|
|
แถว 1: |
แถว 1: |
| <center>'''ทศพิธราชธรรม'''</center> | | <center>'''ทศพิธราชธรรม'''</center> |
| | | |
− | เป็นธรรมสำหรับพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ปกครองประชาชน ตลอดจนเป็นธรรมสำหรับคนที่อยู่ด้วยกันเป็นหมู่เหล่าจนถึงประเทศชาติ พึงประพฤติต่อกันให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขประกอบด้วย | + | เป็นธรรมสำหรับพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ปกครองประชาชน ตลอดจนเป็นธรรมสำหรับคนที่อยู่ด้วยกันเป็นหมู่เหล่าจนถึงประเทศชาติ พึงประพฤติต่อกันให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขประกอบด้วย (ทศพิธราชธรรม) |
| | | |
| <gallery> | | <gallery> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:47, 19 มีนาคม 2551
ทศพิธราชธรรม
เป็นธรรมสำหรับพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ปกครองประชาชน ตลอดจนเป็นธรรมสำหรับคนที่อยู่ด้วยกันเป็นหมู่เหล่าจนถึงประเทศชาติ พึงประพฤติต่อกันให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขประกอบด้วย (ทศพิธราชธรรม)
ทาน
การให้ที่เป็นประโยชน์ ทั้งวัตถุ
ทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของ และ
ธรรมทาน คือการให้ธรรมโดย
การให้ปัญญา ความรู้ คำแนะ
นำที่เป็นประโยชน์ และยัง
หมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่น
ด้วย
ศีล
ความประพฤติดีงาม ทั้งกาย
วาจา และใจ เว้นจากการ
ประพฤติชั่ว ทุจริต ประพฤติ
ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จารีตประเพณีของบ้านเมือง
ปริจจาค
พึงสละเพื่อประโยชน์ที่ใหญ่กว่า
เป็นการเสียสละประโยชน์หรือ
ความสุขส่วนตน และประพฤติ
ปฏิบัติเพื่อมุ่งประโยชน์สุขของ
คนหมู่มาก เป็นคุณสมบัติสำคัญ
ของผู้นำในการดำเนินชีวิตเพื่อ
ผู้อื่นอย่างแท้จริง
อาชชวะ
ความซื่อตรง ไม่ประพฤติหลอก
ลวงหรือหลีกเลี่ยงแอบแฝง คน
ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่ ถ้าปฏิบัติ
ไม่ตรงในงานตามหน้าที่ ไม่ซื่อ
ตรงต่อกันและกัน จะเกิดความ
แตกร้าวอยู่เป็นสังคมที่สงบสุข
ไม่ได้
มัททวะ
ความอ่อนโยนทั้งกายและใจ มี
สัมมาคารวะอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
อ่อนโยนทั้งต่อผู้เสมอกว่าและ
ต่ำกว่า วางตนสม่ำเสมอ ไม่
กระด้างดูหมิ่นผู้อื่น พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น
แบบอย่างที่คนไทยควรเอาเป็น
แบบอย่างในเรื่องนี้ โดยทรงมี
พระราชอัธยาศัยสุภาพ อ่อน
โยน ทั้งทางพระวรกาย พระ
วาจา และพระราชหฤทัยอย่าง
เพียบพร้อมสมบูรณ์ยากที่จะหา
ผู้ใดเสมอเหมือน
ตปะ
การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง
การตั้งใจทำหน้าที่ด้วยความ
เพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวมีพระวิริยะ ความเพียร
อันแรงกล้า ในอันที่จะสร้าง
ความสงบสุขร่มเย็นแก่
พสกนิกรของพระองค์ หากเรา
คนไทยจักปฏิบัติตนได้ตาม
เบื้องพระยุคลบาทสักเพียงนิด
ก็จะช่วยเสริมสร้างให้ประเทศ
ชาติมั่นคง
อักโกธะ
ความไม่โกรธ ไม่มุ่งร้ายคนอื่น
แม้จะต้องลงโทษผู้ทำผิด ก็ทำ
ตามเหตุผลเป็นไปด้วยความ
เที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ไม่
ทำร้ายด้วยอำนาจความโกรธ
อวิหิงสา
ความไม่เบียดเบียนตนเองและ
ผู้อื่น มีพรหมวิหาร ๔ คือ
เมตตา กรุณา มุทิตาและ
อุเบกขา เป็นเครื่องแสดงออก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมี
พระราชอัธยาศัยกอปรด้วยพระ
เมตากรุณา ไม่ทรงเบียดเบียน
ผู้ใด
ขันติ
ความอดทน อดกลั้นต่ออารมณ์
ทั้งปวง ไม่แสดงกิริยาวาจาตาม
อำนาจโลภะ โทสะ โมหะ และอด
ทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ
อวิโรธนะ
ความไม่ประพฤติผิดธรรม การ
วางตนเป็นหลักแน่นในธรรม
ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว
เพราะถ้อยคำ ดี ร้าย สักการะ
หรืออิฏฐารมณ์ใดๆ ดังที่พระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
ปฏิบัติตามขัตติยราชประเพณี
ราชจรรยานุวัตร และราชธรรม
ทุกประการ
หนังสือตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ด้วยทศพิธราชธรรม และหลักการทำงาน
จัดพิพม์เผยแพร่เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาศมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
โดย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)