ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | <center><h3>'''ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส'''</h3></center> | + | <div id="bg_g4t"> </div> |
+ | <div id="bg_g4"><center><h3>'''ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส'''</h3></center> | ||
==='''ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์'''=== | ==='''ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์'''=== | ||
แถว 83: | แถว 84: | ||
---- | ---- | ||
{{แม่แบบ:เว็บไซต์สำนักงาน กปร.}} | {{แม่แบบ:เว็บไซต์สำนักงาน กปร.}} | ||
− | </div> | + | </div></div> |
− | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่: | + | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่:ศูนย์ศึกษาการพัฒนา]][[หมวดหมู่:การเกษตร]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:25, 18 พฤศจิกายน 2551
เนื้อหา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
การดำเนินงานภายในศูนย์
๑. การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย
เพื่อศึกษา และพัฒนาดินในพื้นที่พรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้านอื่นๆ ตลอดจนการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรอุตสาหกรรม หาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เป็นแนวทางและตัวอย่างของผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป รวมทั้งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติและเกษตรกรมาผสมผสานทางวิชาการถ่ายทอดประสบการณ์
๒. การพัฒนาแบบผสมผสาน
ผลสำเร็จที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ภายในศูนย์ฯ นำไปขยายผลเพื่อการพัฒนา โดยจัดทำในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่พื้นที่ของเกษตรกรในลักษณะการพัฒนาแบบผสมผสานกันทั้งด้านความรู้ การดำเนินงาน และการบริหารอย่างเป็นระบบ
๓. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ
เป็นการประสานงาน ประสานแผนการบริหารจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยยึดกรอบในการปฏิบัติงาน ตามแผนแม่บทโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยบางหน่วยงานดำเนินงานมาตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการ บางหน่วยสิ้นสุดภาระกิจไปแล้ว และบางหน่วยเพิ่งเข้ามาร่วมงานใหม่
๔. ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
เป็นศูนย์รวมของการศึกษา ทดลอง และสาธิตที่ได้รับผลสำเร็จในทุกๆ ด้าน ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการแกล้งดิน อันเป็นรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด การเกษตรทฤษฎีใหม่ การปรับปรุงน้ำเปรี้ยว นิทรรศการป่าพรุ การเลี้ยงสัตว์แบบพื้นบ้าน เป็นต้น้
พื้นที่ดำเนินงาน
๑. พื้นที่บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เนื้อที่ ๑,๗๔๐ ไร่ เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน แปลงทดลองในที่ลุ่ม บนที่ดอนสวนยางเขาสำนัก และอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน
๒ .พื้นที่พรุในจังหวัด เนื้อที่ ๒๖๑,๘๖๐ ไร่ แบ่งป่าพรุ ๓ เขต คือ เขตสงวน , เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนา
๓. พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ได้รับการส่งเสริมด้านการเกษตรและพัฒนาอาชีพให้สามารถ พึ่งตนเองได้
๔. ศูนย์สาขา ๔ สาขา คือ โครงการสวนยางตันหยง เนื้อที่ ๑๕.๘ ไร่ , โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ เนื้อที่ ๑๓๕ ไร่ , โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโนะ เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ไร่ , โครงการหมู่บ้านโคกอิฐ - โคกใน และบ้านยูโย เนื้อที่ ๓๐,๐๖๕ ไร่
๕. พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
* กรมชลประทาน- กรมชลประทาน
- กรมควบคุมโรคติดต่อ
- กรมทางหลวงชนบท
- กรมป่าไม้
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- กรมที่ดิน
- กรมประมง
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- กรมปศุสัตว์
- กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
- กรมพัฒนาที่ดิน
- กรมการพัฒนาชุมชน
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กรมวิชาการเกษตร
- กรมการศึกษานอกโรงเรียน
- จังหวัดนราธิวาส
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- กองทัพภาคที่ 4
- กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดนราธิวาส
- หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
- สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส
- กรมแผนที่ทหาร
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ที่ตั้ง-ติดต่อ
โทรศัพท์ 0-7351-3562-3 โทรสาร 0-7351-3560
ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