตื้นเขินน้ำที่ลงมาจากภูเขาก็ท่วมในที่ราบ และน้ำที่ลงจากเขาจะลงมาโดยเร็ว เพราะว่าภูเขานั้นมีต้นไม้น้อยทำให้น้ำลงมารวมกันอย่างฉับพลันและท่วมมิหนำซ้ำเมื่อน้ำท่วมแล้วทำลายพืชผลของชาวบ้าน น้ำนั้นไหลไปเร็ว เวลาไม่กี่วันก็แห้งไม่มีน้ำใช้ ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูการเพาะปลูก.."'''
 
  
 
'''"...หญ้าแฝกนี้จะกักน้ำและปุ๋ยที่มาจากภูเขา ภูเขาเป็นเครื่องปฏิกรณ์น้ำและปุ๋ย ไม่ต้องเอาปุ๋ยที่ไหน พัฒนาดินก็สบายก็อาศัยชลประทาน แล้วก็ป่าไม้ต้องเสริมสร้างผิวดินใหม่ขึ้นมา หญ้าแฝกเราเจาะดินลงไปแล้วเอาดินที่มีอาหารลงไป หญ้าแฝกก็สามารถชอนไชอยู่ได้ เวลาน้ำฝนชะมาจากภูเขาจะชะใบไม้มาติดหญ้าแฝก ก็จะเป็นดินที่ใช้ได้ ดินนี้จะเพิ่มขึ้นนานไปก็จะเป็นดินที่เป็นประโยชน์ปลูกต้นไม้ได้ดี..."'''
 
 
<div style="text-align:right">พระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑</div>
 
 
ตัวอย่างโครงการปลูกหญ้าแฝกของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
 
 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ตั้งขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ ไว้ ๖ ศูนย์ เพื่อเป็นต้นแบบของความสำเร็จของการพัฒนาแบบผสมผสานที่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษา เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
 
 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเป็นสถานที่ที่สำคัญในการศึกษาทดลอง และดำเนินการสนองพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกอย่างมากมาย โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การรวบรวมและเปรียบเทียบสายพันธุ์หญ้าแฝกแหล่งต่างๆ มีการเพาะในแปลงขยายพันธุ์ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง การนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ตลอดจนการขยายผลไปสู่เกษตรกร ทั้งนี้ยังได้มีการอบรมให้ความรู้และจัดทำสาธิตวิธีการปลูกหญ้าแฝกในลักษณะต่างๆ ไว้ในศูนย์ฯ เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา และมีการแจกจ่ายพันธุ์หญ้าแฝกให้กับผู้ที่สนใจด้วย
 
 
พื้นที่ที่มีปัญหาดินถูกชะล้าง และได้นำแนวพระราชดำริไปดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีการปลูกแฝกตามลักษณะของสภาพพื้นที่ ดังนี้
 
 
</div>
 
</div>
* ปลูกโดยรอบแปลงเกษตรกรรม
+
[[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]][[หมวดหมู่:การจัดการทรัพยากรดิน]]
* ปลูกลงในแปลงๆ ละ ๑ แถว
 
* สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
 
----
 
 
 
[[หมวดหมู่:ระหว่างทำ]]
 

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:44, 5 ตุลาคม 2552

 

ความสำคัญของทรัพยากรดิน : ดินรากฐานกสิกรรมไทย

เปรียบเทียบร่างกายคนกับธรรมชาติ
ถ้าจะเปรียบดินเหมือนกับมนุษย์ตนหนึ่ง มีลำตัว มีแขน มีขา มีหัวใจ ดินก็มีส่วนประกอบสำคัญเปรียบได้กับมนุษย์ มีแร่ธาตุเปรียบได้กับลำตัว มีอากาศเปรียบได้กับแขน มีน้ำเปรียบได้กับขา มีอินทรียวัตถุเปรียบได้กับหัว มีสิ่งมีชีวิตในดินเปรียบได้กับหัวใจที่จะทำให้ดินมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องการอาหาร ต้องการอากาศ ต้องการน้ำ ไปสร้างสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์ และพืช สิ่งที่ทุกคนมองข้ามคือ สภาวะแวดล้อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

ตามหลักปฐพีวิทยา (Pedology) ดินหมายถึงวัตถุธรรมชาติที่เกิดปกคลุมผิวโลก มีการจัดเรียงชั้นดิน (Soil profile) ตามธรรมชาติเกิดมาจากการสลายตัวผุพังของดินและอินทรียวัตถุ ถ้ามีแร่ธาตุอาหาร อากาศ และน้ำเหมาะสมพืชจะสามารถเจริญเติบโต ผลิดอกออกผลได้เป็นอย่างดี

