ระบบโครงข่าย การรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (Network Real Time Kinematic) กับการพัฒนาประเทศ

12/11/2019

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geographic Information) หรือข้อมูล แผนที่ที่ละเอียดถูกต้องและทันสมัย ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศใช้เทคโนโลยีระบบ ดาวเทียมนำทาง (GNSS : Global Navigation Satellite System) โดยการติดตั้งโครงข่าย สถานีฐานอ้างอิงรับสัญญาณ GNSS แบบต่อเนื่อง (GNSS Continuously Operating Reference Station) หรือ GNSS CORS เพื่อให้บริการค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งที่ให้ ความละเอียดแม่นยำสูง

การติดตั้งสถานีฐานอ้างอิง GNSS CORS ในประเทศไทย ที่มีการติดตั้งและให้บริการแล้ว
คือ กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง และโครงการความร่วมมือระหว่าง กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย – สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ – สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และกำลังดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมจากกรมแผนที่ทหาร จำนวน 80 สถานี ซึ่งในปี 2562 จะมีจำนวนสถานี GNSS CORS ทั้งหมดรวมเป็น 285 สถานี ให้บริการข้อมูล ค่าปรับแก้เชิงตำแหน่งรายละเอียดสูงได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจโดยใช้ระบบ GNSS CORS เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความถูกต้อง แม่นยำสูง ทั้งข้อมูลค่าพิกัดตำแหน่ง ข้อมูลค่าระดับ รวมไปถึงข้อมูลชั้นบรรยากาศ และข้อมูล วงโคจรของดาวเทียม ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานที่หลากหลายได้ ทั้งการ พัฒนาระบบสำรวจ การสนับสนุนข้อมูลเพื่อการ วางแผนพัฒนาและงานวิจัย

หากเปรียบเทียบกับระบบสำรวจแบบเดิมพบว่า การสำรวจปรับปรุงแผนที่ด้วยระบบ GNSS CORS ใช้ระยะทำงานเวลาน้อยกว่าเดิมถึง 4 เท่า สำรวจได้มากถึง 800 จุดต่อวัน มีความละเอียด แม่นยำถึง 4 เซนติเมตร และประหยัดค่าใช้จ่าย เหลือเพียงร้อยละ 45 ทำให้สามารถต่อยอดในงาน พัฒนาประเทศที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ด้านการ สำรวจรังวัด การทำแผนที่ความแม่นยำสูง การ สนับสนุนงานวิจัย การเกษตร การคมนาคมและ ขนส่ง การบริหารจัดการทรัพยากรและการจัดการ ภัยพิบัติ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ การสำรวจรังวัดความละเอียดสูง

GNSS CORS ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศไทย นิยมใช้ในงานด้านการ สำรวจรังวัด เนื่องจากให้ความถูกต้องแม่นยำที่สูงในเวลารวดเร็ว ใช้อุปกรณ์น้อยชิ้น และใช้จำนวนบุคลากรน้อยกว่าการสำรวจในระบบแบบเดิม โดยปัจจุบันการใช้งานระบบ GNSS CORS ในประเทศไทย มักใช้ในการอ้างอิงค่าพิกัดและค่าระดับในการทำแผนที่ และการทำรังวัดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ลดเวลาในการทำงาน ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในการ ปฏิบัติงาน งบประมาณในการสำรวจน้อยลง แต่ได้ค่าความถูกต้องของผลลัพธ์จากการ ทำงานสูงกว่าการรังวัดแบบเดิม เช่น การวางหมุดหลักฐาน การสำรวจรังวัดที่ดิน การสำรวจเพื่อออกแบบจัดทำแผนที่ต่างๆ การสำรวจเพื่อวางแผนออกแบบสิ่งก่อสร้าง สาธารณูปโภค การสำรวจทรัพยากร เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ การทำแผนที่ความแม่นยำสูง

ในการวางแผนพัฒนาประเทศให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีแผนที่ที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูง เพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งความแม่นยำของแผนที่นั้น ขึ้นอยู่กับความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลสำรวจ การประยุกต์ใช้ GNSS CORS ร่วมกับการ สำรวจเชิงพื้นที่ สามารถทำสำเร็จได้ในเวลาที่รวดเร็ว ได้ข้อมูลที่แม่นยำ และนำข้อมูลมาผลิตแผนที่ได้ทันต่อสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน เช่น การจัดทำแผนที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติและวางแผนป้องกันภัยในอนาคต

การประยุกต์ใช้ การสนับสนุนงานวิจัย

ข้อมูลสำรวจระดับ และข้อมูล ชั้นบรรยากาศ ที่ได้จาก GNSS CORS สามารถนำไป ใช้คำนวณหาปริมาตรน้ำและความชื้นในอากาศ เพื่อ สนับสนุน และพัฒนาแบบ จำลองสภาพภูมิอากาศ และ คาดการณ์น้ำท่วม ซึ่งให้ค่า ความถูกต้องที่ใกล้เคียงกับ ความเป็นจริง ทำให้การใช้ แบบจำลองในการวางแผน การป้องกัน บรรเทา หรือการ บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ต่าง ๆ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิ ภาพ และสามารถคาดการณ์ ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว มากขึ้น

การประยุกต์ใช้ การเกษตร

เกษตรกรรมแม่นยำสูง (Precision agriculture) กำลังได้รับความสนใจ อย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ระบบ GNSS CORS มาช่วยควบคุม เครื่องจักรแบบอัตโนมัติ ทั้งในกระบวนการเพาะปลูก (การหว่านเมล็ด) การติดตามการเจริญเติบโตของพืช (การให้น้ำและปุ๋ย) รวมถึงการเก็บ เกี่ยวผลผลิต ให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ช่วยลดความเสียหาย ของผลผลิต ลดเวลาของกระบวนการเกษตรกรรมในแต่ละขั้นตอน ลด ต้นทุนด้านอุปกรณ์และแรงงาน ส่งผลให้ต้นทุนรวมในการผลิตลดลง ตามไปด้วย

การประยุกต์ใช้ การคมนาคมและขนส่ง

ในระบบคมนาคมและขนส่ง สามารถนำระบบ GNSS CORS มาประยุกต์ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ ตั้งแต่ด้านงานรังวัดวางระบบเส้นทาง โดยการสำรวจเส้นทางและแนวระดับเส้นทางอย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้กระบวนการวางระบบเส้นทางทำได้รวดเร็ว และยังสามารถประยุกต์ใช้ GNSS CORS ในด้าน Logistics ของบริษัทต่างๆ เพื่อติดตามการขนย้ายสินค้าไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงการใช้ระบบ GNSS ในการวางแผนการขนส่งรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดในประเทศ ไทย เช่น ระบบรถไฟความเร็วสูงที่ต้องใช้ความถูกต้องทางด้านพื้นที่สูง เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ การบริหารจัดการทรัพยากรและการจัดการภัยพิบัติ

ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐให้ความสำคัญ GNSS CORS จึงเป็นระบบหนึ่งที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูล ทรัพยากร เนื่องจากสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ให้ผลสำรวจ ได้ทันที และได้ผลที่มีความถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ เช่น การติดตามการ เคลื่อนตัวของเปลือกโลก การติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ การวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การกันแนวเขตเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่เขตป่า เป็นต้น

สำหรับการจัดการในภาวะฉุกเฉินและการช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติ สามารถ ใช้ GNSS COR ระบุพิกัดได้อย่างแม่นยำในการแจ้งเหตุภัยพิบัติ การวาง แผนเส้นทางอพยพ การเข้าให้ความช่วยเหลือ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือได้ เป็นอย่างดี

งานอื่นๆ