โครงการเครือข่าย Asia – Pacific Advanced Network (APAN)

25/02/2021

Asia – Pacific Advanced Network หรือ APAN เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานวิจัยและสถาบันการศึกษาในประเทศสมาชิกทั่วโลก เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยี ทั้งด้านการให้บริการและการประยุกต์ใช้ ซึ่งเทคโนโลยีโทรมาตรตรวจวัดขนาดเล็กรุ่นที่ 1 ของ สสน. ก็ได้รับการถ่ายทอดมาจาก National Agriculture and Food Research Organization (NARO) ในการประชุม APAN เมื่อปี 2546 และภายหลัง สสน. ได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นสถานีตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติซึ่งถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักในปัจจุบัน

การประชุมเครือข่าย APAN จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งทางสสน. ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ 2 คณะทำงาน คือ คณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) และคณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) และได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่ 45 เป็นครั้งแรก เพื่อรายงานความคืบหน้าต่างๆ ในการทำงานฯ

การประชุม APAN ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 27 – 28 มีนาคม 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์

คณะผู้บริหาร สสน. ได้ถ่ายภาพร่วมกับคณะทำงานจากประเทศญี่ปุ่น

สสน. ได้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมคณะทำงานภายใต้ APAN จำนวน 2 คณะ ได้แก่

  1. คณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG)

ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สสน. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงาน (Chair) โดยมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งครอบคลุมตั้งแต่การประชุม APAN ครั้งที่ 46 – 49 คณะทำงานดังกล่าวมีแนวคิดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนผู้เข้าร่วมงานจากประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการริเริ่มโครงการพัฒนาทางด้านการเกษตรเป็นหลัก

  1. คณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) 

ดร.วีรชัย  ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สสน. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานคณะทำงาน (Co-chair) คณะทำงานจะเน้นศึกษาด้านไฟป่าและหมอกควัน สึนามิ  storm-surge และน้ำท่วม

การประชุม APAN ครั้งที่ 46 ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 4 – 10 สิงหาคม 2561 

สสน. เข้าร่วมงานประชุม APAN ครั้งที่ 46 โดยแบ่งเป็น 4 เวทีหลักๆ ได้แก่

1. Agriculture Working Group (AgWG) – สสน. ร่วมจัดประชุมโดยมีดร.รอยบุญ  รัศมีเทศ รองผู้อำนวยการ สสน. และ คุณผการัตน์  ดานุเสถียรพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการน้ำชุมชน เป็นผู้แทนนำเสนอในหัวข้อ ‘Agro Data: Plant Genetic Conservation Database System’ และ ‘Agro Informatics: New Theory Agriculture Forward to Better Livelihood’

2. Disaster Mitigation Working Group (DMWG) ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สสน. ในฐานะรองประธานคณะทำงาน DMWG เข้าร่วมการประชุมของคณะทำงานฯ

3. APAN Research Workshop 2018 ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สสน. ได้ทำการ review 2 papers โดย Ulrich Speidel and Lei Qian, Simulating Satellite Internet Performance on a Small Island ซึ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งจากการคัดเลือกของกรรมการ 

4. ดร.รอยบุญ  รัศมีเทศ รองผู้อำนวยการ สสน. ในฐานะผู้แทนประธานคณะทำงาน AgWG นำเสนอผลงานของคณะทำงาน AgWG ร่วมกับคุณคิอุระ ทาคุจิ รองประธานคณะทำงาน AgWG ในพิธีปิดการประชุม (Closing Plenary)

จากการประชุมครั้งนี้ AgWG ได้หารือเกี่ยวกับแผนดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างคณะทำงาน DMWG และ AgWG โดยให้ประเทศในเขตอาเซียนมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการมีชื่อว่า ‘Climate Change Resilience for Agricultural Related Disaster Risk Reduction’ โดยจะยื่นข้อเสนอกับทางโครงการ Asi@Connect เพื่อขอเงินทุนสนับสนุนต่อไป

การประชุม APAN ครั้งที่ 47 ณ เมืองแทจ็อน ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2562

สสน. เข้าร่วมการประชุม APAN ครั้งที่ 47 โดยแบ่งเป็นงานหลักๆ ได้ ดังนี้

  1. สสน. ได้เรียนเชิญ ดร.นพดล คีรีเพชร จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นผู้แทนของประเทศไทย เพื่อนำเสนอในหัวข้อ ‘Data and Workflow Management for Agriculture Map System’ ในการประชุม Big Data and AI in Agriculture ของ AgWG เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Agri-Map Online เป็นเครื่องมือแสดงผลข้อมูลเชิงภูมิสารสนเทศพร้อมระบบแนะนำผลการปรับเปลี่ยน กิจกรรมการผลิตด้วยพืชทดแทน ในรูปแบบเว็บแผนที่แบบออนไลน์และคาดว่าจะนำมาเชื่อมโยงกับการทำงานของ สสน. ได้
  2. ประสานงานการจัดประชุม  E-Life ร่วมกันระหว่าง AgWG, Medical และ e-Culture Working Group โดยเน้นแนวคิดการใช้ชีวิตให้มีความสุข (Enjoy Life)
  3. สสน. เข้าร่วมการและแสดงความคิดเห็นในการประชุม DMWG โดย DMWG พูดถึงแผนงานที่จะดำเนินการต่อในอนาคต
  4. สสน. จัดการประชุมโครงการ Climate Resilience Agriculture for Disaster Risk Reduction (CRADR) โดยเป็นการหารือร่วมระหว่างคณะทำงาน DMWG และ AgWG เพื่อรายงานการดำเนินงานในปัจจุบัน และได้สรุปร่วมกันว่าทั้ง 2 คณะทำงานจะร่วมกันดำเนินโครงการดังกล่าว ด้วยการขยายการใช้งานดาวเทียม Himawari จาก National Institute of Information and Communications Technology (NICT) ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มเก็บข้อมูลและทำงานวิจัยจากพื้นที่ตัวอย่างในประเทศไทย แล้วขยายไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียนผ่านเครือข่ายของ APAN เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
  5. สสน. ดำเนินการการประชุมและนำเสนอโดยรับหน้าที่เป็น Chair ใน session ของการประชุม Big Data and AI in Agriculture, Climate Resilient Agriculture for Disaster Risk และ e-Life Sessions

การประชุม APAN ครั้งที่ 48 ณ เมืองปูตราจายา ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 22-26 กรกฏาคม 2562

สสน. เข้าร่วมการประชุม APAN ครั้งที่ 48 โดยแบ่งเป็นงานหลักๆ ได้ ดังนี้

  1. สสน. ได้นำเสนอโปสเตอร์ เพื่อโปรโมท ASEAN Hydroinformatics Data Centre (AHC) บนบอร์ดรวมภายในงานประชุม

