ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | <div id="bg_g4t"> </div> | ||
+ | <div id="bg_g4"> | ||
<center><h3>'''ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร'''</h3></center> | <center><h3>'''ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร'''</h3></center> | ||
แถว 77: | แถว 79: | ||
</div> | </div> | ||
− | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่: | + | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]][[หมวดหมู่:ศูนย์ศึกษาการพัฒนา]][[หมวดหมู่:โครงการฯ]][[หมวดหมู่:การพัฒนา]] |
+ | </div> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:06, 7 พฤศจิกายน 2551
เนื้อหา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
ประวัติความเป็นมา - วัตถุประสงค์
จากสภาพภูมิประเทศ และทรัพยากร ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่น จึงมีการศึกษาถึงปัญหาสภาพท้องถิ่น หรือวิถีชีวิตของราษฎรเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคอีสาน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นที่ตัวแทนของภาคอีสานทั้งหมด ด้วยพื้นที่นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวงจรทางชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไปของภาคอีสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เพื่อเป็นแบบจำลองของภาคอีสานและเป็นพื้นที่ส่วนย่อที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาให้ภูมิภาคนี้เกิดความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การดำเนินงานภายในศูนย์
งานศึกษา ทดลอง ค้นคว้า
ศึกษาหาวิธีการและรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของภาค เพื่อพัฒนาการประกอบอาชีพและผลผลิตให้สูงขึ้น โดยมีการศึกษา ทดลอง ค้นคว้า พัฒนาเกษตรกรรมใน ๕ ด้วยกันคือ
๑. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม
๒. งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน
๓. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
๔. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์
๕. งานสาธิตและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง
งานขยายผลการศึกษาและพัฒนา
เมื่อได้ผลการศึกษาที่ดี สามารถให้ผลผลิตสมบูรณ์เหมาะสมกับสภาพดินและภูมิอากาศของท้องถิ่นแล้ว ผลการศึกษาที่ดีดังกล่าวก็คือ "ตัวอย่างของผลสำเร็จ" ที่ศูนย์ฯ ได้นำไปขยายผลเผยแพร่สู่ราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน ๑๕ หมู่บ้าน โดยวิธีการให้ความรู้แก่ราษฎรในหลายวิธี ได้แก่ การจัดทำแปลงสาธิต การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาอาชีพ ทั้งด้านประกอบเกษตรกรรม ตลอดจนอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว การส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติจริง
พื้นที่ดำเนินงาน
- โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ดำเนินการลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จทั้งในด้านการเกษตร การอนุรักษ์ป่าไม้ การพัฒนาแหล่งน้ำและศิลปาชีพ
- โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร-นครพนม ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน และการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร อุปโภคบริโภคในฤดูแล้งให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ
- โครงการขุดสระกักเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นจุดศึกษา ทดลอง และสาธิตให้ราษฎรได้เห็นผลการพัฒนาการเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- กรมชลประทาน
- กรมวิชาการเกษตร
- กรมพัฒนาชุมชน
- กรมปศุสัตว์
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- สาธารณสุขจังหวัด
- กรมประมง
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- กรมพัฒนาที่ดิน
- จังหวัดสกลนคร
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ที่ตั้ง-ติดต่อ
โทรศัพท์ 0-4271-2975 โทรสาร 0-42712-975
ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