ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศ-เศรษฐกิจพอเพียง-ทางเลือกในการพัฒนา"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: <center>'''“เศรษฐกิจพอเพียง: ทางเลือกในการพัฒนา”'''</center> <div align="right">โด...) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 8: | แถว 8: | ||
<div class="kindent">เป้าหมายของการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา คือการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเป็นตัวชี้วัดหลัก ดังนั้นเพื่อให้อัตราการ | <div class="kindent">เป้าหมายของการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา คือการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเป็นตัวชี้วัดหลัก ดังนั้นเพื่อให้อัตราการ | ||
− | เติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางการผลิต โดยมีคนและทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ | + | เติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางการผลิต โดยมีคนและทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5-7 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาประเทศฯ ฉบับที่ 6 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.4 และสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับร้อยละ 8 โดยเฉลี่ย และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ประเทศไทยก็สามารถหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน ตามที่ธนาคารโลกได้กำหนด โดยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มเป็น 77,000 บาทต่อปี และเป็นที่คาดหวังกันไว้ในช่วงเวลานั้นว่า ประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่ความเป็นนิกส์ หรือเสือตัวที่ 5 ในทวีปเอเชียได้ในที่สุด |
− | 5-7 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาประเทศฯ ฉบับที่ 6 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงขึ้นถึงร้อยละ | + | |
− | 10.4 และสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับร้อยละ 8 โดยเฉลี่ย และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ประเทศไทยก็สามารถหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน ตามที่ธนาคารโลกได้กำหนด | + | |
− | โดยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มเป็น 77,000 บาทต่อปี และเป็นที่คาดหวังกันไว้ในช่วงเวลานั้นว่า ประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่ความเป็นนิกส์ หรือเสือตัวที่ 5 ในทวีปเอเชียได้ในที่สุด | + | ในการเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไทยได้เปิดประเทศไปสู่ระบบการค้าเสรีและกลไกของตลาดโลกมีการเคลื่อนย้ายทุนเข้า-ออกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งในรูปแบบของการลงทุนระยะยาว เช่น การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ และการลงทุนระยะสั้น เช่น การลงทุนในตลาดหุ้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และเปลี่ยนมือในระยะสั้นโดยปั่นราคาให้สูงขึ้นเพื่อทำกำไร ในขณะเดียวกันการบังคับใช้กฎระเบียบทางการเงิน การคลังของประเทศก็ผ่อนคลายลงไปมาก เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน โดยในช่วงเวลาปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 นี้เองที่เป็นช่วง |
− | ในการเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไทยได้เปิดประเทศไปสู่ระบบการค้าเสรีและกลไกของตลาดโลกมีการเคลื่อนย้ายทุนเข้า-ออกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล | + | เศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นเต็มรูปแบบ |
− | + | ||
− | + | ในช่วงปี 2539 ประเทศไทยประสบปัญหาการส่งออกชะลอตัว ส่งผลให้มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในเวลาต่อมา จนเกิดสภาพฟองสบู่แตก และกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ในระหว่างนั้นค่าเงินบาทตกลงถึงร้อยละ 40 ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึงประมาณ 3.8 ล้านล้านบาท จากการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัว จากภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลนี้เอง ทำให้ไทยต้องทำข้อตกลง กับกองทุนฟื้นฟูระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟเข้ามาปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งหมายความรวมถึงการถูกจำกัดอิสรภาพในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศหลายประการ | |
− | + | ||
− | + | กล่าวได้ว่า การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลากว่าเกือบครึ่งศตวรรษนี้ ได้สร้างความเจริญทางวัตถุอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลและขาดการพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ทำให้การพัฒนาในส่วนอื่นไม่สามารถก้าวทันความเจริญทางวัตถุ เช่น การศึกษา การพัฒนาระบบประชาธิปไตย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น อันเป็นที่มาของบทสรุปของการพัฒนาที่ว่า '''“เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน”'''</div> | |
− | + | ||
− | '''“เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน”'''</div> | ||
=='''1. เศรษฐกิจพอเพียง : แนวพระราชดำริ และหลักการที่สำคัญ'''== | =='''1. เศรษฐกิจพอเพียง : แนวพระราชดำริ และหลักการที่สำคัญ'''== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:54, 13 พฤษภาคม 2551
สิงหาคม 2547
ความนำ : ทิศทางการพัฒนาประเทศก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
เติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางการผลิต โดยมีคนและทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5-7 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาประเทศฯ ฉบับที่ 6 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.4 และสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับร้อยละ 8 โดยเฉลี่ย และในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ประเทศไทยก็สามารถหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน ตามที่ธนาคารโลกได้กำหนด โดยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มเป็น 77,000 บาทต่อปี และเป็นที่คาดหวังกันไว้ในช่วงเวลานั้นว่า ประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่ความเป็นนิกส์ หรือเสือตัวที่ 5 ในทวีปเอเชียได้ในที่สุด
ในการเร่งรัดให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไทยได้เปิดประเทศไปสู่ระบบการค้าเสรีและกลไกของตลาดโลกมีการเคลื่อนย้ายทุนเข้า-ออกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งในรูปแบบของการลงทุนระยะยาว เช่น การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ และการลงทุนระยะสั้น เช่น การลงทุนในตลาดหุ้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และเปลี่ยนมือในระยะสั้นโดยปั่นราคาให้สูงขึ้นเพื่อทำกำไร ในขณะเดียวกันการบังคับใช้กฎระเบียบทางการเงิน การคลังของประเทศก็ผ่อนคลายลงไปมาก เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน โดยในช่วงเวลาปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 นี้เองที่เป็นช่วง
เศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นเต็มรูปแบบ
ในช่วงปี 2539 ประเทศไทยประสบปัญหาการส่งออกชะลอตัว ส่งผลให้มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในเวลาต่อมา จนเกิดสภาพฟองสบู่แตก และกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 ในระหว่างนั้นค่าเงินบาทตกลงถึงร้อยละ 40 ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณถึงประมาณ 3.8 ล้านล้านบาท จากการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัว จากภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลนี้เอง ทำให้ไทยต้องทำข้อตกลง กับกองทุนฟื้นฟูระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟเข้ามาปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งหมายความรวมถึงการถูกจำกัดอิสรภาพในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศหลายประการ
กล่าวได้ว่า การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลากว่าเกือบครึ่งศตวรรษนี้ ได้สร้างความเจริญทางวัตถุอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระบวนการพัฒนาที่ขาดสมดุลและขาดการพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม ทำให้การพัฒนาในส่วนอื่นไม่สามารถก้าวทันความเจริญทางวัตถุ เช่น การศึกษา การพัฒนาระบบประชาธิปไตย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น อันเป็นที่มาของบทสรุปของการพัฒนาที่ว่า “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน”
1. เศรษฐกิจพอเพียง : แนวพระราชดำริ และหลักการที่สำคัญ
เมื่อประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญในช่วงปี 2539-2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกำลังใจและพระราชดำริเกี่ยวกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในวโรกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษาในปี 2540 และ 2541 โดยทรงขยายความคำว่า “พอมีพอกิน” ว่ามีความหมายที่กว้างกว่า “การพึ่งตนเอง” (self-sufficiency) ดังนี้
บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริง อาจจะล้าสมัยคนอื่นเขา
ต้องมีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียงเลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้…”
(พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540)
ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่พระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้ง พระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ดังนี้
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน “ทางสายกลาง” โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำเอาวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
จากข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1) ทางสายกลาง 2) ความพอเพียง พอประมาณ และมีเหตุผล 3) การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
หากนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณาเพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพสาเหตุของปัญหาที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า กระบวนการพัฒนาดังกล่าวได้ละเลยหลักการสำคัญขั้นพื้นฐาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ “ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง” เท่านั้น แต่ยังหมายความรวมไปถึง “ความพอเพียง พอประมาณ และมีเหตุผล” ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ยึดหลัก “ทางสายกลาง” เพราะการลงทุนที่เกินความพอดี ในขณะที่คนในสังคมจำนวนมากยังไม่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างมั่นคงนั้น ได้ส่งผลให้ชุมชน สังคม และประเทศชาติขาด “ภูมิคุ้มกัน” ในการป้อง กันตนเอง ดังนั้นเมื่อมีวิกฤตจากภายนอกเข้ามากระทบ ก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในทุกระดับชั้น ดังพระราชดำรัสที่ว่า
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการพัฒนาตนเองให้อยู่ในระดับที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และพัฒนาความสามารถนี้ไปสู่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป ในการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับประชาชนให้มีความพออยู่พอกิน และ พึ่งพาตนเองได้ก่อน เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักในการพัฒนาและ บริหารประเทศ โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยึดหลัก สายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพและยั่งยืน