2. สสน. เข้าร่วมการและแสดงความคิดเห็นในการประชุม DMWG โดย DMWG ได้นำเสนอ รวมทั้งรายงานความคืบหน้าการทำงานภายใต้โครงการ Asi@connect และแผนงานในอนาคต

3. สสน. จัดการประชุมโครงการ Climate Resilience Agriculture for Disaster Risk Reduction (CRADR) โดยเป็นการหารือร่วมระหว่างคณะทำงาน DMWG และ AgWG เพื่อรายงานการดำเนินงานในปัจจุบัน รวมไปถึงการหารือการทำงานร่วมกันในโครงการ Asi@Connect และแผนการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต

4. สสน. เข้าร่วมประชุมและนำเสนอโดยรับหน้าที่เป็น Chair ใน session ของการประชุม Big Data and AI in Agriculture, Climate Resilient Agriculture for Disaster Risk Reduction

การประชุม APAN ครั้งที่ 49 ณ เมือง กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ระหว่างวันที่ 1 – 6 มีนาคม 2563 

สสน. ไม่ได้เข้าร่วมเดินทางไป ณ ประเทศเนปาล เนื่องจากสถาณการณ์ COVID-19 จึงเข้าร่วมการประชุมผ่าน VDO Conference โดยมีหัวข้อหลักในการประชุม ได้แก่

  1. แผนการดำเนินงานโครงการ Climate-Resilient Agriculture for Disaster Risk Reduction หรือ CRADR ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินทุนภายใต้โครงการ Asi@Conect โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหา climate change ที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรในระดับ small-scale case study โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาปรับใช้ในการแก้ปัญหา พร้อมกับแบ่งปันและขยายผลแก่สมาชิก AHC (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่)
  2. การดำเนินงานในปัจจุบันของคณะทำงาน Agriculture Working Group ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้มีการเลือกตั้งประธานคณะทำงานใหม่ และดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สสน. ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะทำงานอีกสมัย
  3. การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับ Big Data และเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมการเกษตร (Big Data and AI in Agriculture)

การประชุม APAN ครั้งที่ 50 ณ เมืองฮ่องกง ระหว่างวันที่ 3-7 สิงหาคม 2563 

หน้าเว็บไซต์หลักของ APAN ครั้งที่ 50

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 50 ต้องจัดผ่าน Video Conference โดยฮ่องกงเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 3-7 สิงหาคม 2563 ซึ่งทางสสน.ได้เข้าร่วมประชุมภายใต้หัวข้อ ดังนี้

1. Rural Hybridization นำโดย นายทาคุจิ คิอุระ จาก National Agriculture and Food Research Organization (NARO) เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาการทำเกษตรแบบ Smart Agriculture ในพื้นที่ชนบทของประเทศญี่ปุ่น เช่น การเก็บข้อมูลการเติบโตของพืชโดยใช้กล้องความละเอียดสูงและใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Solar Cubicle การควบคุมการปิด-เปิดประตูกั้นน้ำผ่านทาง Application ใน iPad และความรู้เกี่ยวกับ World Wide Web Consortium (W3C)

2. ความคืบหน้าโครงการ Climate Resilient Agriculture for Disaster Risk Reduction (CRADR) นำโดยดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สสน. ได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการเจรจาทำสัญญากับทาง TEIN*CC และได้แจ้งการปรับแผนของแต่ละกิจกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ COVID-19 ดังนี้

  • Workshop ครั้งที่ 1: Kick-off Meeting ระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 25563 ณ จังหวัดแพร่ ประเทศไทย
  • Workshop ครั้งที่ 2: Training (Agriculture) ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2564 ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • Workshop ครั้งที่ 3: Training (Disaster) and Summary ระหว่างวันที่ 5-9 เมษายน 2564 ณ กรุงไทเป ไต้หวัน

นอกจากนี้ สสน. ให้นำเสนอพื้นที่ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ ซึ่งจะเป็นสถานที่แรกในการดำเนินโครงการฯ โดยในที่ประชุมได้มีการสรุปรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกด้านเทคนิคที่จำเป็นของพื้นที่เพื่อเตรียมสำหรับการดำเนินงานในขั้นต่อไป และคณะทำงานได้นัดหมายประชุมอีกครั้งช่วงต้นเดือนตุลาคม 2563 ระหว่างนี้ สสน. จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประสานงานกับคณะทำงานอีกครั้ง

3. Disaster Mitigation Working Group นำโดย ดร. Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานด้านภัยพิบัติ เทคโนโลยี และตัวอย่างภัยพิบัติของแต่ละประเทศที่ใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอกลุ่มอาสาสมัครของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหลังการเกิดภัยพิบัติ การบริหารจัดการเพื่อประสานงานขอความช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น ดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษาของ สสน. เป็นตัวแทนเพื่อนำเสนอข้อมูลปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ของไฟป่าในประเทศแถบอาเซียน เช่น ไทย ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา โดยมีสถิติตั้งแต่ช่วงปี 2003-2020 แสดงให้เห็นว่าในช่วงปลายฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน (มกราคม-เมษายน) เป็นช่วงที่เกิดไฟป่าบ่อยที่สุด โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเผาป่าของมนุษย์เอง

การประชุม APAN ครั้งที่ 51 ณ ประเทศปากีสถาน ระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2564

หน้าเว็บไซต์หลักของ APAN ครั้งที่ 51
ภาพถ่ายของผู้เข้าร่วมฟัง APAN ครั้งที่ 51

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 51 ต้องจัดผ่าน Video Conference โดยประเทศปากีสถานเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งทางสสน. เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) และคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) ได้เข้าร่วมประชุมภายใต้หัวข้อ ดังนี้

  1. Disaster Mitigation Working Group นำโดย ดร. Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ในการประชุม APAN ครั้งนี้ มีการนำเสนอ 3 หัวข้อ ได้แก
    ่ – Fire/Smoke/Haze/Maze monitoring in Upper ASEAN โดยดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) นำเสนอเกี่ยวกับสถิติการเกิดไฟป่าตั้งแต่ปี 2003-2020 ของประเทศในแถบอาเซียน
    Fire Emissions in Upper ASEAN – โดย Ms. Pragati Kharel ประเทศมาเลเซีย นำเสนอเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 ในประเทศตอนเหนือของอาเซียน คือ เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม และลาว (http://wildlandfire.thairen.net.th/home.html)
    Flood in southern Thailand โดย ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอเกี่ยวกับการใช้แบบจำลองและโปรแกรม Virtual Cloud3D Software วิเคราะห์เหตุการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวสามารถแสดงเป็นภาพสามมิติที่ให้ภาพการเกิดน้ำท่วมได้อย่างชัดเจน
ดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) นำเสนอเกี่ยวกับสถิติการเกิดไฟป่าตั้งแต่ปี 2003-2020 ของประเทศในแถบอาเซียน
ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอเกี่ยวกับการใช้แบบจำลองและโปรแกรม Virtual Cloud3D Software วิเคราะห์เหตุการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

