ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ร-โรคเรื้อน"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 14: | แถว 14: | ||
</div> | </div> | ||
<center> | <center> | ||
− | <div style="display:table;width:90%; border:solid | + | <div style="display:table; width:90%; border:thin solid red" align="center"> |
+ | <div style="display:table; width:90%; margin-left:5%;text-align:left"> | ||
สถานการณ์โรคเรื้อนในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง จากการสำรวจอัตราความชุกของโรค (Prevalence Rate : PR) ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ เท่ากับ ๐.๑๙/๑๐,๐๐๐ ประชากร โดยมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๑๕๓ ราย เมื่อเทียบกับพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่มีอัตราความชุกของโรคเท่ากับ ๐.๒๕/๑๐,๐๐๐ ประชากรมีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๕๖๑ ราย | สถานการณ์โรคเรื้อนในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง จากการสำรวจอัตราความชุกของโรค (Prevalence Rate : PR) ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ เท่ากับ ๐.๑๙/๑๐,๐๐๐ ประชากร โดยมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๑๕๓ ราย เมื่อเทียบกับพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่มีอัตราความชุกของโรคเท่ากับ ๐.๒๕/๑๐,๐๐๐ ประชากรมีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๕๖๑ ราย | ||
แถว 20: | แถว 21: | ||
สถานการณ์โรคเรื้อน สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนราธิวาส http://sasuk12.com/naratiwat/health_news/news_item.asp?NewsID=29 | สถานการณ์โรคเรื้อน สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนราธิวาส http://sasuk12.com/naratiwat/health_news/news_item.asp?NewsID=29 | ||
− | </div> | + | </div></div> |
</center> | </center> | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:48, 5 ตุลาคม 2552
พุทธศักราช ๒๔๙๘ โรคเรื้อนระบาด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเงินส่วนหนึ่งจากทุนอานันทมหิดล ในการจัดสร้างสถาบันค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อนขึ้นในพุทธศักราช ๒๕๐๑ ณ โรงพยาบาลโรคเรื้อนที่ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พระราชทานนามว่า ราชประชาสมาสัย อันมีความหมายว่าพระราชากับประชาชนร่วมมือกัน เนื่องด้วยมีประชาชนจำนวนมากได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลในการจัดหาทุน และได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเงินที่เหลือจากการจัดสร้างอาคารแก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อใช้ในกิจการควบคุมโรคเรื้อนต่อไป อันเป็นที่มาของมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวได้ว่าในช่วงพุทธศักราช ๒๔๙๙ - ๒๕๓๗ การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริได้ขยายออกไปจนครบทุกจังหวัด สามารถรับผู้ป่วยโรคเรื้อนมาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยได้เกือบ ๑๗๐,๐๐๐ ราย และบำบัดรักษาจนหายจากโรคจำนวน ๘๓,๙๙๓ ราย ส่วนผู้ป่วยที่แพทย์เห็นว่าหมดเชื้อที่จะติดต่อได้แล้วนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้อยู่ในนิคมต่างๆ ๑๒ นิคมทั่วประเทศและทำงานเกษตรกรรม ทอผ้า จักสาน โดยใช้เงินทุนที่ได้รับจากมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อจำหน่ายผลผลิตได้แล้วจึงนำมาผ่อนชำระให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไป
สำหรับลูกหลานของผู้ป่วยที่ถูกเลี้ยงแยกออกมาและไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียนราชประชาสมาสัยขึ้นที่ตำบลบางจาก อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และทรงติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนตลอดมาจนสามารถจัดตั้งมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย เพื่อสนับสนุนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ซึ่งต่อมาได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ
สถานการณ์โรคเรื้อนในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง จากการสำรวจอัตราความชุกของโรค (Prevalence Rate : PR) ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ เท่ากับ ๐.๑๙/๑๐,๐๐๐ ประชากร โดยมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๑๕๓ ราย เมื่อเทียบกับพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่มีอัตราความชุกของโรคเท่ากับ ๐.๒๕/๑๐,๐๐๐ ประชากรมีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาทั่วประเทศจำนวน ๑,๕๖๑ ราย
ที่มา: สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ๒๕๔๙ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 203.157.15.4/Annual49/Part1/28_Leprosy.doc
สถานการณ์โรคเรื้อน สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนราธิวาส http://sasuk12.com/naratiwat/health_news/news_item.asp?NewsID=29
ดูเพิ่มเติม | การแพทย์ / มูลนิธิราชประชาสมาสัย |
---|