ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสร้างตาราง"
Aditep (คุย | มีส่วนร่วม) (New page: {{Wiki subject}} ===การใช้ภาษา HTML กับ Wikicode=== โดยปกติการสร้างตารางในวิกิสามารถสร้า...) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) ล (การทำตาราง moved to การสร้างตาราง) |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 311: | แถว 311: | ||
|} | |} | ||
+ | |||
+ | [[คู่มือการใช้งาน|กลับไปหน้าคู่มือการใช้งาน]] | ||
[[หมวดหมู่:คู่มือการใช้งาน]] | [[หมวดหมู่:คู่มือการใช้งาน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:26, 27 กุมภาพันธ์ 2551
โครงสร้าง |
การแก้ไข้หน้าบทความ |
เทคนิคการแก้ไขหน้า |
เนื้อหา
การใช้ภาษา HTML กับ Wikicode
โดยปกติการสร้างตารางในวิกิสามารถสร้างด้วยภาษา HTML แต่ในอีกรูปแบบหนึ่งสามารถใช้ wikicode เรียกว่า pipe code ซึ่งจะง่ายและกระชับกว่า ดังเปรียบเทียบการใช้ภาษา HTML กับ Wikicode ในการสร้างตารางดังต่อไปนี้
คำสั่ง | HTML | Wikicode | |
---|---|---|---|
สร้างตาราง | <table>ตาราง</table> | {|ตาราง|} | |
ชื่อตาราง | <caption>ชื่อตาราง</caption> | |+ชื่อตาราง | |
เพิ่มแถว | <tr></tr> | |- | |
คอลัมน์ในแถว | <td>คอลัมน์ 1</td><td>คอลัมน์ 2</td> | |คอลัมน์ 1|คอลัมน์ 2 | |
ชื่อหัวคอลัมน์ | ชื่อหัวคอลัมน์ | !ชื่อหัวคอลัมน์ |
สร้างตารางอย่างง่ายด้วย Wikicode
การสร้างตารางอย่างง่ายด้วย Wikicode สามารถทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้
- เริ่มต้นคำสั่งสร้างตารางด้วยเครื่องหมาย {| และสิ้นสุดตารางด้วยเครื่องหมาย |}
{|
เริ่มต้นคำสั่งการสร้างตาราง |
- ต้องการเพิ่มชื่อตาราง ใช้เครื่องหมาย |+ ตามด้วยชื่อตาราง ซึ่งชื่อตารางนี้จะปรากฏเหนือหัวตารางที่สร้าง
{|
|+ชื่อตาราง |
- เริ่มสร้างแถวของตารางโดยใช้เครื่องหมาย |- แถวต่อไปหลังเครื่องหมายจะเป็นคำสั่งเริ่มแถวและเนื้อหาในแถว
{|
|+ชื่อตาราง |
- คำสั่งเริ่มแถวใช้เครื่องหมาย |
{|
|+ชื่อตาราง |
แถวที่ 1 คอลัมน์ 1 | แถวที่ 1 คอลัมน์ 2 |
แถวที่ 2 คอลัมน์ 1 | แถวที่ 2 คอลัมน์ 2 |
- นอกจากการใช้ครื่องหมาย | ในแต่ละบรรทัดเพื่อแยกแต่ละคอลัมน์ในแต่ละแถวยังสามารถใช้คำสั่งเป็น || ในบรรทัดเดียวกันเพื่อแสดงการแยกคอลัมน์ในแถวได้
{|
|+ ชื่อตาราง |
- หากต้องการเพิ่มชื่อในแต่ละหัวคอลัมน์จะใช้เครื่องหมาย ! แสดงการแยกคอลัมน์แทน |
{|
|+ ชื่อตาราง |
- นอกจากการเพิ่มชื่อในแต่ละหัวคอลัมน์แล้ว หากต้องการเพิ่มชื่อแถวยังสามารถใช้เครื่องหมาย ! แทน | ในคอลัมน์แรกเพื่อแสดงชื่อหัวแถวได้
{|
|+ ชื่อตาราง |
- จากคำสั่งข้างต้นนี้ เมื่อแสดงผลจะไม่มีการแสดงเส้นแบ่งขอบตาราง ได้แก่
ชื่อคอลัมน์ 1 | ชื่อคอลัมน์ 2 | ชื่อคอลัมน์ 3 |
---|---|---|
หัวแถว 1 | คอลัมน์ 2 | คอลัมน์ 3 |
หัวแถว 2 | คอลัมน์ ข | คอลัมน์ ค |
ดังนั้นเมื่อต้องการให้มีเส้นแบ่งขอบตารางควรใช้คำสั่งเพิ่มเติม เช่น
{| border="1" |+ ชื่อตาราง |
เมื่อแสดงผลจึงได้ดังนี้
ชื่อคอลัมน์ 1 | ชื่อคอลัมน์ 2 | ชื่อคอลัมน์ 3 |
---|---|---|
หัวแถว 1 | คอลัมน์ 2 | คอลัมน์ 3 |
หัวแถว 2 | คอลัมน์ ข | คอลัมน์ ค |
การเพิ่มคุณลักษณะอื่นๆ ให้กับตาราง