ดินในโลกมีมากมายนับหลายหมื่นชนิด สำหรับในประเทศไทยมีดินไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะทางเคมีและกายภาพที่สามารถระบุได้ตามหลักวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป บางชนิดก็มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ทำการเกษตร บางชนิดก็เป็นดินที่มีปัญหาและมีข้อจำกัดต่างๆ ในการนำมาใช้ประโยชน์ ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีประชากรที่ทำมาหากินในภาคเกษตรไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านคน และใช้พื้นที่ทำการเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๒ ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ดังนั้น ปัญหาเรื่องการผลิตและการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินที่ใช้กันมานานจึงเป็นปัญหาที่จะต้องมีการจัดการที่เหมาะสม โดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ

ปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย

ปัญหาทางกายภาพ ได้แก่

๑ ความเสื่อมโทรมของดิน : ความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติต่ำ เนื่องจากวัตถุต้นกำเนิดดินมีแร่ธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบต่ำ ประกอบกับประเทศไทยอยู่ในเขตที่มีฝนตกชุก แร่ธาตุต่างๆ เปลี่ยนสภาพและถูกชะล้างไปกับน้ำได้รวดเร็ว อีกทั้งพื้นที่ที่ทำการเกษตรกรรมถูกใช้มาเป็นเวลานานโดยไม่มีการบำรุงรักษา ดังนี้

๑.๑ การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่บำรุงดิน จะทำให้ธาตุอาหารตามระดับความลึกของรากพืชถูกนำไปใช้มากจนดินเสื่อมความสมบูรณ์

๑.๒ การปลูกพืชทำลายดิน พืชบางชนิดเติบโตเร็ว ใช้ธาตุอาหารพืชจำนวนมากเพื่อสร้างผลผลิต ทำให้ดินสูญเสียความสมบูรณ์ได้ง่าย เช่น ยูคาลิปตัส และมันสำปะหลัง

๑.๓ ธาตุอาหารพืชถูกทำลาย หรืออยู่ในสภาพที่พืชใช้ประโยชน์น้อย เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ป่า ฮิวมัสจะถูกความร้อนทำลายได้ง่าย หรือเมื่อดินเปลี่ยนสภาพไปเป็นกรด (acid) หรือด่าง (alkaline) จะทำให้พืชดูดธาตุอาหารบางชนิดไปใช้ประโยชน์ไม่ได้

เมื่อดินเสื่อมคุณค่า ก็จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงเสียค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจของประเทศก็จะกระทบกระเทือนไปด้วย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม


๒. ดินมีปัญหาพิเศษไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกพืชได้ไม่ดีหรือปลูกไม่ได้เลย ได้แก่

ดินแห้งแล้ง
๒.๑ ดินทรายจัด (Sandy soil) มีทรายปนอยู่หนากว่า ๕๐ เซนติเมตร พบตามที่ดอนในภาคอีสานและชายฝั่งทะเล ทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ไม่เหมาะต่อการปลูกพืช แต่ถ้ามีฝนตกชุกก็พอปลูกพืชที่มีความทนทานได้ เช่น มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง และหญ้าเลี้ยงสัตว์

๒.๒ ดินตื้น (Shallow soil) หน้าดินมีเนื้อดินน้อยเนื่องจากมีลูกรักกรวด และหินปูนอยู่ในระดับที่ตื้นกว่า ๕๐ เซนติเมตร พบมากกว่าดินชนิดอื่น คือ มีรวมกันทุกภาคกว่า ๕๐ ล้านไร่ ควรใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อเพิ่มเนื้อที่ป่า

๒.๓ ดินเค็ม (Saline soil) เป็นดินที่น้ำทะเลท่วมถึง หรือมีหินเกลืออยู่ใต้ดินซึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากถึง ๑๗.๕ ล้านไร่ ในปัจจุบันมีความต้องการใช้เกลือสินเธาว์ในอุตสาหกรรมการผลิตโซาดแอช แก้ว เคมีภัณฑ์ กรด และกระจก จึงมีการทำนาเกลือกันมากซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อพื้นที่เพาะปลูกได้กว้างขวางขึ้น

๒.๔ ดินเป็นกรดจัดหรือดินเปรี้ยว (Acid soil) มีพื้นที่ประมาณ ๙ ล้านไร่ เป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลแถบกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก ปทุมธานี อยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม ๖ ล้านไร่ ที่เหลือพบในภาคตะวันออกและภาคใต้ มักมีสารประกอบของไพไรต์ (pyrite) ผสมอยู่มาก เมื่อระบายน้ำ หรือทำให้ดินแห้ง และอากาศถ่ายเทดี ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดกำมะถัน

๒.๕ ดินอินทรีย์ หรือดินพรุ (Organic soil) เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังทับถมกันนับพันปีของพืชพรรณตามที่ลุ่มมีน้ำขัง สีน้ำตาลแดงคล้ำจนถึงดำ มีอินทรียวัตถุมากกว่าร้อยละ ๒๐ จึงมีฤทธิเป็นกรดจัด ชั้นล่างเป็นดินเหนียว พบมากในภาคใต้ เฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส มีประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่

