ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชอำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 18: | แถว 18: | ||
'''ที่มา:''' รัฐสภาไทยใต้ร่มพระบารมี ๖๐ ปี ทรงครองราชย์ พุทธศักราช ๒๕๔๙ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | '''ที่มา:''' รัฐสภาไทยใต้ร่มพระบารมี ๖๐ ปี ทรงครองราชย์ พุทธศักราช ๒๕๔๙ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | ||
+ | |||
+ | <h3>ทรงสร้างพื้นฐานประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน</h3> | ||
+ | <div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพื้นฐานประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีรัฐสภามีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในต้นรัชกาล ให้มีความเข้มแข็ง และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มีความก้าวหน้าในระยะเวลาต่อมา ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการอย่างถูกต้อง บริสุทธิ์ เที่ยงธรรม อันเป็นการประกอบพระราชกรณียกิจภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้งานบริหารประเทศดำเนินไปได้ราบรื่น | ||
+ | |||
+ | ตลอดเวลา ๖๐ ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ๑๓ ฉบับ โดยได้พระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ และเสด็จพระราชดำเนินไปในรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป ๓๓ ครั้ง โดยมีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ นอกจากนี้ ทุกๆ ครั้งที่คณะผู้บริหารประเทศขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายคำสัตย์ปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานคำแนะนำรวมถึงพระบรมราโชวาทให้ตั้งตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและดำเนินการใดๆ ด้วยความตั้งใจเพื่อประโยชน์แห่งส่วนรวม อันเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้ามั่นคงสืบไป | ||
[[หมวดหมู่:ในฐานะพระมหากษัตริย์]] | [[หมวดหมู่:ในฐานะพระมหากษัตริย์]] | ||
</div> | </div> |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:55, 2 ตุลาคม 2552
ทรงประกอบพระราชกรณียกิจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รวมถึงมาตรา ๘ ที่บัญญัติไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” โดยจะไม่ทรงประกอบการใดทางการเมืองด้วยพระองค์เอง ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หากเกิดความคลาดเคลื่อนผิดพลาดใดๆ ย่อมถือว่ามิได้ทรงกระทำผิด เพราะบุคคลที่รับผิดชอบต่อความคลาดเคลื่อนผิดพลาดนั้น คือองค์กรเจ้าของเรื่องและผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ที่ถือเป็นผู้แทนขององค์กรนั้นๆ ในรัฐธรรมนูญ ยังบัญญัติถึงพระราชฐานะและพระราชอำนาจอื่นๆ อีกหลายประการ ได้แก่ “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ และ “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย” ตามมาตรา ๑๐ รวมถึง “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์” ตามมาตรา ๑๑
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะในการเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิมาดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ข้าราชการในพระองค์ และสมุหราชองครักษ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และพระรัชทายาทเพื่อสืบราชสันตติวงศ์ตามพระราชอัธยาศัย ตามมาตรา ๑๒ ๑๗ ๑๘ และ ๒๒ ตามลำดับ
การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญผ่านองค์กร
การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามนิติราชประเพณี
ที่มา: รัฐสภาไทยใต้ร่มพระบารมี ๖๐ ปี ทรงครองราชย์ พุทธศักราช ๒๕๔๙ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ทรงสร้างพื้นฐานประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน
ตลอดเวลา ๖๐ ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ๑๓ ฉบับ โดยได้พระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ และเสด็จพระราชดำเนินไปในรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป ๓๓ ครั้ง โดยมีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ นอกจากนี้ ทุกๆ ครั้งที่คณะผู้บริหารประเทศขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายคำสัตย์ปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานคำแนะนำรวมถึงพระบรมราโชวาทให้ตั้งตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและดำเนินการใดๆ ด้วยความตั้งใจเพื่อประโยชน์แห่งส่วนรวม อันเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้ามั่นคงสืบไป