ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน"

(๔) ดินถูกชะล้าง (Soil erosion) : ช่วยเหลือด้วยกำแพงที่มีชีวิต)
(๑) ดินทราย : ต้องเพิ่มกันชนให้ดิน)
 
(ไม่แสดง 9 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
เรื่องที่เกี่ยวข้อง[[ความสำคัญของทรัพยากรดิน]]
+
<div id="bg_g2t">&nbsp;</div>
 
+
<div id="bg_g2">
'''แนวพระราชดำริเพื่อประชาชนในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย'''
+
<h3>'''แนวพระราชดำริเพื่อประชาชนในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย'''</h3>
  
 
==='''๑) ดินทราย :''' ต้องเพิ่มกันชนให้ดิน===
 
==='''๑) ดินทราย :''' ต้องเพิ่มกันชนให้ดิน===
แถว 11: แถว 11:
 
'''วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ'''
 
'''วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ'''
 
* สร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน ๑๘ แห่ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำโจน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำหลักของโครงการ เพื่อนำน้ำไปใช้พัฒนาการเกษตรและขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ด้านการชะลอน้ำ ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดินและช่วยฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
 
* สร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน ๑๘ แห่ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำโจน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำหลักของโครงการ เพื่อนำน้ำไปใช้พัฒนาการเกษตรและขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ด้านการชะลอน้ำ ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดินและช่วยฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
* ที่ดินบริเวณร่องห้วย เป็นดินไม่มีปัญหา จัดทำแปลงสาธิตการพัฒนาการเกษตรตามแนว '''ทฤษฎีใหม่''' โดยการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแห่งน้ำสำรอง
+
* ที่ดินบริเวณร่องห้วย เป็นดินไม่มีปัญหา จัดทำแปลงสาธิตการพัฒนาการเกษตรตามแนว '''[[ทฤษฎีใหม่]]''' โดยการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแห่งน้ำสำรอง
 
* ที่ดินบริเวณที่มีความลาดชันและเป็นที่ดอน (uplands) ให้ปลูกแฝกตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมแบ่งเนื้อที่เป็นส่วนๆ เพื่อปลูกแฝกสำหรับเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สวนสมุนไพร ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผล และพืชล้มลุกปลอดสารพิษ การปลูกไม้ผลและพืชล้มลุกจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำใช้รดพืชใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำซึ่งส่งมาตามคลองชลประทานขนาดเล็ก
 
* ที่ดินบริเวณที่มีความลาดชันและเป็นที่ดอน (uplands) ให้ปลูกแฝกตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมแบ่งเนื้อที่เป็นส่วนๆ เพื่อปลูกแฝกสำหรับเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สวนสมุนไพร ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผล และพืชล้มลุกปลอดสารพิษ การปลูกไม้ผลและพืชล้มลุกจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำใช้รดพืชใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำซึ่งส่งมาตามคลองชลประทานขนาดเล็ก
  
แถว 34: แถว 34:
 
==='''๓) ดินดาน ดินแข็ง และดินลูกรัง :''' ต้องสร้างของดีซ้อนบนของเลว===
 
==='''๓) ดินดาน ดินแข็ง และดินลูกรัง :''' ต้องสร้างของดีซ้อนบนของเลว===
  
[[ภาพ:ดิน-03.jpg|right]]<div class="kindent">ดินดาน หรือ ดินแข็ง และดินลูกรัง มีลักษณะเป็นดินเนื้อละเอียด น้ำหนักมาก น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้ยาก ฤดูแล้งจะแห้งแข็งแตกระแหง รากไม้แทรกเข้าไปได้ยาก จึงปลูกพืชได้ไม่ค่อยเจริญเติบโต
+
[[ภาพ:ดิน-03.jpg|ดินดาน|right]]<div class="kindent">ดินดาน หรือ ดินแข็ง และดินลูกรัง มีลักษณะเป็นดินเนื้อละเอียด น้ำหนักมาก น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้ยาก ฤดูแล้งจะแห้งแข็งแตกระแหง รากไม้แทรกเข้าไปได้ยาก จึงปลูกพืชได้ไม่ค่อยเจริญเติบโต
  
 
'''"...เราจะสร้างของดี ซ้อนบนของเลวนั้นต้องสร้างผิวดินใหม่ขึ้นมา ..."''' พระราชดำรัส ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
 
'''"...เราจะสร้างของดี ซ้อนบนของเลวนั้นต้องสร้างผิวดินใหม่ขึ้นมา ..."''' พระราชดำรัส ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
แถว 60: แถว 60:
  
  
[[ภาพ:ดิน-หญ้าแฝก.jpg|center|200px]]
+
[[ภาพ:ดิน-หญ้าแฝก.jpg|เพาะกล้าหญ้าแฝก|center]]
  