๒.๖ ดินที่ลาดชันมาก (Steep slope) จะชันมากกว่าร้อยละ ๓๕ มีประมาณ ๑๐๐ ล้านไร่ (มีชัย, ๒๕๓๕) มักเป็นภูเขาซึ่งไม่เหมาะต่อการทำการเกษตร (ปกติพื้นที่ที่ลาดชันเกินร้อยละ ๑๕ จะไม่ใช้ปลูกพืชเพราะดินจะพังได้ง่าย และไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงาน)

๒.๗ ดินที่ชุ่มน้ำหรือที่ลุ่มน้ำขัง (Wetland) จะมีน้ำขังอยู่เป็นเวลานาน หรืออาจขังทั้งปี จึงใช้ปลูกพืชได้เฉพาะริมฝั่งเท่านั้น เช่น ทะเลสาบสงขลา บึงบอระเพ็ด และกว๊านพะเยา

๒.๘ ดินเป็นพิษ (Toxic soil) เพราะเกิดการสะสมของสารพิษจาการทิ้งของเสีย ขยะที่มีสารพิษ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือเพิ่มผลผลิต และสารกัมมันตรังสีจากการทดลอง หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม


๓. สภาพภูมิอากาศไม่อำนวย เนื่องจากการเพาะปลูกส่วนใหญ่ในประเทศเรา ก็ยังอาศัยน้ำฝนธรรมชาติเป็นหลัก (Rainfed Cultivation) ช่วงการกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ ทำให้พืชที่ปลูกได้รับผลกระทบกระเทือน หรือเสียหายเนื่องจากฝนตกมากเกินไป หรือฝนทิ้งช่วงทำให้พืชขาดแคลนน้ำได้


๔. การชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินเสื่อโทรมรุนแรงที่สุด และเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะต้องแก้ไข เพื่อรักษาคุณภาพของดินให้เหมาะสม และให้ใช้ประโยชน์ได้เป็นเวลานานๆ การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยที่ต้องการดูแล ป้องกันและรักษาไว้มีจำนวนมากถึง ๑๓๔.๕๔ ล้านไร่ หรือเท่ากับ ๔๑.๙๕% พื้นที่ทั้งหมดของประเทศ

แนวพระราชดำริสู่การพัฒนา : สร้างดินให้มีชีวิต

การจัดการและพัฒนาที่ดินของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับดิน ด้วยทรงเห็นว่าดินเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญเช่นเดียวกับน้ำ ทรงริเริ่มโครงการจัดและพัฒนาที่ดินเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ เพื่อพลิกผืนดินที่แห้งแล้งขาดความอุดมสมบูรณ์ให้สามารถผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารได้ ทรงแนะให้มีการใช้วิธีการทดลองต่างๆ เพื่ออนุรักษ์บำรุงรักษาดินซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิธีตามธรรมชาติที่เป็นหนทางสร้างความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้น ดังนั้นพระราชดำริที่เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน จึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะที่สอดคล้องกับพื้นที่นั้นๆ โดยนำความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาใช้ให้เกิดผลชัดเจน

พระราชดำริที่เกี่ยวกับการจัดการดินหรือ การพัฒนาดินเป็นพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนหลักวิชาการทางปฐพีศาสตร์โดยแท้ ถึงแม้จะมิได้ทรงเป็นนักปฐพี (soil scientist หรือ pedologist) ยกตัวอย่างเช่น พระราชทานคำจำกัดความที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายว่า ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมต้องมีคุณสมบัติต่างๆ คือ

แร่ธาตุ ที่เรียกว่า ปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญ คือ

๑. N (nitrogen) ในรูป nitrate (ไนเตรท)

๒. P (phosphorus) ในรูป phosphate (ฟอสเฟต)

๓. K (potassium) หรือ โพแตสเซียม

และแร่ธาตุอื่นๆ O H Mg Fe ได้แก่ O (oxygen), H (hydrogen), Mg (magnesium), Fe (iron)

มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7)

มีความเค็มต่ำ

มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ)

มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)

ดังนั้น ถ้าจะทำให้ดินทั้งหลายเหมาะแก่การปลูกพืชเกษตรจำเป็นต้องทำให้ดินที่มีคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวมีแร่ธาตุอาหารพอเพียง ไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม มีอินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายเศษพืชโดยจุลินทรีย์อย่างพอเพียง มีความชื้นเหมาะสมและร่วนซุย ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยพระปรีชาสามารถทรงจำแนกสภาพดินที่มีปัญหาของประเทศตามภูมิภาคต่างๆ และจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาและทดลองสืบหาวิธีการแก้ไขปัญหาดินในภูมิภาคนั้น โดยพระราชทานหลักการแก้ไขปัญหาด้วยประโยคที่กะทัดรัดเรียบง่าย คือ ปรับปรุงน้ำ ปรับปรุงดิน และเลือกกิจกรรม (พืช สัตว์เลี้ยง)



จากหนังสือ "จอมปราชญ์แห่งดิน" จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)