2. Open Data and Sharing Working Group นำโดย นายทาคุจิ คิอุระ จาก National Agriculture and Food Research Organization (NARO) และ ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อแบ่งปันในกลุ่มนักวิจัย โดยเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในครั้งนี้ เน้นหารือในหัวข้อดังนี้

  • อุปสรรคของแต่ละประเทศ เช่น นโยบาย / กฎเกณฑ์ข้อมูลในแต่ละองค์กร / สถาบันหรือระดับชาติ
  • แบ่งปันแพลตฟอร์มแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บ และการดูแลรักษาข้อมูลของแต่ละประเทศ
  • ความร่วมมือกับสมาคมวิชาการระดับชาติ / นานาชาติ

3. Rural Hybridization นำโดย นายทาคุจิ คิอุระ จาก National Agriculture and Food Research Organization (NARO) เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาการทำเกษตรแบบ Smart Agriculture ในพื้นที่ชนบทของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใน APAN ครั้งที่ 51 จะเน้นไปที่การเสนอความคิดเห็นขอบเขตของการเชิญ Speaker ในครั้งต่อไปว่ามีเรื่องได้บ้างที่น่าสนใจสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน อาทิ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนออนไลน์จากชนบท การบริหารงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ที่เน้นการบริหารจัดการน้ำในต่างจังหวัด หรือปัญหาช้างป่าที่บุกรุกพื้นที่เกษตรกรในชนบท ว่ามีเทคโนโลยีใดบ้างที่สามารถแจ้งเตือนหรือสังเกตการณ์เส้นทางของช้างและสัตว์ป่า เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรเตรียมตัวรับมือล่วงหน้า เป็นต้น

4. ความคืบหน้าโครงการ Climate Resilient Agriculture for Disaster Risk Reduction (CRADR) นำโดยกลุ่มงานความร่วมมือระหว่างประเทศ สสน. ได้กล่าวถึงความคืบหน้าและสถานะในการในการดำเนินโครงการ โดยล่าสุดทาง สสน. ได้ลงนามทำสัญญากับทาง TEIN*CC เรียบร้อยแล้ว โดยมีระยะเวลาดำเนินโครการทั้งสิ้น 6 เดือน (ธันวาคม 2563 – พฤษภาคม 2564) โดยมีแผนกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

Workshop ครั้งที่ 1 นำโดย สสน. ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2564จุดมุ่งหมายคือการให้ประเทศในแถบอาเซียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีของ สสน. ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ จังหวัดแพร่

Workshop ครั้งที่ 2 นำโดย NARO ประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม 2564 จุดมุ่งหมายเพื่อให้เรียนรู้เทคโนโลยี Smart Farm ที่ช่วยในการทำเกษตรที่ทนทานต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

Workshop ครั้งที่ 3 นำโดยไต้หวัน เดือนพฤษภาคม 2564 จุดมุ่งหมายเพื่อเรียรู้เทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer)

ในส่วนของความคืบหน้าของการจัดการประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 52 จะเกิดขึ้นเดือนสิงหาคม 2564 ณ เมืองยกยาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และจะแจ้งความคืบหน้าหากมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป

ในระหว่างพิธีปิด เจ้าภาพได้กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดประชุม
กิจกรรมในพิธีปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ถ่ายภาพร่วมกัน

การประชุม APAN ครั้งที่ 52 ระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม 2564 ณ ประเทศอินโดนีเซีย

ภาพโลโก้สำหรับการประชุมครั้งที่ 52

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 52 ยังคงจัดผ่าน Video Conference โดยครั้งนี้ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม 2564 ซึ่งทางสสน. เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) และคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) ได้เข้าร่วมประชุมภายใต้หัวข้อ ดังนี้

  1. Disaster Mitigation Working Group นำโดย Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ในการประชุม APAN ครั้งนี้ ได้แบ่งการนำเสนอ 3 Session ได้แก่

a. Session I

  • Long-range pollutant transportation and air quality issues โดย Chuan-Yao Lin จากไต้หวัน เป็นการใช้โมเดลเพื่อตรวจสอบการเคลื่อนที่ของมลพิษในชั้นบนนยากาศ
  • Status of DMWG and Regional Collaborations – โดย Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการชี้แจงสถานะของคณะทำงาน แผนการดำเนินงาน ต่างๆ ของคณะทำงาน

b. Session II

  • Plan for Understanding of Natural Disasters (UND) phrase II โดย Prof. JN Liew จากไต้หวัน เป็นการนำเสนอแผนของโครงการ Understanding of Natural Disasters (UND) ในเฟส 2 UND เป็นโครงการที่นำเสนอการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพอากาศในพื้นที่จากหลากหลายประเทศ เพื่อแชร์ให้สมาชิกเรียนรู้ร่วมกัน
  • บทสรุปการดำเนินโครงการ Climate Resilient Agriculture for Disaster Risk Reduction (CRADR) เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของทั้งสองคณะทำงาน ได้แก่ AgWg และ DMWG โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564

2. Open Data and Sharing Working Group นำโดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อแบ่งปันในกลุ่มนักวิจัย โดยเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในครั้งนี้ ได้มีวิทยากรนำเสนอหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • Open and Sharing Data Australia’s Experiences โดยนาย Markus Buchhorn จากประเทศออสเตเลีย เป็นหนึ่งในผู้บริหาร APAN ได้มาแบ่งปันแพลตฟอร์มแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บ และการดูแลรักษาข้อมูลของประเทศออสเตเลีย
  • Open and Sharing Data of UNESCO โดยนาย Bhanu Neupane ประเทศฝรั่งเศส ได้มาแบ่งปันแพลตฟอร์มแนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บ และการดูแลรักษาข้อมูลของ UNESCO
  • the WAGRI Agricultural Data Collaboration Platform โดยนาย Kei Tanaka จากสถาบัน NARO ประทเศญี่ปุ่น
  • Innovative BHOOMI Geoportal Platform in Sustainable Management of Land Resources- Indian experiences โดยนาย G.P. Obi Reddy จากประเทศอินเดีย
  • European and Asia Pacific Open Science โดยนาย Eric Yen จากไต้หวัน
  • Global Open Data of Agriculture and Nutrients โดยนาย André Laperriere จากประเทศอังกฤษ
  • Open and Sharing Data of CAMS-ECMWF โดยนาย Mark Parrington จากประเทศอังกฤษ
  • Open and Sharing Data of JAXA โดยนาย Shinichi Sobue จากประเทศญี่ปุ่น
  • SEA-HAZEMON Open Data โดย Dr. Adisorn Lertsinsrubtavee จากสมาคมเครือข่ายไทยเพื่อการศึกษาวิจัย (ThaiREN)
  • Hydro-informatics In Thailand โดยดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสรเทศทรัพยากรน้ำ ได้นำเสนอ “คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ” (National Hydroinformatics Data Center : NHC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำของประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
  1. บทสรุปการดำเนินโครงการ Climate Resilient Agriculture for Disaster Risk Reduction (CRADR) โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (DMWG) และคณะทำงานด้านการเกษตร (AgWG) โครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรในพื้นที่ตัวอย่าง คือ จังหวัดแพร่ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ของคณะทำงานร่วมที่มาจากหลากหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดีย มาปรับใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวและพัฒนาให้เกิดเป็นการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) พร้อมกับแบ่งปันและขยายผลแก่สมาชิกอาเซียน CRADR ได้จัดกิจกกรมหลัก ได้แก่