 
'''"...ปลูกหญ้าแฝกเพื่อจะให้ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาเป็นดินที่สมบูรณ์ โดยที่ปลูกหญ้าแฝกและทำคันกั้นไม่ให้ตะกอนเหล่านั้นไหลลงไปในห้วยก็สามารถฟื้นฟูได้อย่างดี ถ้าหากว่าไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้ ดินนั้นจะหมดไปเลยหรือเหลือแต่ดินดานและทราย และดินที่อาจเป็นดินสมบูรณ์ก็ไหลลงไปในห้วยทำให้ห้วยตื้นเขิน เมื่อห้วยตื้นเขินน้ำที่ลงมาจากภูเขาก็ท่วมในที่ราบ และน้ำที่ลงจากเขาจะลงมาโดยเร็ว เพราะว่าภูเขานั้นมีต้นไม้น้อยทำให้น้ำลงมารวมกันอย่างฉับพลันและท่วมมิหนำซ้ำเมื่อน้ำท่วมแล้วทำลายพืชผลของชาวบ้าน น้ำนั้นไหลไปเร็ว เวลาไม่กี่วันก็แห้งไม่มีน้ำใช้ ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูการเพาะปลูก.."'''
 
'''"...ปลูกหญ้าแฝกเพื่อจะให้ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาเป็นดินที่สมบูรณ์ โดยที่ปลูกหญ้าแฝกและทำคันกั้นไม่ให้ตะกอนเหล่านั้นไหลลงไปในห้วยก็สามารถฟื้นฟูได้อย่างดี ถ้าหากว่าไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้ ดินนั้นจะหมดไปเลยหรือเหลือแต่ดินดานและทราย และดินที่อาจเป็นดินสมบูรณ์ก็ไหลลงไปในห้วยทำให้ห้วยตื้นเขิน เมื่อห้วยตื้นเขินน้ำที่ลงมาจากภูเขาก็ท่วมในที่ราบ และน้ำที่ลงจากเขาจะลงมาโดยเร็ว เพราะว่าภูเขานั้นมีต้นไม้น้อยทำให้น้ำลงมารวมกันอย่างฉับพลันและท่วมมิหนำซ้ำเมื่อน้ำท่วมแล้วทำลายพืชผลของชาวบ้าน น้ำนั้นไหลไปเร็ว เวลาไม่กี่วันก็แห้งไม่มีน้ำใช้ ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูการเพาะปลูก.."'''
แถว 78: แถว 78:
 
พื้นที่ที่มีปัญหาดินถูกชะล้าง และได้นำแนวพระราชดำริไปดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีการปลูกแฝกตามลักษณะของสภาพพื้นที่ ดังนี้
 
พื้นที่ที่มีปัญหาดินถูกชะล้าง และได้นำแนวพระราชดำริไปดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีการปลูกแฝกตามลักษณะของสภาพพื้นที่ ดังนี้
 
</div>
 
</div>
[[ภาพ:ดิน-04.jpg|right]]* ปลูกโดยรอบแปลงเกษตรกรรม
+
[[ภาพ:ดิน-04.jpg|right|ชาวสวนปลูกผักท้องร่อง|200px]]* ปลูกโดยรอบแปลงเกษตรกรรม
 
* ปลูกลงในแปลงๆ ละ ๑ แถว
 
* ปลูกลงในแปลงๆ ละ ๑ แถว
 
* สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
 
* สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
แถว 103: แถว 103:
 
เมื่อเข้าใจว่า ดินเปรี้ยว ดินพรุ เป็นอย่างไรแล้ว พอจะอนุมานได้ว่า ใครทำลายป่าพรุ คำตอบคือ เกิดจากคนที่มีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บุกรุกทำลายแผ้วถางป่าพรุ เพื่อทำการกสิกรรม และจับสัตว์น้ำ สัตว์บก โทษที่เกิดจากการกระทำก็คือ ทำให้ดิน และน้ำของพื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นกรดอย่างรุนแรงไม่สามารถทำการกสิกรรม หรือนำมาบริโภคได้ สัตว์น้ำต่างๆ สูญหายหมดไป
 
เมื่อเข้าใจว่า ดินเปรี้ยว ดินพรุ เป็นอย่างไรแล้ว พอจะอนุมานได้ว่า ใครทำลายป่าพรุ คำตอบคือ เกิดจากคนที่มีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บุกรุกทำลายแผ้วถางป่าพรุ เพื่อทำการกสิกรรม และจับสัตว์น้ำ สัตว์บก โทษที่เกิดจากการกระทำก็คือ ทำให้ดิน และน้ำของพื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นกรดอย่างรุนแรงไม่สามารถทำการกสิกรรม หรือนำมาบริโภคได้ สัตว์น้ำต่างๆ สูญหายหมดไป
  
วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกับวิธีการทั่วไปที่ต้องการลดปัญหา แต่เป็นการสร้างหรือเพิ่มให้ปัญหามีความรุนแรงขึ้นด้วยกระบวนการที่ทรงเรียกว่า '''แกล้งดิน''' เป็นกระบวนการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินที่มีแร่กำมะถันหรือสารประกอบไพไรท์ โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งดินจะสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียก ซัลเฟตจะผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อ '''ดิน ถูก แกล้ง''' สลับไปสลับมา จนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวหรือเป็นกรดจัด จนพืชไม่สามารถขึ้นและเติบโตได้ จึงให้หาทางแก้ไขความเป็นกรดจัดของดินโดยวิธีการต่างๆ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้รัสนองพระราชดำริ ในการเสาะหาวิธีที่ดีที่เหมาะสมที่สุดคือ การใช้น้ำชะล้างดินควบคู่กับการใช้ปูนผนวกกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ลึกไม่เกิน ๑ เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แร่กำมะถันที่อยู่ในดินชั้นล่างสัมผัสกับอากาศในดินและปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา เมื่อกรดกำมะถันมีน้อยดินเปรี้ยวน้อยลง ทรงเรียกว่า '''ระบบซักผ้า''' โดยใช้น้ำจืดชะล้างน้ำเปรี้ยวออกไปยิ่งบ่อยขึ้นความเปรี้ยวก็ลดน้อยลง เมื่อมีปัญหาดินเปรี้ยวไม่มากก็สามารถปลูกพืชได้และปรับปรุงดินชั้นบนให้สามารถปลูกข้าว ถั่ว พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนสามารถเลี้ยงปลาในบ่อได้ (ข้อมูลทรัพยากรดินโดย ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน)
+
วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกับวิธีการทั่วไปที่ต้องการลดปัญหา แต่เป็นการสร้างหรือเพิ่มให้ปัญหามีความรุนแรงขึ้นด้วยกระบวนการที่ทรงเรียกว่า '''[[แกล้งดิน]]''' เป็นกระบวนการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินที่มีแร่กำมะถันหรือสารประกอบไพไรท์ โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งดินจะสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียก ซัลเฟตจะผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อ '''ดิน ถูก แกล้ง''' สลับไปสลับมา จนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวหรือเป็นกรดจัด จนพืชไม่สามารถขึ้นและเติบโตได้ จึงให้หาทางแก้ไขความเป็นกรดจัดของดินโดยวิธีการต่างๆ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้รัสนองพระราชดำริ ในการเสาะหาวิธีที่ดีที่เหมาะสมที่สุดคือ การใช้น้ำชะล้างดินควบคู่กับการใช้ปูนผนวกกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ลึกไม่เกิน ๑ เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แร่กำมะถันที่อยู่ในดินชั้นล่างสัมผัสกับอากาศในดินและปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา เมื่อกรดกำมะถันมีน้อยดินเปรี้ยวน้อยลง ทรงเรียกว่า '''ระบบซักผ้า''' โดยใช้น้ำจืดชะล้างน้ำเปรี้ยวออกไปยิ่งบ่อยขึ้นความเปรี้ยวก็ลดน้อยลง เมื่อมีปัญหาดินเปรี้ยวไม่มากก็สามารถปลูกพืชได้และปรับปรุงดินชั้นบนให้สามารถปลูกข้าว ถั่ว พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนสามารถเลี้ยงปลาในบ่อได้ (ข้อมูลทรัพยากรดินโดย ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน)
 
</div>
 
</div>
  
[[ภาพ:ดิน-แกล้งดิน.jpg|center]]
+
[[ภาพ:ดิน-แกล้งดิน.jpg|ภาพสรุปทฤษฎีแกล้งดินในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|center]]
  