การใช้คำสั่งพืนฐานทำให้สามารถสร้างตารางอย่างง่ายได้ แต่หากต้องการเพิ่มคุณลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติมจะต้องกำหนดคำสั่งสำหรับคุณลักษณะอื่นๆ เพิ่มด้วย ได้แก่
การกำหนดความกว้างของตาราง
โดยปกติความกว้างของตารางจะขยับตามขนาดและจำนวนตัวอักษรในแต่ละคอลัมน์ แต่หากเราต้องกำหนดขนาดที่แน่นอนก็สามารถทำได้ ตัวอย่างเช่นการใช้คำสั่งกำหนดความกว้างของคอลัมน์ในตารางเป็นขนาดพิกเซล ดังนี้
{| border="1" cellpadding="2" !width="50"|วันที่ !width="200"|เดือน !width="200"|ปี |- |1 || กรกฎาคม || พ.ศ. 2549 |- |2 ||กรกฎาคม|| พ.ศ. 2549 |} |
วันที่ | เดือน | ปี |
---|---|---|
1 | กรกฎาคม | พ.ศ. 2549 |
2 | กรกฎาคม | พ.ศ. 2549 |
การเพิ่มสีในตาราง
ในบางครั้งเราอาจจะต้องการเพิ่มสีในบางส่วนหรือส่วนทั้งหมดของตารางก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเลือกค่ารหัสสีแบบสีมาตรฐาน HTML (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สีมาตรฐานของ HTML) ดังตัวอย่างคำสั่งนี้
{| border="1" cellpadding="2" !width="50" style="background:#ffdead;"|วันที่ !width="200" style="background:#ffdead;"|เดือน !width="200" style="background:#ffdead;"|ปี |- |style="background:#efefef;"|1 || กรกฎาคม || พ.ศ. 2549 |- |style="background:#efefef;"|2 ||กรกฎาคม|| พ.ศ. 2549 |} |
วันที่ | เดือน | ปี |
---|---|---|
1 | กรกฎาคม | พ.ศ. 2549 |
2 | กรกฎาคม | พ.ศ. 2549 |
การผสานเซลล์ตาราง
ในบางกรณีเราอาจจะไม่ต้องการมีจำนวนเซลล์ตารางเท่ากันในทุกแถวหรือคอลัมน์ ก็สามารถใช้คำสั่งเพื่อผสานเซลล์ได้เช่นกัน โดยใช้คำสั่ง "colspan" เพื่อผสานคอลัมน์ของแถว และ "rowspan" เพื่อผสานแถวของคอลัมน์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
{| border="1" cellpadding="5" cellspacing="0" align="center" |+ตัวอย่างตาราง |- ! style="background:#efefef;" | หัวคอลัมน์ 1 ! colspan="2" style="background:#ffdead;" | หัวคอลัมน์ 2 |- | คอลัมน์ 1 แถว 1 | คอลัมน์ 1 แถว 2 | rowspan=2 valign="top" |คอลัมน์ 3 |- | คอลัมน์ 1 แถว 2 | คอลัมน์ 2 แถว 2 |} |
หัวคอลัมน์ 1 | หัวคอลัมน์ 2 | |
---|---|---|
คอลัมน์ 1 แถว 1 | คอลัมน์ 1 แถว 2 | คอลัมน์ 3 |
คอลัมน์ 1 แถว 2 | คอลัมน์ 2 แถว 2 |
การเพิ่มรูปภาพในตาราง
การเพิ่มรูปในตารางสามารถทำได้เช่นเดียวกับการเพิ่มข้อความธรรมดา แต่จะเป็นลักษณะการเพิ่มไฟล์ภาพแทน นอกจากสื่อประเภทภาพแล้วยังสามารถเพิ่มไฟล์ชนิดสื่ออื่นๆ ได้ในลักษณะเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นการใช้คำสั่งดังข้างล่างนี้
{| border="1" cellpadding="6" cellspacing="1" align="center" |+ดอกไม้ประจำจังหวัด |- !width="100" style="background:#ffdead;" | ชื่อดอกไม้ !width="120" style="background:#ffdead;" | ประจำจังหวัด !width="120" style="background:#ffdead;" | ภาพดอกไม้ |- |ราชพฤกษ์ |ขอนแก่น |[[ภาพ:Raatchaphruk.jpg|120px|center|ราชพฤกษ์]] |- |แก้ว |สระแก้ว |[[ภาพ:kxxw.JPG|120px|center|แก้ว]] |} |
จะได้ผลลัพธ์ตารางดังต่อไปนี้
ชื่อดอกไม้ | ประจำจังหวัด | ภาพดอกไม้ |
---|---|---|
ราชพฤกษ์ | ขอนแก่น | |
แก้ว | สระแก้ว |