Online Training: นำโดย สสน. จัดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ. 2021 เป็นการทบทวนข้อมูลสารสนเทศด้านน้ำให้แก่ศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดน้ำอื่นๆ เพื่อเตรียมตัวในการเรียนรู้เททคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศ

Workshop ครั้งที่ 1 นำโดย สสน. ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2564จุดมุ่งหมายคือการให้ประเทศในแถบอาเซียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีของ สสน. ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ จังหวัดแพร่

Workshop ครั้งที่ 2 นำโดย NARO ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2564 จุดมุ่งหมายเพื่อให้เรียนรู้เทคโนโลยี Smart Farm ที่ช่วยในการทำเกษตรที่ทนทานต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

Workshop ครั้งที่ 3 นำโดยไต้หวัน ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2564 จุดมุ่งหมายเพื่อเรียรู้เทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer)

จำนวนผู้เข้าร่วมงาน: 190 คน จาก 12 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

ผลลัพธ์ของโครงการ:
– Outcome 1: การจัดอบรมศูนย์น้ำจังหวัดแพร่ เพื่อเรียนรู้วิธีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ รวมมถึงการจัดการข้อมูลสารสนเทศ (District Real-time Information)
– Outcome 2: การวิเคราะห์สภาพอากาศเชิงลึก ด้วยพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยา ที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร แบ่งผลการวิเคราะห์เป็น 4 ด้าน ได้แก่ Rainfall analysis, Extreme Climate, Agriculture Effect, The Water Balance Analysis of Huay Pom Reservoir
– Outcome 3: การประเมินความพร้อมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรของจังหวัดแพร่
ระดับจังหวัด = ศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ = กำลังพัฒนาไปสู่ phrase 2 คือ สามารถพัฒนาข้อมูลอ่างเก็บน้ำและระบบการจัดเก็บเพื่อวิเคราะห์สมดุลน้ำได้ เพื่อนำข้อมูลไปประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง/ สามารถระบุความต้องการของชุมชนและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ำในท้องถิ่นได้
ระดับชุมชน = บ้านผักยิ้ม = วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผักในแปลง ได้แก่ อุณหภูมิที่สูงเกิน 30 องศาทำให้ผักเกิดโรคเน่า และการเติบโตช้า มูลค่าผักลดลง/ วาตภัยในหน้ามรสุมทำให้โรงเรือนเสียหาย
ผลลัพธ์ทั้งหมดได้เกิดเป็นกรอบการดำเนินงานในอนาคต หรือ “Framework for future development” แก่เป้าหมายทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับชุมชน ระดับจังหวัด และผู้มีส่วนร่วมในโครงการทั้งหมด อาทิ สสน. และคณะทำงานต่างประเทศ
แผนในอนาคต: วางแผนดำเนินโครงการ phrase 2, ขยายความร่วมมือมากขึ้น, ให้ประเทศในอาเซียนมีส่วนร่วมมากขึ้น

ในส่วนของความคืบหน้าของการจัดการประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 53 จะเกิดขึ้นวันที่ 7-11 มีนาคม 2565 โดยประเทศบังคลาเทศ และคาดว่ายังคงรูปแบบออนไลน์เนื่องจากสถาณการณ์โควิด – 19

การประชุม APAN ครั้งที่ 53 ระหว่างวันที่ 7-11 มีนาคม 2565 ณ ประเทศบังคลาเทศ

APAN53 Logo 1 3
ภาพโลโก้สำหรับการประชุมครั้งที่ 53

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 53 ยังคงจัดผ่าน Video Conference โดยครั้งนี้ประเทศบังคลาเทศเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 7-11 มีนาคม 2565 ซึ่งทางสสน. เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) และคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) ได้เข้าร่วมประชุมภายใต้หัวข้อ ดังนี้

messageImage 1646635270011

Disaster Mitigation Working Group

นำโดย Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ในการประชุม APAN ครั้งนี้ ได้แบ่งการนำเสนอ 2 Session ได้แก่

Session I

  • Status of DMWG and Regional Collaborations – โดย Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการชี้แจงสถานะของคณะทำงาน แผนการดำเนินงาน ต่างๆ ของคณะทำงาน
  • Storm Surge and Tsunami โดย Yu-Lin Tsai, National Central University Chuan-Yao Lin จากไต้หวัน เป็นการใช้โมเดลเพื่อตรวจสอบคลื่นชายฝั่งมหาสมุทรและ  ซึนามิ
  • Floods โดย Prof. Ju Neng Liew มหาวิทยาลัย Kebangsaan ประเทศมาเลเซีย นำเสนอเกี่ยวกับภัยน้ำท่วม
  • Talk from Prof. Ken Murata, National Institute of Information and Communications (NICT) ประเทศญี่ปุ่น เป็นการหารือความร่วมมือในอนาคต

Session II

  • Forest Fire/Haze/Maze and hydroinformatics โดย วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สสน. ประเทศไทย นำเสนอการวิเคราะห์สถานการณ์ไฟป่าด้วยโมเดลต่างๆ ของประเทศไทย
  • ความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียน หรือ ASEAN Collaborations โดย วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สสน. ประเทศไทย เป็นการรายงานความคืบหน้าของการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ สสน. ทำร่วมกับประเทศแถบอาเซียน
  • Disaster Mitigation-related initiatives of ASTI โดย Neyzielle Ronnie R. Cadiz, ASTI ประเทศฟิลิปปินส์
  • Impact of quasi-stationary waves on Indian summer monsoon drought conditions โดย Prof. Suneetha Kumar, Andhra University ประเทศอินโดนีเซีย
messageImage 1646800239854