 
==='''๖) ดินเค็ม : ต้องล้างความเค็ม'''===
 
==='''๖) ดินเค็ม : ต้องล้างความเค็ม'''===
แถว 114: แถว 114:
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินเค็ม โดยใช้ระบบชลประทานในการล้างเกลือที่ตกค้างบริเวณผิวดินและบริเวณลำห้วย เพื่อให้น้ำในลำห้วยเจือจางสามารถนำมาใช้สอยได้ตามปกติ ตัวอย่างโครงการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มบริเวณห้วยบ่อแดง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการทำนาเกลือบริเวณลำห้วย จึงมีพระราชดำริให้ขุดลอกลำห้วยบ่อแดง พร้อมยกคันดินให้สูง เพื่อป้องกันน้ำเกลือไหลลงสู่ลำห้วยตกค้าง และเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาข้าวสามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้ ผู้ประกอบการทำนาเกลือทั้งหลายจะต้องจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งที่บริเวณลานตากเกลือ ขุดเป็นสระเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับรองรับน้ำเค็มที่ปล่อยทิ้งจากลานตากเกลือทั้งหมด เก็บไว้ในสระเพื่อรอการระเหยหรือไหลลงในดินโดยบ่อบาดาลเล็กๆ ที่ขุดขึ้น เพื่อระบายน้ำลงสู่ชั้นดินเค็มใต้ดินที่สูบขึ้นมา ขนาดของสระน้ำดังกล่าวจะมีขนาดและความลึกเท่าใดต้องกำหนดให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำทิ้งจากลานตากเกลือ และความสามารถของน้ำในสระที่ไหลลงไปใต้ดิน ทั้งนี้ ให้มีความสมดุลพอดีกัน โดยไม่ทำให้น้ำเค็มไหลล้นไปยังลำห้วยข้างๆ อีกต่อไป ดังนั้น ระบบการทำนาเกลือสินเธาว์ที่ได้มาตรฐานตามแนวพระราชดำริจึงมีบ่อรับน้ำทิ้งจากลานตากเกลือและการกำจัดโดยการอัดน้ำเหล่านี้สู่ชั้นเกลือที่สูบขึ้นมา ซึ่งสามารถป้องกันน้ำเค็มที่ระบายจากลานตากเกลือมิให้ไหลลงในร่องน้ำและพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินเค็ม โดยใช้ระบบชลประทานในการล้างเกลือที่ตกค้างบริเวณผิวดินและบริเวณลำห้วย เพื่อให้น้ำในลำห้วยเจือจางสามารถนำมาใช้สอยได้ตามปกติ ตัวอย่างโครงการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มบริเวณห้วยบ่อแดง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการทำนาเกลือบริเวณลำห้วย จึงมีพระราชดำริให้ขุดลอกลำห้วยบ่อแดง พร้อมยกคันดินให้สูง เพื่อป้องกันน้ำเกลือไหลลงสู่ลำห้วยตกค้าง และเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาข้าวสามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้ ผู้ประกอบการทำนาเกลือทั้งหลายจะต้องจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งที่บริเวณลานตากเกลือ ขุดเป็นสระเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับรองรับน้ำเค็มที่ปล่อยทิ้งจากลานตากเกลือทั้งหมด เก็บไว้ในสระเพื่อรอการระเหยหรือไหลลงในดินโดยบ่อบาดาลเล็กๆ ที่ขุดขึ้น เพื่อระบายน้ำลงสู่ชั้นดินเค็มใต้ดินที่สูบขึ้นมา ขนาดของสระน้ำดังกล่าวจะมีขนาดและความลึกเท่าใดต้องกำหนดให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำทิ้งจากลานตากเกลือ และความสามารถของน้ำในสระที่ไหลลงไปใต้ดิน ทั้งนี้ ให้มีความสมดุลพอดีกัน โดยไม่ทำให้น้ำเค็มไหลล้นไปยังลำห้วยข้างๆ อีกต่อไป ดังนั้น ระบบการทำนาเกลือสินเธาว์ที่ได้มาตรฐานตามแนวพระราชดำริจึงมีบ่อรับน้ำทิ้งจากลานตากเกลือและการกำจัดโดยการอัดน้ำเหล่านี้สู่ชั้นเกลือที่สูบขึ้นมา ซึ่งสามารถป้องกันน้ำเค็มที่ระบายจากลานตากเกลือมิให้ไหลลงในร่องน้ำและพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
</div>
 
</div>
 +
 +
{{ดูเพิ่มเติม|[[ความสำคัญของทรัพยากรดิน]] / [[:หมวดหมู่:หญ้าแฝก]]}}
  
 
----
 
----
 
จากหนังสือ "จอมปราชญ์แห่งดิน" จัดทำโดย [http://www.rdpb.go.th สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)]
 
จากหนังสือ "จอมปราชญ์แห่งดิน" จัดทำโดย [http://www.rdpb.go.th สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)]
 
+
</div>
[[หมวดหมู่:รัชกาลที่9]][[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่:การจัดการทรัพยากรดิน]]
+
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]][[หมวดหมู่:การจัดการทรัพยากรดิน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:53, 5 ตุลาคม 2552

 

แนวพระราชดำริเพื่อประชาชนในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในประเทศไทย

๑) ดินทราย : ต้องเพิ่มกันชนให้ดิน

ดินทราย (Sandy) มีลักษณะโปร่งน้ำและรากพืชผ่านไปได้ง่าย มีอาหารพืชอยู่น้อยในฤดูฝน ต้นไม้ที่ปลูกจะงอกงามดี เพราะมีน้ำบริบูรณ์แต่ฤดูแล้งมีน้ำไม่เพียงพอ ต้นไม้มักเหี่ยวแห้ง ต้นไม้ที่ปลูกใหม่มักจะตาย เพราะร้อนและแห้งจัด วิธีแก้ไขก็ต้องเพิ่มความชื้นและเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่จะทำหน้าที่เสมือนกันชนแก่ดินให้มากขึ้น

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สามารถแก้ไขปัญหา ดินทรายมีแร่ธาตุน้อย อันมีสาเหตุมาจาก คน ทำลายป่า แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพดและมันสำปะหลัง ซึ่งทำให้ดินจืดและกลายเป็นดินทรายไปในที่สุด ในฤดูแล้งแรงลมจะพัดเอาหน้าดินไปหมด ในฤดูฝนหน้าดินจะถูกชะล้างไปกับกระแสน้ำ

วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ

  • สร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน ๑๘ แห่ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำโจน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำหลักของโครงการ เพื่อนำน้ำไปใช้พัฒนาการเกษตรและขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ด้านการชะลอน้ำ ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดินและช่วยฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
  • ที่ดินบริเวณร่องห้วย เป็นดินไม่มีปัญหา จัดทำแปลงสาธิตการพัฒนาการเกษตรตามแนว ทฤษฎีใหม่ โดยการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแห่งน้ำสำรอง
  • ที่ดินบริเวณที่มีความลาดชันและเป็นที่ดอน (uplands) ให้ปลูกแฝกตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมแบ่งเนื้อที่เป็นส่วนๆ เพื่อปลูกแฝกสำหรับเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สวนสมุนไพร ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผล และพืชล้มลุกปลอดสารพิษ การปลูกไม้ผลและพืชล้มลุกจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างต่อเนื่อง สำหรับน้ำใช้รดพืชใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำซึ่งส่งมาตามคลองชลประทานขนาดเล็ก

หลังจากการดำเนินงานอย่างต่เนื่องเป็นระยะเวลากว่า ๒๐ ปี พื้นที่ดินของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ฯ ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว สามารถปลูกพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินหมดไป สามารถใช้เป็นพื้นที่สาธิตหรือพื้นที่ตัวอย่างของการพัฒนาดินทรายเสื่อมโทรมได้

๒) ดินเป็นหิน กรวด และแห้งแล้ง : ต้องยึดดินและช่วยให้ชื้น

ดินเป็นหิน กรวด มีลักษณะเช่นเดียวกับดินทรายหน้าดินถูกชะล้างจนเกลี้ยงเหลือแต่หินและกรวด ซึ่งพืชไม่สามารถจะเจริญเติบโตได้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณป่าขุนแม่กวง แต่สภาพป่าถูกบุกรุกทำลายไปมาก ทำให้หน้าดินถูกกระแสน้ำและลมพัดพาจนหมด เนื่องจากไม่มีป่าหรือต้นไม้คอยพยุงไว้ วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริมีดังนี้

  • สร้างอ่างเก็บน้ำและฝายตามร่องห้วยฮ่องไคร้ และห้วยแม่สาย เป็นระยะๆ เพื่อเก็บกักน้ำและสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ป่าและดิน
  • เมื่อมีความชุ่มชื้น ป่าเริ่มฟื้นตัว แปรสภาพเป็นป่าสมบูรณ์
  • มีการปลูกเสริมบ้างตามความจำเป็น เมื่อมีป่าหน้าดินก็ไม่ถูกชะล้างพังทลายอีกต่อไป
  • บริเวณพื้นที่ลาดชันน้อย ฟื้นฟูดินที่เป็นกรวด ทราย และลูกรัง โดยปลูกพืชที่เหมาะสมและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน และปลูกแฝกตามแนวระดับเพื่อยืดดินและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
  • พื้นที่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ ทำนา เพื่อเป็นตัวอย่าง
  • อ่างเก็บน้ำต่างๆ โดยเฉพาะอ่างห้วยฮ่องไคร้มีความจุ ๓ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโครงการให้เลี้ยงปลา แล้วให้ราษฎรจับไปขายได้ในรูปของสหกรณ์

ผลของการพัฒนาในช่วง ๑๖ ปีที่ผ่านมา ป่าในพื้นที่โครงการได้แปรสภาพเป็นป่าเกือบสมบูรณ์ แหล่งต้นน้ำของห้วยฮ่องไคร้ ได้กลับฟื้นคืนสภาพดังเดิม การชะล้างพังทลายของดินหมดไป ดินในพื้นที่หุบเขาที่มีความลาดชันน้อย ได้รับการฟื้นฟูทำการเกษตรควบคู่ไปกับการรักษาป่า และสภาพแวดล้อม ซึ่งราษฎรสามารถนำเอาไปใช้ปฏิบัติได้ในพื้นที่อื่นๆ


๓) ดินดาน ดินแข็ง และดินลูกรัง : ต้องสร้างของดีซ้อนบนของเลว

ดินดาน
ดินดาน หรือ ดินแข็ง และดินลูกรัง มีลักษณะเป็นดินเนื้อละเอียด น้ำหนักมาก น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้ยาก ฤดูแล้งจะแห้งแข็งแตกระแหง รากไม้แทรกเข้าไปได้ยาก จึงปลูกพืชได้ไม่ค่อยเจริญเติบโต

"...เราจะสร้างของดี ซ้อนบนของเลวนั้นต้องสร้างผิวดินใหม่ขึ้นมา ..." พระราชดำรัส ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดินดาน ดินลูกรัง ตามแนวพระราชดำริ โดยใช้วิธี ดังนี้

