ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝนหลวง"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) () |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | < | + | <div id="rain"> |
+ | <div id="angel2"> | ||
− | [[ภาพ:ฝนหลวง4.jpg|center]]</center> | + | |
+ | <center><h1>ฝนหลวง</h1> | ||
+ | |||
+ | |||
+ | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ในหลวงของเรา" ในฐานะที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวง ทรงใช้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในพระองค์ ค้นคว้า ศึกษา และประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ จนเกิดเป็นฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งสงเคราะห์แก่พสกนิกร | ||
+ | |||
+ | [[ภาพ:ฝนหลวง4.jpg|ในหลวงทรงเจิมเครื่องบินทำฝนหลวง|center]]</center> | ||
แถว 31: | แถว 38: | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ทรงห่วงใยนักบิน แนะแนวคิด “จรวดฝนเทียม” พระราชทานแก่ชาวบ้านพื้นที่สูงได้พึ่งตัวเอง | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ทรงห่วงใยนักบิน แนะแนวคิด “จรวดฝนเทียม” พระราชทานแก่ชาวบ้านพื้นที่สูงได้พึ่งตัวเอง | ||
</div> | </div> | ||
− | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ในอีกทางหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ 1. สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน และ 2. การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงในบริเวณหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา | + | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">ในอีกทางหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ |
+ | |||
+ | 1. สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน และ | ||
+ | |||
+ | 2. การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงในบริเวณหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา | ||
</div> | </div> | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">นายชอบวิทย์ ลับไพรี รองเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเคยสนองงานในพระองค์เมื่อปี พ.ศ.2530 ในโครงการสร้างจรวดฝนเทียม เล่าว่า พระราชประสงค์ของโครงการจรวดฝนเทียมนี้ก็เพราะทรงเล็งเห็นว่า จรวดฝนเทียมสามารถใช้ทดแทนการใช้นักบินนำเครื่องบินขึ้นไปโปรยสารฝนหลวง ซึ่งเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายได้ ซึ่งนอกจากพระเมตตานี้แล้ว หากสามารถค้นคว้าวิจัยจนสร้างจรวดฝนเทียมได้ไม่ยากจนเกินไปนัก ก็น่าจะถ่ายทอดวิธีการผลิตให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่สูงตามเทือกเขาได้ใช้ทำฝนเทียมด้วยตัวเอง เป็นการพึ่งพาตัวเองต่อไป | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">นายชอบวิทย์ ลับไพรี รองเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเคยสนองงานในพระองค์เมื่อปี พ.ศ.2530 ในโครงการสร้างจรวดฝนเทียม เล่าว่า พระราชประสงค์ของโครงการจรวดฝนเทียมนี้ก็เพราะทรงเล็งเห็นว่า จรวดฝนเทียมสามารถใช้ทดแทนการใช้นักบินนำเครื่องบินขึ้นไปโปรยสารฝนหลวง ซึ่งเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายได้ ซึ่งนอกจากพระเมตตานี้แล้ว หากสามารถค้นคว้าวิจัยจนสร้างจรวดฝนเทียมได้ไม่ยากจนเกินไปนัก ก็น่าจะถ่ายทอดวิธีการผลิตให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่สูงตามเทือกเขาได้ใช้ทำฝนเทียมด้วยตัวเอง เป็นการพึ่งพาตัวเองต่อไป | ||
แถว 45: | แถว 56: | ||
4.เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า | 4.เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า | ||
</div> | </div> | ||
+ | |||
=== === | === === | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px; color:darkblue">สร้างความมั่นใจ “น้ำฝนหลวง” บริโภคได้ พระราชทาน “สารฝนหลวง – ตำราฝนหลวง”</div> | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px; color:darkblue">สร้างความมั่นใจ “น้ำฝนหลวง” บริโภคได้ พระราชทาน “สารฝนหลวง – ตำราฝนหลวง”</div> | ||
แถว 67: | แถว 79: | ||
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] | ||
+ | [[หมวดหมู่:ฝนหลวง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:02, 14 กรกฎาคม 2551
ฝนหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ในหลวงของเรา" ในฐานะที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวง ทรงใช้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในพระองค์ ค้นคว้า ศึกษา และประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ จนเกิดเป็นฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งสงเคราะห์แก่พสกนิกร
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล กอปรกับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” หรือ “ฝนเทียม” จึงเกิดขึ้นเมื่อกึ่งศตวรรษที่แล้ว และเป็นคำติดหูคนไทยเรื่อยมา ถือเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการทำฝนเทียมโดยพระเจ้าแผ่นดินทรงลงพระหัตถ์ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของ “พวกเรา” เหล่าพสกนิกรชาวไทยจากปัญหาความแห้งแล้งของผืนดินและแหล่งน้ำ ที่สร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละปี
นานเท่าใดแล้วที่ฝนหลวงชโลมความชุ่มชื่นสู่ผืนดิน...
ด้วยเหตุนี้ “ฝนหลวง” หรือ “ฝนเทียม” จึงเกิดขึ้น โดยการประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงจวบจนปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 1 “ก่อกวน” เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนเพื่อใช้เป็นแกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมออกไซด์ หรือส่วนผสมระหว่างเกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสมระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียไนเตรต ซึ่งสารผสมดังกล่าวจะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ
ขั้นตอนที่ 2 “เลี้ยงให้อ้วน” ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย แอมโมเนียไนเตรต น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อให้เกิดแกนเม็ดไอน้ำให้กลุ่มเมฆมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 “โจมตี” สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือ ซิลเวอร์ไอโอได และน้ำแข็งแห้งเพื่อให้เกิดภาวะไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำที่มีขนาดใหญ่มากและตกลงเป็นฝนในที่สุด
ข้อควรระวังข้อหนึ่งในการทำฝนเทียม คือ ในทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์การตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ และต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ ทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนการกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัดที่จะโปรยสารเคมีด้วย
1. สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน และ
2. การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงในบริเวณหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา
1.เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนาน เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดลง
2.เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเป็นการเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขิน
3.เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม โดยฝนหลวงจะเข้าเจือจางน้ำเสียอันเกิดจากการระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยสู่แม่น้ำเจ้าพระยาลงได้
4.เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
แหล่งข้อมูล โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2549