Open Data and Sharing Working Group

นำโดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อแบ่งปันในกลุ่มนักวิจัย โดยเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในครั้งนี้ ได้มีวิทยากรนำเสนอหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • Plans and Actions to Implement the UNESCO Open Science Recommendation โดย Ms. Eunjung Shin, Head of the Office of Institutional Innovation Research, Science and Technology Policy Institute (STEPI) ประเทศเกาหลีใต้ นำเสนอกลยุทธ์และการดำเนินการด้าน Open Science ตามคำแนะนำของ UNESCO และ Asia Pacific Network (STEPAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ก่อตั้งเพื่อหารือและทำกิจกรรมเกี่ยวกับ Open Science โดยเฉพาะ
  • Open standards for geospatial data interoperability and knowledge discovery โดย Prof. Dr. Surya Durbha, IITB ประเทศอินเดีย ได้มาแบ่งปันนโยบายด้าน Open Science ของประเทศอินเดีย
  • What we should do toward open and sharing data โดยนาย Kazu Yamaji, จากสถาบัน NII ประทเศญี่ปุ่น นำเสนอบทบาทสำคัญของ NREN ในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Open Science
  • UNESCO Open Science โดยนาย Bhanu Neupane, UNESCO จากประเทศฝรั่งเศส นำเสนอแนวทาง/ ข้อเสนอแนะของ UNESCO
  • Accelerating the paradigm shift towards Open Science and Data Sharing in Pandemic times and beyond โดย Idris F Sulaiman,  eResearch Network for South East นำเสนอการทำงานด้าน Open Science ของหน่วยงาน eRSEA ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
  • Towards an Asia-Pacific Open Data Commons โดยนาย Markus Buchhorn จากประเทศออสเตรเลีย เป็นการอภิปรายหารือกิจกรรมในอนาคตของคณะทำงานฯ รวมถึงการมอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน
619907

Agriculture Working Group

นำโดย สสน. ได้รวบรวมวิทยากรจากทั่วโลก เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ของคณะทำงานด้านการเกษตร รวมถึงนโยบาย/ แนวคิด และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการทำเกษตร อาทิ เทคโนโลยีในการเฝ้าระวังโรคในพืช แอพพิเคชั่นสำหรับอำนวยความสะดวกให้เกษตรกร โดยทางคณะทำงานได้ แบ่งออกเป็น 2 Session ใหญ่ ได้แก่

Session I: Rural Hybridization เน้นเทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการทำเกษตร ซึ่งในครั้งนี้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมแบ่งปันความรู้ความเชี่ยวชาญดังกล่าว จำนวน 5 หัวข้อ ได้แก่

  • Chemically Modified Starches: Procurement, Characterization and Applications in Food Industry โดย Anjali Singh, PDPM Indian Institute of Information Technology, Design and Manufacturing, Jabalpur จากประเทศอินเดีย เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านอาหาร การพัฒนาโพลีเมอร์จากแป้ง ในประเทศอินเดีย
  • Collaborative Research on Crop Monitoring and Disease Control in the Context of Sustainable Development Goal of Zero Hunger โดย Aparajita Ojha, National Institute of Technology, Jalandhar ประเทศอินเดีย เป็นการนำเสนอการใช้ AI และ IoT ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการเฝ้าติดตามพืชผลและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  • Advanced ICT projects and collaboration in a rural area, Sarabetsu village, Japan โดย Prof. Masayuki Hirafuji มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอเกี่ยวกับเสนอแนวคิดของ DATA-FARM ซึ่งเป็นฟาร์มที่ใช้ IoT ที่ออกแบบมาเพื่อปลูก/เก็บเกี่ยวข้อมูลขนาดใหญ่ของพืช
  • Techniques for the digital clone of crops โดย Prof. Wei Guo, Graduate School of Agricultural and Life Sciences, มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • Smart farm or groundwater management โดยนายอำนาต บุตรทองคำวงษ์ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรที่ทางสยามคูโบต้าพัฒนาขึ้นในประเทศไทย

Session II: Agriculture Working Group ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรต่างประเทศ เพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการเกษตร จำนวน 6 หัวข้อ ได้แก่

  • Advances in microbiology for sustainable Agriculture โดย Amrutha Valli audipudi, Acharya Nagarjuna university ประเทศอินเดีย
  • For Oral Presentation – Diversity and phyto sociological study of weeds in Paddy crop fields of Kurnool district, A.P., India โดย ดร. Guddeti Meerabai, Rayalaseema University ประเทศอินเดีย
  • Agro-Photovolatics: Solution to Energy, Water, Food,Land and climate issues โดย Sudhakar Kumarasamy, Universiti Malaysia Pahang ประเทศมาเลเซีย
  • Crop Price Prediction – A Grand Challenge Problem โดย Prof. Yadati Narahari, Indian Institute of Science (IISc) ประเทศอินเดีย
  • Values of wetlands for food and environmental security โดย Prof. Dr. Harunur Rashid, Department of Fisheries Management, Faculty of Fisheries, Bangladesh Agricultural University, Mymensingh ประเทศบังคลาเทศ

การประชุม APAN ครั้งที่ 54 ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

APAN54 LOGO256256
ภาพโลโก้สำหรับการประชุมครั้งที่ 54

การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 54 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบไฮบริดเป็นครั้งแรก โดยทางเจ้าภาพในครั้งนี้คือสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานที่พำนักในประเทศจีน สามารถเข้าร่วมงานได้ในเมืองจี่หนาน มณฑลชานตง ในส่วนของผู้เข้าร่วมงานจากประเทศอื่นๆ ผู้จัดงานยังคงใช้ช่องทาง Video Conference เป็นหลัก สสน. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) และคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) ได้เข้าร่วมประชุมภายใต้หัวข้อ ดังนี้

S 4350004

Disaster Mitigation Working Group

นำโดย Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ในการประชุม APAN ครั้งนี้ ได้แก่

  • Status of DMWG and Regional Collaborations – โดย Eric Yen จากไต้หวัน เป็นการชี้แจงสถานะของคณะทำงาน แนะนำ Chair คนใหม่ของคณะทำงาน คือ Franz Leon และแผนการดำเนินงาน ต่างๆ ของคณะทำงาน
  • Effects of biomass burning transport from Indochina during EMeRGe-Asia identified by WRF-Chem โดย Prof. Chuan-Yao Lin จากไต้หวัน
  • ASTI’s S&T Infrastructures for DRRM โดย Neyzielle Ronnicque Cadiz, ASTI ประเทศอินโดนีเซีย
  • SEA-HAZEMON: Active Forest Fire and Haze Monitoring โดยนายอดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี สถาบันเอไอที ประเทศไทย
messageImage 1661240683613

Open Data and Sharing Working Group

นำโดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) โดยในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม Towards an Asia-Pacific Open Data Commons ได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อแบ่งปันในกลุ่มนักวิจัย โดยเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในครั้งนี้ ได้มีวิทยากรนำเสนอหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • UNESCO Open Science Update โดย Iryna Kuchma, EIFL ประเทศลิทัวเนีย เป็นการรายงานความคืบหน้ากิจกรรมต่างๆ ของ UNESCO ในด้าน Open Science
  • Introduction to APAN Data Web Portal (data.apan.net) โดย Jun-ichi Onami และ Kazu Yamaji จากสถาบัน NII ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอเว็บเพจสำหรับการแชร์ข้อมูลต่างๆ ของเครือข่าย APAN
  • Australian Open Science: Medical Data Sharing โดย Markus Buchhorn ประเทศออสเตรเลีย เป็นการนำเสนอการแบ่งปันข้อมูลด้านการแฟทย์ในประเทศออสเตรเลีย