  • สร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำหลัก เพื่อเก็บกักน้ำรักษาความชุ่มชื้น และนำน้ำไปใช้อย่างประหยัดตามความจำเป็น
  • ฟื้นฟูไม้เศรษฐกิจทางการเกษตร เช่น ไม้ผล และพืชล้มลุก ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ และปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดทเขนานกันหลายๆ แนว เพื่อป้องกันไม่ให้ดินถูกชะล้างพังทลาย ลดปริมาณน้ำไหลบ่าผ่านหน้าดินและรักษาความชุ่มชื้น
ผลการดำเนินงานในช่วงเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมาสภาพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ในปัจจุบันได้แปรสภาพเป็นพื้นที่สีเขียวและมีสภาพแวดล้อมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

๔) ดินถูกชะล้าง (Soil erosion) : ช่วยเหลือด้วยกำแพงที่มีชีวิต

ดินถูกชะล้าง คือ ดินที่อุดมสมบูรณ์ แต่ถูกกระแสน้ำและลมพัดพาเอาหน้าดินที่มีอินทรียวัตถุ อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชไปหมด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาหน้าดินถูกชะล้างโดยใช้ กำแพงที่มีชีวิต และพระราชทานพระราชดำริครั้งแรก ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ กับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และเลขาธิการ กปร. "...ให้ศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินในพื้นที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสม..." และเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรและทรงปลูกหญ้าแฝก ในพื้นที่โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีพระราชกระแสว่า "...ให้ปลูกหญ้าแฝกไว้ด้วยเพราะหญ้าแฝก มีประโยชน์ในการช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย ช่วยรักษาหน้าดิน ช่วยกักเก็บอินทรียวัตถุในดิน ใบอ่อนยังเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย..."


"...การอนุรักษ์ดินต้องดำเนินควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝกต้องทำให้กว้างขวางเพื่อป้องกันและรักษาหน้าดินไม่ให้สูญหาย ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการในบริเวณที่จะฟื้นฟู และอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสื่อมโทรมต่างๆ..."

พระราชดำริ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๐


เพาะกล้าหญ้าแฝก

"...ปลูกหญ้าแฝกเพื่อจะให้ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาเป็นดินที่สมบูรณ์ โดยที่ปลูกหญ้าแฝกและทำคันกั้นไม่ให้ตะกอนเหล่านั้นไหลลงไปในห้วยก็สามารถฟื้นฟูได้อย่างดี ถ้าหากว่าไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้ ดินนั้นจะหมดไปเลยหรือเหลือแต่ดินดานและทราย และดินที่อาจเป็นดินสมบูรณ์ก็ไหลลงไปในห้วยทำให้ห้วยตื้นเขิน เมื่อห้วยตื้นเขินน้ำที่ลงมาจากภูเขาก็ท่วมในที่ราบ และน้ำที่ลงจากเขาจะลงมาโดยเร็ว เพราะว่าภูเขานั้นมีต้นไม้น้อยทำให้น้ำลงมารวมกันอย่างฉับพลันและท่วมมิหนำซ้ำเมื่อน้ำท่วมแล้วทำลายพืชผลของชาวบ้าน น้ำนั้นไหลไปเร็ว เวลาไม่กี่วันก็แห้งไม่มีน้ำใช้ ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูการเพาะปลูก.."


"...หญ้าแฝกนี้จะกักน้ำและปุ๋ยที่มาจากภูเขา ภูเขาเป็นเครื่องปฏิกรณ์น้ำและปุ๋ย ไม่ต้องเอาปุ๋ยที่ไหน พัฒนาดินก็สบายก็อาศัยชลประทาน แล้วก็ป่าไม้ต้องเสริมสร้างผิวดินใหม่ขึ้นมา หญ้าแฝกเราเจาะดินลงไปแล้วเอาดินที่มีอาหารลงไป หญ้าแฝกก็สามารถชอนไชอยู่ได้ เวลาน้ำฝนชะมาจากภูเขาจะชะใบไม้มาติดหญ้าแฝก ก็จะเป็นดินที่ใช้ได้ ดินนี้จะเพิ่มขึ้นนานไปก็จะเป็นดินที่เป็นประโยชน์ปลูกต้นไม้ได้ดี..."

พระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑


ตัวอย่างโครงการปลูกหญ้าแฝกของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ตั้งขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ ไว้ ๖ ศูนย์ เพื่อเป็นต้นแบบของความสำเร็จของการพัฒนาแบบผสมผสานที่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปศึกษา เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเป็นสถานที่ที่สำคัญในการศึกษาทดลอง และดำเนินการสนองพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกอย่างมากมาย โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การรวบรวมและเปรียบเทียบสายพันธุ์หญ้าแฝกแหล่งต่างๆ มีการเพาะในแปลงขยายพันธุ์ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง การนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ตลอดจนการขยายผลไปสู่เกษตรกร ทั้งนี้ยังได้มีการอบรมให้ความรู้และจัดทำสาธิตวิธีการปลูกหญ้าแฝกในลักษณะต่างๆ ไว้ในศูนย์ฯ เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา และมีการแจกจ่ายพันธุ์หญ้าแฝกให้กับผู้ที่สนใจด้วย

พื้นที่ที่มีปัญหาดินถูกชะล้าง และได้นำแนวพระราชดำริไปดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีการปลูกแฝกตามลักษณะของสภาพพื้นที่ ดังนี้

ชาวสวนปลูกผักท้องร่อง
* ปลูกโดยรอบแปลงเกษตรกรรม
  • ปลูกลงในแปลงๆ ละ ๑ แถว
  • สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
  • การปลูกหญ้าแฝกกับพื้นที่ภูเขา โดยปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นในดินไว้
  • การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่างๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำ
  • การปลูกหญ้าแฝกบริเวณร่องน้ำขนาดเล็ก ให้ปลูกเป็นรูปตัว "^" โดยให้ปลายแหลมชี้ขึ้นในทางต้นน้ำ ขาทั้ง ๒ ข้างพาดวางร่องน้ำไปตามความลาดชันเพื่อกั้นดินและกระจายการไหลของน้ำ
ประโยชน์ที่ได้รับ คือ หน้าดินถูกชะล้างน้อยลงสามารถเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้หลากหลาย และยังช่วยไม่ให้เกิดน้ำป่าไหลหลากก่อความเสียหายแก่พืชผลไร่นาของราษฎรบริเวณใกล้เคียง

ตัวอย่างโครงการพัฒนาหญ้าแฝก ในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื้องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย มีการปลูกหญ้าแฝกเขื่อนธรรมชาติ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การกัดกร่อนผิวดิน การกัดเซาะดินไม่ให้เลื่อนไหลและเพื่อกรองตะกอนดินที่น้ำพามา ตลอดจนลดความเร็วของน้ำทำให้ดินดูดซับน้ำได้ดีขึ้น ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากสามารถป้องกันการสูญเสียหน้าดินและน้ำที่ไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้สภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันสมบูรณ์ฟื้นคืนกลับมาพร้อมที่จะนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าบริเวณต้นน้ำลำธาร ป่าเศรษฐกิจและพืชเศรษฐกิจหรือพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นรูปแบบการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่อื่นที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน

นอกจากนี้ ในการแก้ไขสามารถประหยัดงบประมาณจำนวนมาก และยังป้องกันการเลื่อนไหลพังทลายของดิน โดยวิธีทางวิศวกรรมได้ เนื่องจากการสร้างกำแพงหญ้าแฝกมีค่าใช้จ่ายต่ำ และกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมดังเดิม

๕) ดินเปรี้ยว หรือดินพรุ: ทำให้ดินโกรธ โดยแกล้งดิน

พรุ คือ ที่ลุ่มสนุ่น (สนุ่น คือ ซากผุพังของพืชพรรณทับถมอยู่มาก) ส่วนดินพรุตามระบบอนุกรมวิธาน ทางปฐพีวิทยาหมายถึง ดินที่มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชั้นหนาอย่างน้อย ๕๐ เซนติเมตรขึ้นไป และน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุมีสภาพความเป็นกรดระหว่าง ๔.๕ - ๖.๐ อินทรียวัตถุที่ทับถมกันเป็นเวลานาน จนแปรสภาพเป็นดินอินทรียพ์ (peat) นั้นมีสภาพเป็นอินทรีย์คาร์บอน (Organic Carbon) ที่มีความเป็นกรดกำมะถันสูง (ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริธร. ๒๕๔๕ : ๑๘)


ดินพรุ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ลักษณะทางกายภาพ คือ พื้นที่ลุ่มมีน้ำขัง เช่น พื้นที่บึงหรือหนองน้ำที่ค่อนข้างตื้น มีพืชพวก กก พืชล้มลุก และหญ้าต่างๆ เกิดขึ้นและตายทับถมกันเป็นเวลานานๆ เปิดโอกาสให้ไม้พุ่มและไม้ยืนต้นเจริญเติบโตขึ้นได้ เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนาน ความหลากหลายของพันธุ์พืช ทั้งไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นก็ยิ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้น เอื้ออำนวยให้สัตว์ป่าหลากชนิด เข้ามาอาศัยและตายทับถมกันอยู่ในป่า เวลาผ่านไปซากพืช ซากสัตว์เหล่านี้ สะสมจนเป็นชั้นหนา เรียกว่า ดินอินทรีย์ (peat) และเรียกป่าที่ดินอินทรีย์นี้ว่า ป่าพรุ (ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิริธร. ๒๕๔๕ : ๑)

