ปี 2562 : โครงการปรับปรุงระบบสำรวจแบบเคลื่อนที่เพื่อสนับสนุนการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ

29/12/2020

โครงการปรับปรุงระบบสำรวจฯ ของ สสน. มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำรวจภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่ประสิทธิภาพสูง (Mobile Mapping System: MMS) ที่มีค่าความถูกต้องแม่นยำสูง มีน้ำหนักเบา สามารถติดตั้งได้ง่ายบนพาหนะสำรวจหลายรูปแบบ เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซต์ เรือสำรวจ ช่วยลดระยะเวลา และข้อจำกัดในการสำรวจรังวัดแบบเดิม ทำให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้รวดเร็ว ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ได้มากขึ้น ผลของการสำรวจสามารถแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ โดยในอนาคตสามารถผนวกข้อมูลการสำรวจทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้ ทำให้มีข้อมูลที่มีความละเอียดถูกต้องเชิงพื้นที่สูง ช่วยในการวางแผน บริหารจัดการ และการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ในปี 2562 สสน. ได้ดำเนินการพัฒนาอุปกรณ์สำรวจภูมิประเทศ MMS ประกอบด้วย IMU (Inertial Measurement Unit), Laser Scanner และระบบรับสัญญาณดาวเทียม GNSS (Global Navigation Satellite System) ที่ติดตั้งบนยานสำรวจทางบก ได้แก่ รถยนต์

มอเตอร์ไซด์ พร้อมด้วยระบบประมวลผล เพื่อประมวลข้อมูลจากการสำรวจ โดยนำไปทดสอบการสำรวจและประมวลผลข้อมูลจริงในพื้นที่อุทกภัยจากพายุโพดุล และพายุคาจิกิ ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2562

โครงการปรับปรุงระบบสำรวจแบบเคลื่อนที่เพื่อสนับสนุนการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ
โครงการปรับปรุงระบบสำรวจแบบเคลื่อนที่เพื่อสนับสนุนการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ
ภาพคันกั้นน้ำที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่สำรวจ ด้วยระบบ MMS และผลจากแบบจำลองภูมิประเทศ 3 มิติ ร่วมกับภาพถ่ายบริเวณถนนรอบเมือง อำเภอเวรินชำราบ แสดงให้เห็นการชำรุดเป็นระยะทาง 57.84 เมตร และระดับ คันกั้นน้ำ
โครงการปรับปรุงระบบสำรวจแบบเคลื่อนที่เพื่อสนับสนุนการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ
ผลที่ได้จากการสำรวจและประมวลผลในรูปแบบข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ 3 มิติ สามารถระบุรายละเอียดค่าพิกัด ความสูงของพื้นที่ สามารถตรวจวัดความกว้าง ยาว สูง และขนาดของพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถตรวจวัดโครงสร้างที่สร้างเพิ่มขึ้นมาในพื้นที่ และสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย

งานอื่นๆ