Agriculture Working Group & Rural Hybridization

เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ของคณะทำงานด้านการเกษตร รวมถึงนโยบาย/ แนวคิด และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการทำเกษตร รวมถึงแอพพิเคชั่นสำหรับอำนวยความสะดวกให้เกษตรกร โดยมีหัวข้อสำคัญ ได้แก่

  • Agricultural Training via Visual IoT Technology โดย Dr. Tsutomu Nagatsuma สถาบัน National Institute of Information and Communications Technology (NICT) ประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการฝึกอบรมการเกษตรทางไกลโดยใช้เทคโนโลยี Visual IoT ซึ่งเป็นการใช้วิดีโอคุณภาพสูงเป็นสื่อการเรียนการสอน
  • Tracking of tapetum using visual IoT techniques โดย Dr. Kazutaka Kikutaสถาบัน National Institute of Information and Communications Technology (NICT) ประเทศญี่ปุ่น เป็นการนำเสนอการพัฒนาระบบตรวจจับและติดตามด้วยวิดีโอและภาพคุณสูงสำหรับการเลี้ยงโคนม โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • Development of an open-source AR platform for visualizing digital twin of agriculture plant in breeding experiment โดย Mr. Heming Zhang นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอเกี่ยวกับโมเดล 3 มิติที่เพื่อเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงในการเติบโตของพืช และคาดการณ์การตอบสนองของพืช
  • Procedural Geometric Modeling for Plant Phenomics by Blender: Case Study of Maize โดย Mr. Haozhou Wang นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอเกี่ยวกับโมเดล 3 มิติของข้าวโพด เพื่อศึกษาการสร้างแบบจำลองด้วยพารามิเตอร์ต่างๆ
  • Data farmbot, a full automatic system for agri-big data collection โดย Mr. Tang Li นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลการเกษตรโดยละเอียดด้วยระบบ Data farmbot
  • Automatic phenotyping analysis of paddy rice panicle and the panicle developments under nitrogen fertilization treatments during the heading and flowering stages โดย Mr. Qinyang Zhou นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Nanjing Agriculture ประเทศจีน นำเสนอเกี่ยวกับการติดตามพัฒนาการของช่อข้าวในระยะหัวและดอกบาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์ข้าว
  • Heat and moisture loss from leaves and soils โดย Prof. Jaywant Arakeri จากIndian Institute of Science, Bengaluru ประเทศอินเดีย นำเสนอเกี่ยวกับผลลัพธ์การทดลองในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการสูญเสียความร้อนและความชื้นจากพื้นผิวคล้ายดินและใบของพืช
  • Sensors and Sensing for Precision Agriculture โดย Dr. Rabi Narayan Sahoo จาก Indian Agricultural Research Institute ประเทศอินเดีย นำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ (RGB, Multispectral และ Hyperspectral) และเทคโนโลยีการตรวจจับ อาทิ เซ็นเซอร์ทั้งหมดจากแพลตฟอร์มภาคพื้นดิน, อากาศ-UAV, MAV และดาวเทียม สำหรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรที่แม่นยำ
  • Connected Agriculture: IoT & Big are Transforming Agriculture โดย Prof. Abdul Razzaq จาก MNS University of Agriculture, Multan ประเทศปากีสถาน นำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการผลิตพืชผล
  • Carbon Stock Estimates in Some Crop Fields of Kurnool District, A.P., India โดย Prof. Guddeti Meerabai จากมหาวิทยาลัย Rayalaseema ประเทศอินเดีย นำเสนอเกี่ยวกับการกำจัดคาร์บอนออกจากบรรยากาศในระบบการเกษตร ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคาร์บอนในดินในพื้นที่เพาะปลูกในเขตเคอร์นูล ประเทศอินเดีย
  • Policy on Smart Agriculture in Japan โดย Dr. Seishi Ninomiya จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายด้านเกษตรอัจริยะของประเทศญี่ปุ่น

ในส่วนของความคืบหน้าของการจัดการประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 55 จะเกิดขึ้นวันที่ 13-17 มีนาคม 2566 โดยมีประเทศเนปาลเป็นเจ้าภาพ

การประชุม APAN ครั้งที่ 55 ระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2566 ณ ประเทศเนปาล

Web for APAN55
ภาพโลโก้สำหรับการประชุมครั้งที่ 55

การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 55 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบไฮบริด โดยมีประเทศเนปาลเป็นเจ้าภาพ ในครั้งนี้ ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวในฐานะผู้แทนจาก สสน. และเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) และคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) ได้เข้าร่วมประชุม และร่วมจัดประชุมภายใต้หัวข้อ ดังต่อไปนี้