เมื่อเข้าใจว่า ดินเปรี้ยว ดินพรุ เป็นอย่างไรแล้ว พอจะอนุมานได้ว่า ใครทำลายป่าพรุ คำตอบคือ เกิดจากคนที่มีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บุกรุกทำลายแผ้วถางป่าพรุ เพื่อทำการกสิกรรม และจับสัตว์น้ำ สัตว์บก โทษที่เกิดจากการกระทำก็คือ ทำให้ดิน และน้ำของพื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นกรดอย่างรุนแรงไม่สามารถทำการกสิกรรม หรือนำมาบริโภคได้ สัตว์น้ำต่างๆ สูญหายหมดไป

วิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกับวิธีการทั่วไปที่ต้องการลดปัญหา แต่เป็นการสร้างหรือเพิ่มให้ปัญหามีความรุนแรงขึ้นด้วยกระบวนการที่ทรงเรียกว่า แกล้งดิน เป็นกระบวนการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินที่มีแร่กำมะถันหรือสารประกอบไพไรท์ โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งดินจะสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียก ซัลเฟตจะผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อ ดิน ถูก แกล้ง สลับไปสลับมา จนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวหรือเป็นกรดจัด จนพืชไม่สามารถขึ้นและเติบโตได้ จึงให้หาทางแก้ไขความเป็นกรดจัดของดินโดยวิธีการต่างๆ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้รัสนองพระราชดำริ ในการเสาะหาวิธีที่ดีที่เหมาะสมที่สุดคือ การใช้น้ำชะล้างดินควบคู่กับการใช้ปูนผนวกกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ลึกไม่เกิน ๑ เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แร่กำมะถันที่อยู่ในดินชั้นล่างสัมผัสกับอากาศในดินและปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา เมื่อกรดกำมะถันมีน้อยดินเปรี้ยวน้อยลง ทรงเรียกว่า ระบบซักผ้า โดยใช้น้ำจืดชะล้างน้ำเปรี้ยวออกไปยิ่งบ่อยขึ้นความเปรี้ยวก็ลดน้อยลง เมื่อมีปัญหาดินเปรี้ยวไม่มากก็สามารถปลูกพืชได้และปรับปรุงดินชั้นบนให้สามารถปลูกข้าว ถั่ว พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนสามารถเลี้ยงปลาในบ่อได้ (ข้อมูลทรัพยากรดินโดย ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน)

ภาพสรุปทฤษฎีแกล้งดินในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๖) ดินเค็ม : ต้องล้างความเค็ม

ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลืออยู่ในปริมาณมาก มีความเป็นด่างสูง จนมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช เกลือในดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นเกลือแกง ซึ่งอยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ สาเหตุของดินเค็มเกิดจากการสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ที่มีชั้นหินเกลืออยู่ใต้ดินหรือการตัดไม้เพื่อทำนาเกลือ ทำให้เกลือใต้ดินเกิดการละลายและกระจายสู่ผิวดินมากยิ่งขึ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินเค็ม โดยใช้ระบบชลประทานในการล้างเกลือที่ตกค้างบริเวณผิวดินและบริเวณลำห้วย เพื่อให้น้ำในลำห้วยเจือจางสามารถนำมาใช้สอยได้ตามปกติ ตัวอย่างโครงการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มบริเวณห้วยบ่อแดง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการทำนาเกลือบริเวณลำห้วย จึงมีพระราชดำริให้ขุดลอกลำห้วยบ่อแดง พร้อมยกคันดินให้สูง เพื่อป้องกันน้ำเกลือไหลลงสู่ลำห้วยตกค้าง และเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาข้าวสามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้ ผู้ประกอบการทำนาเกลือทั้งหลายจะต้องจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งที่บริเวณลานตากเกลือ ขุดเป็นสระเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับรองรับน้ำเค็มที่ปล่อยทิ้งจากลานตากเกลือทั้งหมด เก็บไว้ในสระเพื่อรอการระเหยหรือไหลลงในดินโดยบ่อบาดาลเล็กๆ ที่ขุดขึ้น เพื่อระบายน้ำลงสู่ชั้นดินเค็มใต้ดินที่สูบขึ้นมา ขนาดของสระน้ำดังกล่าวจะมีขนาดและความลึกเท่าใดต้องกำหนดให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำทิ้งจากลานตากเกลือ และความสามารถของน้ำในสระที่ไหลลงไปใต้ดิน ทั้งนี้ ให้มีความสมดุลพอดีกัน โดยไม่ทำให้น้ำเค็มไหลล้นไปยังลำห้วยข้างๆ อีกต่อไป ดังนั้น ระบบการทำนาเกลือสินเธาว์ที่ได้มาตรฐานตามแนวพระราชดำริจึงมีบ่อรับน้ำทิ้งจากลานตากเกลือและการกำจัดโดยการอัดน้ำเหล่านี้สู่ชั้นเกลือที่สูบขึ้นมา ซึ่งสามารถป้องกันน้ำเค็มที่ระบายจากลานตากเกลือมิให้ไหลลงในร่องน้ำและพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


จากหนังสือ "จอมปราชญ์แห่งดิน" จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)