โครงการ Ayeyarwady Integrated River Basin Management - AIRBM
22/05/2020
1. ความเป็นมา
ปี 2557 ธนาคารโลกได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่รัฐบาลของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อดำเนินโครงการ Ayeyarwady Integrated River Basin Management (AIRBM) ซึ่งเป็นโครงการที่มีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วนหลักได้แก่ โครงสร้างองค์กร การบูรณาการฐานข้อมูล และการปรับปรุงทางน้ำเพื่อการเดินเรือ เพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการของลุ่มน้ำอิรวดี
ต่อมาปี 2559 ธนาคารโลกได้เชิญ สสน. ร่วมเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนาคลังข้อมูลน้ำ (Hydro-Informatics Center: HIC) ให้แก่โครงการ AIRBM โดย สสน. ได้ร่วมจัด Workshop ในหัวข้อ “From data and information to planning” จำนวน 2 ครั้งให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยความรู้และเทคโนโลยี จึงเห็นควรมีความร่วมมือร่วมกันในอนาคตสืบต่อไป
ปี 2561-2566 สสน. ร่วมมือกับ DHI A/S ดำเนินโครงการ Ayeyarwady Integrated River Basin Management Project : AIRBM ซึ่ง สสน. เป็น Sub-consultant ให้แก่ DHI หัวข้อ C1.17 Development of the Ayeyarwady Decision Support System and Basin Master Plan ใน Component 1: Water Resource Management Institutions, Decision Support Systems and Capacity Building มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการทรัพยากรน้ำของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการของลุ่มแม่น้ำอิรวดี และสนับสนุนการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
2. การดำเนินงาน
ภายใต้โครงการ AIRBM ซึ่ง สสน. เป็น Sub-consultant ให้แก่ DHI ได้ร่วมจัดกิจกรรม ณ กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ดังนี้
2.1 วันที่ 3 – 14 กันยายน 2561 ร่วมจัดกิจกรรมการฝึกอบรมการใช้แบบจำลอง Rainfall-Runoff and River Basin Modelling งานดังกล่าว มีผู้เชี่ยวชาญจาก สสน. และจาก DHI ประเทศเดนมาร์ก ร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม มีผู้เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากร 20 คน
2.2 การจัดการฝึกอบรมแบบจำลอง 1-dimensional Hydrodynamic Modelling เป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องกันจำนวน 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 – 16 พฤศจิกายน 2561 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 – 18 มกราคม 2562 โดยกิจกรรมดังกล่าว DHI ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองจาก สสน. เข้าร่วมจัดอบรมและเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม มีผู้เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากร 18 คน
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวได้จัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่
1) Hydroinformatics center, Ayeyarwady Integrated River Basin Management (HIC)
2) Department of Disaster Management
3) Department of Meteorology and Hydrology (DMH)
4) Directorate of Water Resources and Improvement of River Systems (DWIR)
5) Mandalay Technological University
6) Myanmar Maritime University River & Coastal Department
7) Yangon Technological University
8) Department of Hydro Power Implementation (DHPI)
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เกิดการขยายความสำเร็จการบริหารจัดการน้ำของ สสน. ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพิ่มประสบการณ์การทำงานและศักยภาพด้านการฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองของ สสน. รวมทั้งได้เผยแพร่งานของ สสน. ด้านการพัฒนาแบบจำลองและระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อบริหารจัดการน้ำให้กับหน่วยงานในสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์
2.3 วันที่ 4 – 8 กุมภาพันธ์ 2562 การประชุมหารือเพื่อวางแผนและพัฒนาแบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN ลุ่มน้ำอิรวดี โดย DHI เชิญผู้เชี่ยวชาญจาก สสน. เข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้
1) Thapanzeik irrigation area
– Add hydropower and revise demands / releases
– Derive consequences of different allocation strategies, some including groundwater
– Prepare clear illustrations of results for report
2) Myitnge river:
– Distribute routing upstream Yeywa dam
– Sensitivity analysis on NAM parameters in un-gauged catchments
– Report results
3) Compare Q-h relation from HD model to rating curve at Sagaing
4) Full Ayeyarwady mike-hydro-basin model
ซึ่งผลลัพธ์จากการเข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสบการณ์การทำงานและศักยภาพด้านการทำงานด้านต่างประเทศให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองของ สสน.
2.4 วันที่ 20 – 24 พฤษภาคม 2562 การเข้าร่วมพัฒนาแบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER ในพื้นที่ Ayeyarwady delta และแบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN พื้นที่ลุ่มน้ำอิรวดี ซึ่ง สสน. ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนและพัฒนาแบบจำลอง ทั้ง 2 แบบ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจาก DHI โดยมีการแบ่งหัวข้อดังต่อไปนี้
1) แบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER พื้นที่ Ayeyarwady delta
- รวมรวบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาแบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER พื้นที่ Ayeyarwady delta
- การเตรียมข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER
- สร้างแบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER
- วิเคราะห์ผลการจำลอง MIKE HYDRO RIVER
- สร้างแบบจำลอง Salinity Intrusion Model
- วิเคราะห์ผลการจำลอง Salinity Intrusion Model
- จำลองสถานการณ์ (Scenarios) ในแบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER ดังต่อไปนี้
– จำลองสถานการณ์น้ำ กรณีมีอ่างเก็บน้ำด้านเหนือน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดู
แล้ง
– จำลองสถานการณ์น้ำ กรณีระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 0.30 ม.