260197
  1. Disaster Mitigation Working Group นำโดย Eric Yen จากสถาบัน Academia Sinica Grid Computing Centre, ไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ในการประชุม APAN ครั้งนี้ ได้แก่
  • Introduction, Status of DMWG and Regional Collaborations – โดย Eric Yen, Franz Leon, Dr. Veerachai Tanpipat และแผนการดำเนินงาน ต่างๆ ของคณะทำงาน
  • Numerical Investigation for Distant Tsunami Wave Propagation from Offshore to Nearshore โดย Dr. Yu-Lin Tsai
  • Spatiotemporal drought analysis and multi-stakeholder viewpoints on climate change and agriculture adaptation in Bangladesh coastal area โดย Mr. Md Abdulah Al Mamun
  • Upper ASEAN Wildland Fire Special Research Unit (WFSRU) and HII Activities Updates โดยดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษาฯ สสน.
  • VIIRS Night data analysis on Indonesia’s case along 2018-2019 โดย Basuki Suhardiman
  • Utilizing Space Technologies for Disaster Management โดย Dr. Shiro Kawakita, JAXA, ประเทศญี่ปุ่น
  • Reproducible Open Science with EGI Notebooks and Replay services, 25 min โดย Enol Fernandez
messageImage 1678850838287
messageImage 1678858732939
  1. Open Data and Sharing Working Group นำโดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เพื่อหารือการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการวิจัยระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นการเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการให้ระดับชุมชนช่วยพัฒนานโยบายและเฟรมเวิร์กสำหรับการแบ่งปันข้อมูล สนับสนุนการพัฒนาทักษะและสร้างบริการเพื่อเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม โดยในครั้งนี้ ได้มีวิทยากรนำเสนอหัวข้อต่างๆ ดังนี้
  • The updates of the APAN Data site and NII RDC โดย Jun-ichi Onami, Tomoki Nagase, and Kazu Yamaji จากสถาบัน National Institute of Informatics (NII) ประเทศญี่ปุ่น
  • Research Software Engineering (RSE) Asia Association: Journey and Future Plans โดย Saranjeet Kaur Bhogal, Research Software Engineering (RSE) Asia Association
  • Initiatives for open data creation and sharing at the Ahmedabad University โดย Mehul Raval, Ahmedabad University ประเทศอินเดีย
  • The updates of UNESCO Open Science โดย Ai Sugiura, UNESCO-Beijing Office
  • How to use good practices of Australian Open Science within APAN โดย Markus Buchhorn, APAN, Australia
messageImage 1678869539260
Picture1
  1. Agriculture Working Group & Rural Hybridization เป็นหัวข้อเน้นการทำงานด้านการเกษตร และการเทคโนโลยีและข้อมูลการวิจัยเพื่อปรับใช้ในการเกษตรโดยเน้นชนบทเป้นหลัก อาทิ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสิ่งของ (IoT) / เครือข่ายและเว็บเซอร์วิสในภูมิภาคหิมาลัยและอื่นๆ ซึ่งได้ถูกแบ่งปันผ่านเครือข่าย APAN โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการพัฒนา นวัตกรรมและกิจกรรมร่วมมือคณะทำงานด้านการเกษตร และนำแนวคิดและเทคโนโลยีเหล่านี้เชื่อมต่อพันธมิตรและต่อยอดความร่วมมือใหม่ๆ ในอนาคต โดยมีหัวข้อสำคัญ ได้แก่
  • Ag Web service in Taiwan โดย Chen Yan-you สถาบัน Taiwan Council of Agriculture ไต้หวัน ได้นำเสนอการจัดการระบบเก็บข้อมูลสำหรับวิเคราะห์การเติบโตของพืช เพื่อนำมาวิจัยการกำจัดโรคและแมลงในพืชของไต้หวัน
  • Networking in Himalaya โดย Pavan Shakya, NREN ประเทศเนปาล ได้นำเสนอเกี่ยวกับโครงการ Effective Broadband Solution for Bridging the Digital Divide a Pilot Project for Community Based ISP and Services จุดประสงค์เพื่อพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะแถบประเทศที่ราบสูง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเก็บข้อมูลและนำไปพัฒนาเชิงเกษตรในพื้นที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่นไร่ Seabuckthrone ณ Dingboche ซึ่งป็นผลไม้ที่ขึ้นตามเขตที่ราบสูงและหนาวจัด เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูงและมีวิตามินซีในปริมาณที่มาก
  • IoT for Himalayan region โดย Masayuki Hirafuji, University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีภาคสนามที่ใช้ตามเชิงเขา เพื่อเก็บข้อมูลใช้ในการเตือนภัยต่างๆ อาทิ กล้องพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Cubicle ที่สามารถรับแสงแดดได้จากทุกทิศ ฯลฯ
  • Digital Earth for the Himalayan Region โดย Hiromichi Fukui, Chubu University ประเทศญี่ปุ่น เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์สภาพผิวและเปลือกบนโลก รวมถึงแนวเทือกเขา รวมถึงระบบ Early Warning System แบบไร้สาย ติดตั้งตามแนวเชิงเขาใช้เตือนภัยที่เกิดจากภูเขา และนอกจากนี้ยังได้นำเสนอ case study จากตำแหน่งต่างๆ อีกด้วย
  • Major Crops Mapping in Thailand โดย ดร.นพดล คีรีเพ็ชร นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประเทศไทย ได้นำเสนอเกี่ยวกับแผนที่การทำเกษตรในประเทศไทยด้วย AgriMap เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละฤดูในประเทศไทย
  • An AI enabled quasi-real-time water quality monitoring for early chemical and/or bio-contamination detection โดย Yasir Faheem NUST School of Electrical Engineering and Computer Science ประเทศปากีสถาน
  • A hybrid approach (Image Processing and Ontology Engineering) for detecting Crop Disorder in Agriculture โดย Shyama Wilson มหาวิทยาลัย Uva Wellassa ประเทศศรีลังกา
  • ICT in genetic improvement in Livestock โดย Dr. Neena Amatya Gorkhali จาก National Animal Breeding and Genetics Research Centre, Nepal Agricultural Research Council NEPAL เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีที่ใช้ในปศุสัตว์ของประเทศเนปาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในฟาร์มชนบท เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดียิ่งขึ้น
  • Activities of AFFRIT and MAFFIN Update โดย Shinji Hattori & Mitsuru Kameya จาก Agriculture, Forestry and Fisheries Research Technology Center, MAFF ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานของญี่ปุ่นที่กำลังการดำเนินโครงการ Green Asia มุ่งเน้น ขยายการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในระบบการผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืนแก่ภูมิภาคมรสุมทวีปเอเชีย (The Asian Monsoon)
IMG 4240
IMG 4247
messageImage 1678941319548

ในส่วนของความคืบหน้าของการจัดการประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 56 จะเกิดขึ้นวันที่ 21-25 สิงหาคม 2566 โดยมีประเทศศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ

การประชุม APAN ครั้งที่ 56 ระหว่างวันที่ 21-25 สิงหาคม 2566 โรงแรม Galle Face, เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา

APAN56 logo
โลโก้งาน APAN ครั้งที่ 56

การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 56 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-25 สิงหาคม 2566 โรงแรม Galle Face, เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบไฮบริด โดยมี LEARN ประเทศศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงาน ได้แก่

1. คณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG)

2. คณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG)

3. คณะทำงานการเปิดเผยและแชร์ข้อมูล (Open and Sharing Data Working Group – OSDWG)

E9C3C035 83F6 4B78 AEBA 9D12121004ED
คณะเดินทางเข้าร่วมงาน APAN ครั้งที่ 56

โดยผู้แทน สสน. ได้เข้าร่วมประชุม และร่วมจัดประชุมภายใต้หัวข้อ ดังต่อไปนี้

  1. Disaster Mitigation Working Group นำโดย Eric Yen จากสถาบัน Academia Sinica Grid Computing Centre, ไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น ในการประชุม APAN ครั้งนี้ ได้แก่
S 6488200 0
  • Introduction, Status of DMWG and Regional Collaborations – โดย Eric Yen, Franz Leon, Dr. Veerachai Tanpipat และแผนการดำเนินงาน ต่างๆ ของคณะทำงาน
  • Health-related Hazard Mitigation in the Philippines โดย Alvin Marcelo (, St. Luke’s Medical center ประเทศฟิลิปปินส์
  • Health-related hazard mitigation in Japan โดย Dai Sato, Tohoku Medical and Pharmaceutical University ประเทศญี่ปุ่น
  • Fire/Haze/Smoke Monitoring โดยดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษาฯ สสน. ประเทศไทย

2. Open Data and Sharing Working Group นำโดย ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เพื่อหารือการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการวิจัยระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นการเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการให้ระดับชุมชนช่วยพัฒนานโยบายและเฟรมเวิร์กสำหรับการแบ่งปันข้อมูล สนับสนุนการพัฒนาทักษะและสร้างบริการเพื่อเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม โดยในครั้งนี้ ได้มีวิทยากรนำเสนอหัวข้อต่างๆ ดังนี้