– จำลองสถานการณ์น้ำ กรณีมีประตูระบายน้ำป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำในแม่น้ำอิรวดี
2) แบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN พื้นที่ลุ่มน้ำอิรวดี
- ตรวจสอบข้อมูลนำเข้า (Time series data) สำหรับการ Set up MIKE HYDRO BASIN ของอ่างเก็บน้ำต่างๆให้ถูกต้อง เช่น Level area volume table , Characteristic levels, และ Flood control level เป็นต้น
- วิเคราะห์หา minimum release requirement ของอ่างเก็บน้ำเพื่อวิเคราะห์และสร้าง Rule Curve ของอ่างเก็่บน้ำ ทั้งอ่างเก็บน้ำที่มี Rule Curve จากหน่วยงานราชการและอ่างเก็บน้ำที่ยังไม่มี Rule Curve
ซึ่งผลลัพธ์จากการเข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสบการณ์การทำงานและศักยภาพด้านการทำงานด้านต่างประเทศให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองของ สสนก. รวมทั้ง ทำให้เข้าใจถึงสภาพทั่วไปของลุ่มน้ำอิรวดี ลักษณะกายภาพ ลักษณะอุตุ-อุทกวิทยา อีกด้วย
2.5 วันที่ 5 – 9 สิงหาคม 2562 การอบรมการใช้งานและพัฒนาแบบจำลอง MIKE FLOOD พื้นที่ Ayeyarwady delta Delta ลุ่มแม่น้ำอิรวดี โดยกิจกรรมดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญจาก สสน. และ DHI ได้ร่วมการวางแผนและอบรมแบบจำลอง MIKE FLOOD โดยแบ่งหัวข้อดังนี้
1) การพัฒนาแบบจำลอง MIKE FLOOD
แบบจำลอง MIKE FLOOD ได้พัฒนาแล้วเสร็จโดยผู้เชี่ยวชาญจาก DHI จากนั้น สสน. เข้ามารับช่วงต่อ และได้ทำการเปรียบเทียบผลการจำลองกับแผนที่น้ำท่วมจากดาวเทียม ผลของการจำลองไม่สอดคล้องกับข้อมูลตรวจวัดมากนัก เพราะเนื่องจากแบบจำลองเดิมไม่ได้มีการเพิ่มคันกั้นน้ำ (Dike) ไว้ จึงต้องการเพิ่มคันกั้นน้ำในแบบจำลองเดิม และทำการจำลองใหม่ ผลของการจำลองได้ผลที่เสมือนจริงมากขึ้น
2) การจำลองเหตุการณ์น้ำท่วม
เป็นการจำลองเหตุการณ์น้ำท่วมรอบปีการเกิดซ้ำที่ 50, 100 , 150, 200, 300, 500 ปีและจำลองเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคตที่มีโครงการ Hydropower ที่อยู่ด้านเหนือน้ำพื้นที่ Ayeyarwady deltaตามรอบปีการเกิดซ้ำต่าง ๆ
3) ปรับปรุงแบบจำลอง MIKE FLOOD
เนื่องจากแบบจำลอง MIKE FLOOD รุ่นแรกไม่ได้มีการเชื่อมโยงระหว่างแบบจำลอง MIKE HYDRO RIVER และ MIKE21 ได้อย่างถูกต้องจึงต้องทำการปรับปรุงแบบจำลอง MIKE FLOOD ใหม่เพื่อจำลองเหตุการณ์น้ำท่วมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ผลของปรับปรุงแบบจำลองทำให้ผลการจำลองแผนที่น้ำท่วมใกล้เคียงกับข้อมูลตรวจวัดมากยิ่งขึ้น
4) อบรมการใช้งานแบบจำลอง MIKE FLOOD โดยแบ่งหัวข้อการอบรมดังต่อไปนี้
- อบรมการใช้งานแบบจำลอง MIKE21
– Set up MIKE21
– Create Mesh Generator (.MDF)
– Set boundary and result
– Simulations - อบรมการใช้งานแบบจำลอง MIKE FLOOD
– Set up MIKE FLOOD
– Link MIKE HYDRO RIVER and MIKE21
– Create dike in MIKE FLOOD
– Simulations
ซึ่งผลลัพธ์จากการเข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสบการณ์การทำงานและศักยภาพด้านการทำงานด้านต่างประเทศให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองของ สสน. ทำให้เข้าใจถึงสภาพทั่วไปของลุ่มน้ำอิรวดี ลักษณะกายภาพ ลักษณะอุตุ-อุทกวิทยา ได้ทบทวนทฤษฎีและการใช้งานของแบบจำลอง รวมถึงเพิ่มประสบการณ์การทำงานจากการเรียนรู้ และคิดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานในกรณีที่มีข้อมูลที่จำกัดของพื้นที่ศึกษา