S 6488194 0
ภาพถ่ายรวมผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด
S 6488188 0
  • Broader perspective and practical action on Open Science โดย ดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษาฯ สสน. ประเทศไทย
  • UNESCO Recommendation on Open Science, Regional implementation progress and future activities โดย Ai Sugiura, UNESCO, Beijing
  • TBC โดย Aini Suzana Ariffin, STEPAN ประเทศมาเลเซีย
  •  โดย Iryna Kuchma, EIFL ประเทศลิทัวเนีย
  • Data stewardship skills, training and curricula โดย Markus Buchhorn, APAN, Australia

3. Agriculture Working Group & Rural Hybridization เป็นหัวข้อเน้นการทำงานด้านการเกษตร และการเทคโนโลยีและข้อมูลการวิจัยเพื่อปรับใช้ในการเกษตรโดยเน้นชนบทเป้นหลัก อาทิ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสิ่งของ (IoT) ซึ่งได้ถูกแบ่งปันผ่านเครือข่าย APAN โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการพัฒนา นวัตกรรมและกิจกรรมร่วมมือคณะทำงานด้านการเกษตร และนำแนวคิดและเทคโนโลยีเหล่านี้เชื่อมต่อพันธมิตรและต่อยอดความร่วมมือใหม่ๆ ในอนาคต โดยมีหัวข้อสำคัญ ได้แก่

S 6250638
ภาพถ่ายผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด
  • Agro-informatics activities in Sri Lanka โดย Dr. Dimuthu Piyaratne, Faculty of Agriculture, University of Ruhuna ประเทศศรีลังกา
  • MAFF’s Activities to Promote Digital Transformation (DX) of agriculture in Japan โดย Mr. Mitsuru Kameya, Agriculture, Forestry and Fisheries Research Technology Center, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries (MAFF) ประเทศญี่ปุ่น
  • Leveraging the plant architecture analysis in rice (Oryza Sataiva L.) with image-derived morphological traits in phenomics โดย Mr. Mukesh K Vishal & Prof. Adinarayana J., Centre of Studies in Resources Engineering IIT Bombay ประเทศอินเดีย
  • Suspension Matter (TSM) Monitoring Using Data Cube: A Case Study for Zeng-Wen reservoir โดย Dr. Li-Yu Chang, Taiwan Space Agency ไต้หวัน
  • L-SAR rice crop monitoring in Asia โดย Dr. Shin-ichi Sobue, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) ประเทศญี่ปุ่น
S 6250642 0
S 6488175 0
ผู้บริหารสสน. และดร. Kameya จากสถาบัน MAFFIN ประเทศญี่ปุ่น
S 6488211 0

ในส่วนของความคืบหน้าของการจัดการประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 57 จะเกิดขึ้นวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

การประชุม APAN ครั้งที่ 57 ระหว่างวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร

messageImage 1697425666531
โลโก้งาน APAN ครั้งที่ 57

การประชุม Asia Pacific Advanced Network Meetings ครั้งที่ 57 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2567 – 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการจัดประชุมในรูปแบบไฮบริด โดยมี สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับและสมาคมเครือข่ายไทยเพื่อการศึกษาวิจัย ThaiREN เป็นหน่วยงานหลักของไทยในการสนับสนุนงบประมาณและการดำเนินงาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงาน ได้แก่ คณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) คณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) คณะทำงานการเปิดเผยและแชร์ข้อมูล (Open and Sharing Data Working Group – OSDWG)

S 11862059 0
บรรยากาศลงทะเบียนวันแรกของการจัดงาน

นอกจากนั้น สสน. ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ร่วมกับหลายหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในแต่ละส่วนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้จัดหัวข้อ/ เข้าร่วมในงานสัมมนาดังกล่าว ได้แก่

  1. Building Climate Resilience Through Digital Information and Technology Masterclass นำโดยดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) โดยมีลักษณะเป็นการนำเสนอและ Workshop ของคณะทำงานสำคัญในด้านการรับมือการการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภัยพิบัติ ทั้ง 3 คณะทำงาน ได้แก่ คณะทำงานด้านการเกษตร (Agriculture Working Group – AgWG) คณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (Disaster Mitigation Working Group – DMWG) และคณะทำงานการเปิดเผยและแชร์ข้อมูล (Open and Sharing Data Working Group – OSDWG) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2567 ทั้งสิ้นจำนวน 2 วัน จุดประสงค์เพื่อนำเสนอความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติจากหน่วยงานเครือข่ายสำคัญต่างๆ ได้แก่ Academia Sinica Grid Center (ASGC) – Taiwan, Advanced Science and Technology Institute (ASTI) – Philippines, GISTDA – Thailand, JAXA – Japan, Taiwan Space Agency (TASA) – Taiwan, Philippines Space Agency – Philippines, Nanyang Technological University Singapore (NTU) – Singapore, UNESCO Open Science, Beijing – China, UN-SPIDER, National Central University (NTU) – Taiwan, National Institute of Polar Research – Japan, APAN board – Australia, MAFFIN – Japan, NASA-LANCE – USA, Hydro-Informatics Institute (HII) – Thailand.
Screenshot 2024 01 29 145344
บรรยากาศ Building Climate Resilience Through Digital Information and Technology Masterclass

นอกจากนี้ ยังมีการทำ Workshop “Open Data Cube for Satellite Image Analysis and Applications” นำโดย Li-Yu Chang, Senior expert at Taiwan Space Agency (TASA) เป็นการสอนใช้โปรแกรม CUBE ซึ่งเป็น Data สำหรับการจัดเก็บและค้นหาภาพดาวเทียมสำหรับการวิจัยต่างๆ

messageImage 1706497450224
บรรยากาศ Workshop “Open Data Cube for Satellite Image Analysis and Applications”

2. Disaster Mitigation Working Group นำโดย Eric Yen จากสถาบัน Academia Sinica Grid Computing Centre, ไต้หวัน เป็นการนำเสนอภารกิจและจุดประสงค์หลักของคณะทำงานฯ กิจกรรมของคณะทำงานฯ สถานะความร่วมมือต่างๆ และกรณีศึกษาจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น โดยในการประชุม APAN ครั้งนี้ เน้นการเลือกตั้ง Chairperson และกรรมการใหม่

3. Agriculture Working Group & Rural Hybridization นำโดยดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และ Dr. Seishi Ninomiya University of Tokyo เน้นการหารือกิจกรรมของคณะทำงานในอดีตและอนาคต อาทิ โครงการ CRADR และการหารือแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินงาน CRADR ต่อเนื่อง Phase 2 แผนการเข้าร่วมงาน APFITA2024 ณ ประเทศญี่ปุ่น และการเลือกตั้ง Chairperson และกรรมการใหม่

ข่าวอื่นๆ